ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการควบคุมโรคหืดในผู้ป่วยที่รักษาใน คลินิกโรคหืด รพ. ปากช่องนานา จ.นครราชสีมา
คำสำคัญ:
โรคหืด, ระดับการควบคุมโรคหืด, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการควบคุมโรคหืดในผู้ป่วยที่รับการรักษาในคลินิกโรคหืด รพ. ปากช่องนานา จ. นครราชสีมา
วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) โดยประชากรที่ใช้ คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหืด ที่รักษาในคลินิกโรคหืด โรงพยาบาลปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา ใช้สูตรคำนวณขนาดตัวอย่าง ประมาณค่าสัดส่วน วิเคราะห์สถิติ ordinal logistic regression เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการควบคุมโรคหืดซึ่งได้แบ่งระดับการควบคุม ออกเป็น 3 ระดับได้แก่ คุมอาการได้ดี คุมอาการได้บางส่วน คุมอาการไม่ได้ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา : จากการศึกษาผู้ป่วยโรคหืดที่รักษาในคลินิกโรคหืด รพ.ปากช่องนานา จำนวน 174 ราย พบว่ามีผู้ป่วยที่ควบคุมโรคหืดได้ดี จำนวน 53 ราย ควบคุมอาการได้บางส่วน จำนวน 68 ราย และกลุ่มที่ควบคุมอาการไม่ได้ จำนวน 53 ราย เมื่อศึกษาวิเคราะห์แบบตัวแปรเดี่ยว ด้วยสถิติถดถอยอย่างง่าย univariable ordinal logistic regression พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการควบคุมโรคหืดในผู้ป่วยที่รักษาในคลินิกโรคหืด รพ.ปากช่องนานา จ.นครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ส่วนสูง (OR=0.96; 95%CI : 0.92-0.99, p-value = 0.016) โรคประจำตัว ได้แก่ โรคกรดไหลย้อน (OR=2.91; 95%CI : 1.21-6.99, p-value = 0.017 สภาพแวดล้อมที่เกิดจากควันไฟขณะเผาขยะ (OR=1.85; 95%CI : 1.05-3.24, p-value = 0.031) ความเครียด (OR=3.61; 95%CI : 1.57-8.29, p-value = 0.002) การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (OR=1.90; 95%CI : 1.04-3.48, p-value = 0.036) ยาที่ใช้รักษา ได้แก่ cetirizine (OR=3.80; 95%CI : 1.06-13.51, p-value = 0.039) และยาสูดพ่น ได้แก่ ยา budesonide MDI (OR=0.51; 95%CI : 0.29-0.89, p-value = 0.019) เมื่อวิเคราะห์ตัวเเปรแบบถดถอยพหุลอจิสติกเชิงอันดับ multivariable ordinal logistic regression พบปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับระดับการควบคุมโรคหืดในผู้ป่วยที่รักษาในคลินิกโรคหืด รพ.ปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในตัวแบบสุดท้าย ได้แก่ ความเครียด (Adj. OR = 2.66; 95%CI 1.02 – 6.95) และการใช้ยา salbutamol MDI (Adj. OR = 3.34; 95%CI 1.09 – 10.28)
ข้อสรุป : เมื่อควบคุมตัวแปรกวนอื่นๆ ความเครียด และการใช้ยา salbutamol MDI มีความสัมพันธ์กับระดับการควบคุมโรคหืดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคหืดได้ดีที่สุด ผู้รักษาควรให้ความสำคัญกับการประเมินความเครียดของผู้ป่วย รวมถึงการใช้ยาของผู้ป่วย
References
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ใหญ่ พ.ศ. 2560. บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2017.
Pawankar R, Baena-Cagnani CE, Bousquet J, Walter Canonica G, Cruz AA, Kaliner MA, et. al. State of World Allergy Report 2008: Allergy and Chronic Respiratory Diseases. World Allergy Organ J. 2008 Dec; 1(1): S4–17.
Masoli M, Fabian D, Holt S, Beasley R, Program GI for A (GINA). The global burden of asthma: executive summary of the GINA Dissemination Committee Report. Allergy. 2004; 59(5): 469–78.
Asthma GIF. 2019 Pocket Guide for Asthma Management: For Adults and Children Over 5 Years. Independently Published; 2019.
ThaiNCD.com. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [online] [cites 2022 Jan 10]. Available from: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020& searchText=&pn=2.htm
BinSaeed AA. Asthma control among adults in Saudi Arabia. Saudi Med J. 2015 Dec; 36(5): 599–604.
Abrahamsen R, Gundersen GF, Svendsen MV, Klepaker G, Kongerud J, Fell AKM. Possible risk factors for poor asthma control assessed in a cross-sectional population-based study from Telemark, Norway. PLOS ONE. 2020 May 12; 15(5): e0232621.
Torchyan AA. Asthma control in Saudi Arabia: Gender implications. Allergy Asthma Proc. 2017 May 1; 38(3): 47–53.
Ghanname I, Chaker A, Cherkani Hassani A, Herrak L, Arnaul Ebongue S, Laine M, et. al. Factors associated with asthma control: MOSAR study (Multicenter Observational Study of Asthma in Rabat-Morocco). BMC Pulm Med. 2018 Apr 24; 18(1): 61.
Nguyen K, Zahran H, Iqbal S, Peng J, Boulay E. Factors associated with asthma control among adults in five New England states, 2006-2007. J Asthma Off J Assoc Care Asthma. 2011 Aug; 48(6): 581–8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ