ผลของการใช้ยาแอสไพรินสำหรับการป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษในสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงปานกลาง-สูง ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • วิภา ศันติวิชยะ -

คำสำคัญ:

สตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงปานกลาง-สูง, ยาแอสไพริน, ภาวะครรภ์เป็นพิษ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้ยาแอสไพรินสำหรับการป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษในสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงปานกลาง-สูง ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบ retrospective cohort study โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อสภาวะครรภ์เป็นพิษ ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2565 ใช้สูตรคำนวณขนาดตัวอย่าง ประมาณค่าสัดส่วน 2 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ aspirin และไม่ใช้ aspirin กลุ่มละ 141 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวน และร้อยละ สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ได้แก่ chi-square test  หรือ fisher exact และสถิติindependent t-test วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัย Risk Regression Models รายงานค่า RRและช่วงความเชื่อมั่น 95% CI

ผลการศึกษา : จากการศึกษาสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงปานกลาง-สูง ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 290 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้ใช้ยา aspirin จำนวน 145 ราย และไม่ได้ใช้ยา aspirin จำนวน 145 ราย กลุ่มที่ได้รับ Aspirin มีภาวะครรภ์เป็นพิษ 9 ราย ร้อยละ 6.20 ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับ Aspirin มีภาวะครรภ์เป็นพิษมากกว่าคือ 12 ราย คิดเป็นร้อยละ20.68 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลผลการตั้งครรภ์ในกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยา aspirin และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ได้รับยา aspirin พบความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 35.17 ความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์ร้อยละ 40.00 คลอดแบบผ่าตัดทางหน้าท้อง ร้อยละ 77.93  นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา aspirin อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ร้อยละ 21.38 น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2500 กรัมร้อยละ 15.17  Apgar score 1 min ≤ 7 ร้อยละ 11.03 คลอดผ่านช่องคลอด ร้อยละ 20.69 ทารกแรกเกิดมีภาวะวิกฤต ร้อยละ 1.38 และมารดามีภาวะตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 2.07 อย่างไรก็ตามพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มที่ได้รับยา aspirin เมื่อวิเคราะห์พหุหลายระดับพบว่าการไม่ได้รับแอสไพรินช่วยเพิ่มการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (relative risk 2.02, 95%CI; 1.17-3.45, p=0.01)

ข้อสรุป :  ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ดังนั้นการใช้ยาแอสไพรินสามารถช่วยลดการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในหญิงตั้งครรภ์ได้

References

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการปฏิบัติของราชวิทยาลัยเรื่องการดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์.

A. C. Staff. (2019). The two-stage placental model of preeclampsia: An update, J Reprod Immunol 134-135, 1-10.

นภัส โล่ห์ตระกูล. (2563). การคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia screening), สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565. จากhttps://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/writer/%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8% B1%E0%B8%AA-%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0% B9%8C%E0%B8% 95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5/.

กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2563). ระบบเฝ้าระวังมารดาตาย (MDSR System). กรมอนามัย : กระทรวงสาธารณสุข.

Atallah, A., Lecarpentier, E., Goffinet, F., Doret-Dion, M., Gaucherand, P., & Tsatsaris, V. (2017). Aspirin for Prevention of Preeclampsia. Drugs, 77(17), 1819–1831. https://doi.org/10.1007/s40265-017-0823-0.

Atallah, A., Lecarpentier, E., Goffinet, F., Gaucherand, P., Doret-Dion, M., & Tsatsaris, V. (2019). Aspirine et prééclampsie [Aspirin and preeclampsia]. Presse medicale (Paris, France: 1983), 48(1 Pt 1), 34–45. https://doi.org/10.1016/j.lpm.2018.11.022

Gan J, He H, Qi H. (2016). Preventing preeclampsia and its fetal complications with low-dose aspirin in East Asians and non-East Asians: A systematic review and meta-analysis. Hypertension in pregnancy. 2016;35(3):426-35.

Bujold, E., Roberge, S., Lacasse, Y., Bureau, M., Audibert, F., Marcoux, S., Forest, J. C., & Giguère, Y. (2010). Prevention of preeclampsia and intrauterine growth restriction with aspirin started in early pregnancy: a meta-analysis. Obstetrics and gynecology, 116 (2 Pt 1), 402–414. https://doi.org/10.1097/AOG.0b013e3181e9322a

Steegers EAP, von Dadelszen P, Duvekot JJ, Pijnenborg R. Pre-eclampsia. Lancet Lond Engl. 2010 Aug 21;376(9741):631–44.

mis57. ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertension in Pregnancy) [Internet]. Department of Obstetrics and Gynecology Faculty of Medicine Chiang Mai University. 2020 [cited 2023 Mar 17]. Available from: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6655/

ACOG Publications: January 2019: Obstetrics & Gynecology [Internet]. [cited 2023 Mar 17]. Available from https://journals.lww.com/greenjournal/Citation/2019/01000/ ACOG_Publications__January_2019.41.aspx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-25