ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยแนวคิด 4D4สี โดย อสม. หมอคนที่ 1 ในชุมชน บ้านไก่คำ ตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • เกศรินทร์ มะโนคำ
  • ธัญชนก ศรีจำปา
  • ดลรวี สังขฤกษ์
  • วราวุฒิ บุษผาวงค์
  • อำไพ โสรส
  • ศิริพร ศิริกัญญาภรณ์

คำสำคัญ:

แนวคิด 4D4สี, ความรู้เกี่ยวกับการดูแลป้องกันโรคเบาหวาน, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการดูแลป้องกันโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มป่วยเบาหวาน ก่อนและหลังเข้าร่วมรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยแนวคิด 4D4สี โดย อสม. หมอคนที่ 1

วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง (Quasi-Experimental study) กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มป่วยเบาหวานในพื้นที่บ้านไก่คำ จำนวน 43 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC 0.91 และ 0.84 ตามลำดับ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ Paired Sample t–test

ผลการศึกษา: กลุ่มป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 60.5 อายุเฉลี่ย 63.98 ปี (S.D.=9.5) ภายหลังการทดลอง กลุ่มป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลป้องกันโรคเบาหวาน และคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) ส่วนระดับน้ำตาลในเลือด พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อสรุป: ควรส่งเสริมให้ อสม. ครอบครัว รวมถึงภาคีเครือข่าย ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตบริบทชุมชนของกลุ่มป่วยเบาหวานมากขึ้น

 

References

จิรพรรณ ผิวนวล และประทุม เนตรินทร์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วใน ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2561; 1(2).

กรมควบคุมโรค. รายละเอียดตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ (โรค เบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

HDC อำนาจเจริญ. จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี. 2566. เข้าถึงได้จาก:

https://acr.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3

ดุษณี ศุภวรรธนะกุล และคณะ. การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559; 11(1).

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามชุก. คู่มืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.). สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามชุก. 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.govesite.com/samc00749/document.php? page=1.

นงลักษณ์ ตุ่นแก้ว, พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน, ศรินญาภรณ์ จันทร์ดีแก้วสกุล. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.1ย. และการใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ต่อความรู้พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารสมาคมพยาบาลแห้งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2561; 24(2).

ฐิติมา โกศัลวิตร และคณะ. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงบัง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562; 3(1).

คมสรรค์ ชื่นรมย์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของ โรงพยาบาลสุคิริน ด้วยเทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC). วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3(3).

ฐิตารัตน์ โกเสส และคณะ. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการจัดการอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565; 49(2).

อโนทัย นิลศรี. การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ด้วยนวัตกรรม “แผ่น 4 สีชี้ทางเบาหวาน”. วารสารหมอยาไทยวิจัย 2560; 3(2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21