ผลของอาชีวอนามัยเพื่อคุ้มครองบุคลากรสุขภาพช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของโรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
โรคโควิด-19, บุคลากรสุขภาพ, อาชีวอนามัย, อาชีวเวชกรรม, ลำดับขั้นการควบคุมสิ่งคุกคามบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อบรรยายการใช้กระบวนการอาชีวอนามัยด้วยวิธีลำดับขั้นการควบคุมทางชีวภาพของโรงพยาบาลนครพนม ในการคุ้มครองบุคลากรจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และนำเสนอผลของการคุ้มครองดังกล่าว
วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาถึงวิธีลำดับขั้นการควบคุมทางชีวภาพเพื่อคุ้มครองบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนครพนมในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565 จำนวน 1,280 ราย ผลของการคุ้มครองพิจารณาจากข้อมูลจากการสอบสวนบุคลากรที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ จำนวน เพศ ช่วงอายุ อาชีพ แผนกที่ปฏิบัติงาน ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และสาเหตุการติดเชื้อ
ผลการศึกษา: การใช้วิธีลำดับขั้นการควบคุมทางชีวภาพประกอบได้ด้วย การควบคุมทางวิศวกรรมในสถานพยาบาล การควบคุมโดยวิธีบริหารจัดการ และการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ส่งผลให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนครพนมในช่วงเวลาดังกล่าวติดเชื้อไวรัสโคนา 2019 จำนวน 381 ราย เป็นเพศหญิงจำนวน 295 ราย เพศชายจำนวน 86 ราย อายุน้อยกว่า 50 ปี จำนวน 313 ราย อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 68 ราย ผู้ติดเชื้อทุกรายได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ พบสาเหตุการติดเชื้อเนื่องจากการทำงานจำนวน 9 ราย จำแนกอาชีพที่ติดเชื้อ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ พนักงานทั่วไป ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานช่วยเหลือคนไข้ และแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 11.6 3 1.9 1.5 และ 1.1 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดตามลำดับ จำแนกตามหน่วยงานที่ติดเชื้อพบว่า ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรมและห้องคลอด แผนกผู้ป่วยนอก แผนกห้องฉุกเฉินและบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และหอผู้ป่วยศัลยกรรม คิดเป็นร้อยละ 2.5 2 1.8 1.7 และ 1.7 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดตามลำดับ
ข้อสรุป: การใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อคุ้มครองบุคลากรจำนวนทั้งสิ้น 1,280 ราย พบบุคลากรติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 381 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.8 ความเสี่ยงที่ส่งผลให้บุคลากรติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากขึ้นประกอบด้วย 1) ความถี่การทำหัตถการก่อละอองในผู้ป่วยโรคโควิด-19 2) จำนวนผู้ป่วยโรคโควิดที่มีมาก 3) บุคลากรมีความถี่การปฏิบัติงานสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สูง 4) ลักษณะการทำงานของบุคลากรที่มีการเคลื่อนจุดปฏิบัติงานบ่อยครั้ง และ 5) ระดับความรู้และความตระหนักของบุคลากรเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในสถานการณ์โรคโควิด-19
References
World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) [Internet]. [cited 2022 Sep 18]; Available from: https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/coronavirus-disease-covid-19
Johns Hopkins University. COVID-19 data repository by the center for systems science and engineering (CSSE) at Johns Hopkins University [Internet]. 2022 [cited 2022 Oct 1]; Available from: https://github.com/CSSEGISandData/COVID-19
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๔๘ ง (ลงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓).
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ ๓). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง (ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕).
Gómez-Ochoa SA, Franco OH, Rojas LZ, Raguindin PF, Roa-Díaz ZM, Wyssmann BM, et al. COVID-19 in health-care workers: A living systematic review and meta-analysis of prevalence, risk factors, clinical characteristics, and outcomes. Am J Epidemiol. 2021;190(1):161–75.
Gholami M, Fawad I, Shadan S, Rowaiee R, Ghanem H, Hassan Khamis A, et al. COVID-19 and healthcare workers: A systematic review and meta-analysis. Int J Infect Dis. 2021;104:335–46.
World Health Organization. Health and care worker deaths during COVID-19 [Internet]. [cited 2022 Sep 22]; Available from: https://www.who.int/news/item/20-10-2021-health-and-care-worker-deaths-during-covid-19
World Health Organization. WHO SAGE Roadmap for prioritizing uses of COVID-19 vaccines: An approach to optimize the global impact of COVID-19 vaccines, based on public health goals, global and national equity, and vaccine access and coverage scenarios [Internet]. 2022 [cited 2022 Sep 22]. Available from: https://www.who.int/publications-detail-redirect/WHO-2019-nCoV-Vaccines-SAGE-Prioritization-2022.1
World Health Organization. Prevention, identification and management of health worker infection in the context of COVID-19: Interim guidance [Internet]. 2020 [cited 2022 Sep 22]. Available from: https://www.who.int/publications-detail-redirect/10665-336265
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5. กรุงเทพมหานคร: 2564.
COVID-19: Occupational health and safety for health workers: interim guidance, 2 February 2021 [Internet]. [cited 2022 Sep 22]; Available from: https://www.who.int/publications-detail-redirect/WHO-2019-nCoV-HCW_advice-2021-1
Hierarchy of Controls | NIOSH | CDC [Internet]. 2022 [cited 2022 Sep 25]; Available from: https://www.cdc.gov/niosh/topics/hierarchy/default.html
กรมการแพทย์. แนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 [Internet]. 2565 [cited 2022 Oct 29]; Available from: https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650305125125PM_HCW%20V4_n_20220305.pdf
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค. ใน: แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: 2561. หน้า 141–50.
สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในสถานพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.
Centers of Disease Control and Prevention. Factors that affect your risk of getting very sick from COVID-19 [Internet]. Cent. Dis. Control Prev.2020 [cited 2022 Oct 15]; Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/your-health/risks-getting-very-sick.html
Centers of disease control and prevention. Rates of COVID-19 cases and deaths by vaccination status [Internet]. Cent. Dis. Control Prev.2020 [cited 2022 Dec 11]; Available from: https://covid.cdc.gov/covid-data-tracker
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) สำหรับสถานประกอบกิจการ [Internet]. 2564 [cited 2022 Oct 29]; Available from: https://kku.world/slxny
กรมการแพทย์. คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ส่วนบุคคลป้องกันการติดเชื้อ (Personal Protective Equipment, PPE) [Internet]. 2563 [cited 2022 Sep 22]; Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g07_ppe_200463.pdf
สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย. แนวทางวินิจฉัยโรค COVID-19 จากการทำงาน [Internet]. [cited 2022 Sep 25]; Available from: https://www.aoed.org/news/2021/work-related-covid/
Occupational Safety and Health Administration. Guidance on preparing workplaces for COVID-19 [Internet]. Available from: https://www.osha.gov/sites/default/files/publications/OSHA3990.pdf
van der Plaat DA, Madan I, Coggon D, van Tongeren M, Edge R, Muiry R, et al. Risks of COVID-19 by occupation in NHS workers in England. Occup Environ Med 2022;79(3):176–83.
Sirinapakul P, Chaiear N, Krisorn P. Validity and reliability of self-assessment tool for risk prioritization following exposure to tuberculosis in a hospital setting. Int J Environ Res Public Health. 2021;18(8):3981.
Pauletti G, Girotto C, De Luca G, Saieva AM. Incident reporting reduction during the COVID-19 pandemic in a tertiary Italian hospital: A retrospective analysis. Int J Qual Health Care. 2022;34(2):1–5.
Dzinamarira T, Nkambule SJ, Hlongwa M, Mhango M, Iradukunda PG, Chitungo I, et al. Risk factors for COVID-19 infection among healthcare workers. A first report from a living systematic review and meta-analysis. Saf Health Work 2022;13(3):263–8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ