การเปรียบเทียบการเกิดภาวะหายใจปีกจมูกบาน ระหว่างการดูดสารคัดหลั่งในจมูกด้วยลูกสูบยางแดงกับเช็ดจมูกด้วยผ้าก๊อซตามด้วยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ NSS ในทารกแรกเกิด

ผู้แต่ง

  • รัศม์นรี พีรทวีพงศ์

คำสำคัญ:

ภาวะปึกจมูกบาน, ดูดสารคัดหลั่งด้วยลูกสูบยางแดง, ล้างจมูก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการเกิดอาการ หายใจปีกจมูกบาน ระหว่างการดูดสารคัดหลั่งในจมูกด้วยลูกสูบยางแดงกับเช็ดจมูกด้วยผ้าก๊อซตามด้วยล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ในทารกแรกเกิด

วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัย แบบกึ่งทดลอง ในกลุ่มตัวอย่างทารกแรกเกิดคลอดปกติ 66 คน ระหว่างวันที่ 1พฤษภาคม พ.ศ.2565 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ.2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ลูกสูบยางแดง น้ำเกลือ ผ้าก๊อซ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูล กลุ่มวิธีปฏิบัติ ข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการหายใจ วินิจฉัยสุดท้ายและสถานะการจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน ได้แก่ Mann Whitney U test, Fisher’s exact test

ผลการศึกษา : ลักษณะทั่วไปทางคลินิกของผู้ป่วยทั้ง2กลุ่มไม่แตกต่างกัน กลุ่มดูดสารคัดหลั่งในจมูกด้วยลูกยางแดง เกิดหายใจปีกจมูกบาน ร้อยละ 22.5 กลุ่มเช็ดจมูกตามด้วยล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ร้อยละ 11.5  ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value= 0.338) ผลเรื่องอาการหายใจลำบากร่วมอื่นๆเช่นเสียงหายใจครืดคราด  พบว่า กลุ่มดูดสารคัดหลั่งในจมูกด้วยลูกยางแดง พบร้อยละ 27.5 กลุ่มเช็ดจมูกตามด้วยล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ร้อยละ 7.7 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value= 0.025)

ข้อสรุป : อาการหายใจปีกจมูกบานในกลุ่มดูดสารคัดหลั่งในจมูกด้วยลูกยางแดงเกิดมากกว่ากลุ่มเช็ดจมูกตามด้วยล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ

References

Edwards MO, Kotecha SJ, Kotecha S. Respiratory distress of the term newborn infant. Paediatric Respiratory Reviews. 2013 March;: 29-36.

ลิ่มลิขิต ท. ความชุกและผลการรักษาภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิด. ชัยภูมิเวชสาร. 2019; 2(39): 53-63.

Reuter S, Moser C, Baack. M. Respiratory Distress in the Newborn. Pediatrics in Review. 2014 october 10; 35(10): 417-428.

Hsu DW, Suh. JD. Anatomy and Physiology of Nasal Obstruction. Otolaryngologic Clinics North America. 2018 Oct; 51(5): 853-865.

Chirico G, Beccagutti. F. Nasal obstruction in neonates and infants. Minerva Pediatrica. 2010 Oct; 62(5): 499-505.

World Health Organization. WHO recommendations on newborn health: guidelines approved by the WHO Guidelines Review Committee Geneva; 2017.

Aziz K, Lee HC, B M, V. A, D. B, S. V, et al. Part 5: Neonatal Resuscitation. Circulation. 2020 October 20;: S524–S550.

Kelleher J, Bhat R, Salas AA, Addis D, Mills EC, Mallick H, et al. Oronasopharyngeal suction versus wiping of the mouth and nose at birth: a randomised equivalency trial. Lancet. 2013 July 27; 382: 326–30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-12