ผลของการเสริมสร้างความรอบรู้และออกแบบชีวิตวิถีโนนแคน (NK life design) ต่อค่าดัชนีมวลกาย ในกลุ่มวัยทำงาน อายุ 22-59 ปี ตำบลสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • สุรีรัตน์ บุญแต่ง
  • นรินทร์ทร สายกระโทก
  • ศิริกานต์ ทองดี
  • ณฐกมล ผดาเวช
  • พัทธจารี กระแสเสน

คำสำคัญ:

ดัชนีมวลกาย, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การออกแบบชีวิต, วัยทำงาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้และออกแบบชีวิตวิถีโนนแคน ภายในกลุ่มทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม (Quasi-Experimental study) คำนวณขนาดตัวอย่างโดยสูตรเปรียบเทียบประชากรสองกลุ่มแบบอิสระต่อกัน ได้กลุ่มละ 37 คน จากนั้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.902 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยสถิติ Independent-Sample T-Test

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคล้ายกันคือส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49 ปี มีรายได้ต่อเดือน 5,000 – 9,999 บาท ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีความเจ็บป่วยในปัจจุบัน และมีการออกกำลังกายนาน ๆ ครั้ง ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติ (p=0.016) ขณะที่กลุ่มควบคุมพบความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มทดลองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่วนใหญ่มีความรอบรู้ในระดับปฏิสัมพันธ์ ร้อยละ 54.05 และ 62.16 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 8.11 แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพื้นฐาน และพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของกลุ่มทดลอง พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ขณะที่กลุ่มควบคุมพบความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อสรุป: หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องของดัชนีมวลกาย เพื่อลดปัญหาผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและผู้ที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อีกทั้งผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการลดค่าดัชนีมวลกาย เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

References

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ. รู้จัก…โรคที่ (เรา) สร้างเอง. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/dise

กรมอนามัย. กรมอนามัย เผย วัยทำงาน มีภาวะอ้วน แนะหลัก ‘3อ 2ส 1ฟ 1น’ ลดเสี่ยง. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2565. เข้าถึงได้จาก: https://www.thailandplus.tv/archives/526406

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์และการดำเนินงานของดัชนีมวลกายปกติของวัยทำงานอายุ 18-59 ปี. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563. เข้าถึงได้จาก: https://hpc6.anamai.moph.go.th/web-upload/31x1af1f7ef8d871a3c2d13d7517b0e6d77/filecenter/kpi64r2/1.3/apr/1-3.pdf

ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย. รายงานผลการวิเคราะห์สถานการณ์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563. เข้าถึงได้จาก: https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload/8x6b2a6a0c1fbe85a9c274e6419fdd6071/tinymce/KPI2564/KPI117/25640111713.pdf

ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. ร้อยละของประชากรอายุ 18-59 ปี มีค่าดัชนีมวลกายปกติ ระดับจังหวัด. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2566. เข้าถึงได้จาก: https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/nutri1859/changwat?year=2021&kid=2049&rg=10

ยุทธนา ชนะพันธ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาล 2564; 70(2): 27-36.

Kaeodumkoeng K. Health Literacy: Access, Understand and Application. Bangkok: Amarin; 2017. (in Thai)

พิมพ์พิสาข์ จอมศรี, มัลลิกา มาตระกูล, วุฒิชัย ไชยรินคำ, ธวัชชัย ใจคำวัง, สุรินทร์พร ลิขิตเสถียร. การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ทาง สุขภาพต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างถูกต้อง ในประชาชนจังหวัดเชียงราย. รายงานฉบับสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร; 2563.

Daniel P‎. From abortion to contraception in Romania. World health 1991; 22.

ชัชวาลย์ เพ็ชรกอง, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารสุขศึกษา 2562; 42(2). 23-32.

สุมาลี เกียรติชนก. ผลของการใช้คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดอาหารลดพลังงานสำหรับโปรแกรมลดน้ำหนักของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน. SDU Res.J. 2558; 8(3): 97-118.

อรนภา ทัศนัยนา. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อค่าดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันของหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ 2561; 44(1): 303-317.

ขนิษฐา พิศฉลาด, ภาวดี วิมลพันธ์ุ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองแต่ชะนีมวลกายและระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงระยะก่อนเบาหวานในชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(1): 47-59.

Nutbeam, D. (2000) Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259–267.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21