ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชากรกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดสกลนคร
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้เรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับของประชากรกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชากรกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดสกลนคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้เรื่องการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชากรกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดสกลนคร
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ภาคตัดขวาง (Descriptive cross-sectional study) โดยประชากรที่ศึกษาเป็นประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร ในขณะที่ดำเนินการศึกษา ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ในช่วงเวลา พฤษภาคม - กรกฎาคม 2565
ผลการศึกษา: ประชากร 440 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.40 อายุอยู่ระหว่าง 45 – 54 ปี มากที่สุด ร้อยละ 29.09 ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 60.68 พฤติกรรมการบริโภคอาหารในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับส่วน อยู่ในระดับ
ปานกลาง ร้อยละ 47.05 กลุ่มตัวอย่างยังมีการบริโภคส้มตำใส่ปลาร้าดิบ น้ำพริกปลาร้าสับ แจ่วบองปลาร้าดิบ เป็นบางครั้ง ร้อยละ 50, 49.77, 49.32 และ 45.91 ตามลำดับ มีประชาชนบางส่วนยังถ่ายตามทุ่งนา พฤติกรรมการเข้ารับบริการตรวจอุจจาระเพื่อค้นหาไข่พยาธิ พบว่า พฤติกรรมการตรวจอุจจาระ อยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการได้รับยารักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ(Praziqualtel) จากสถานบริการสาธารณสุขอยู่ในระดับต่ำ พฤติกรรมการเข้ารับการตรวจที่สถานบริการเพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงของมะเร็ง อยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ (r= .124) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ (r = 0.295)
ข้อสรุป : พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาบาลใบไม้ตับจะอยู่ในระดับสูงก็ตามแต่ผลการสำรวจการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ พบค่าความชุกเฉลี่ยร้อยละ 8.2 ซึ่งเกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดคือไม่เกินร้อยละ 5 การวิจัยครั้งนี้จึงมีส่วนสำคัญต่อการประเมินสถานการณ์ การแพร่กระจายของโรค และทำให้ทราบสาเหตุด้านพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขต่อไป
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ
ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf
ชุดข้อมูลอัตราป่วยตาย (Fatality rate) ด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี สิทธิ UC ของโรงพยาบาลที่ให้บริการ
ปี 2560 – 2563 https://data.go.th/dataset/dataset- pp_39_102563)
ศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2558.ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2559,จาก
โกศล รุ่งเรืองชัย. พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี สืบค้นวันที่ 14 สิงหาคม 2561. จาก :
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=779.2553.
วิชิต รุ่งพุทธิกุล (2561) "ปัจจัยที่มีอิทธิพลอการเกิดภาวะพังผืดรอบท่อน้ำดีในประชากร ตำบลวังทอง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ" วารสารวิชาการ สคร. 24 (2) : 36-45.
ณัฐิกา วรรณแก้ว (2560) "การจำแนกชนิดของภาพอัลตราซาวด์ตับและท่อน้ำดีจากโครงการ CASCAP ในเขตอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ช่วงปีงบประมาณ 2557-2558" วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 15, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) : 5-18.
สุรพล เวียงนนท์ และคณะ. (2555) "มะเร็งท่อน้ำดีในจังหวัดขอนแก่น " ศรีนครินทร์เวชสาร 2555,27 (ฉบับพิเศษ) : 326-330
วีรพล คู่คงวิริยพันธุ์ และเอื้อมเดือน ประวาฬ (2555) "มะเร็งท่อน้ำดี " ศรีนครินทร์เวชสาร , 27
(ฉบับพิเศษ) : 413-421
โกศล รุ่งเรืองชัย.พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี สืบค้นวันที่ 14 สิงหาคม 2561.
จาก : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=779. (2553).
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สสจ.สกลนคร.(2564). รายงานประจำปี 2564 .ข้อมูล ณ วันที่ 1ตุลาคม2564
กุล่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. สถิติพยาธิใบไม้ตับ. (2564).
Bloom,B. S. (1975). Taxonomy of Education Objective Handbook I : Cognitive Domain.
New York: David Mckay.
ฉัตรลดา ดีพร้อม (2560) "พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชานที่เข้ามารับ
การตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ บ้านหนองสองห้อง ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัด
กาฬสินธุ์" วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิยาลัยขอนแก่น , 11 (1) : 28-37
กนกวรรณ ขันเงิน และคณะ (2554) "ระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนในตำบลนาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. " วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 1 (2) : 4-6
เพ็ญประภา แต้มงามและคณะ (2562) "ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อ
การเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัด
อุบลราชธานี " วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562, 21 (3) : 74-84
อรณิชา โชติกาวานิชกุลและคณะ (2564) "ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรค
พยาธิใบไม้ตับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาเขตสุขภาพที่ 9" วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2564, 17 (1) : 35-44
วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ และคณะ (2564) คู่มือประชาชนเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็ง
ท่อทางเดินน้ำดีตับ ขอนแก่น โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา
รัตติยากร มะณี (2558) "พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบะเค อำเภอโพนทองจังหวัดร้อยเอ็ด" สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ปริวัฒน์ กอสุระ และคณะ (2563) "พฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ :การประเมินสถานการณ์ตามบริบทชุมชนของคนไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดศรีสะเกษ " วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี 9, 1 (มกราคม – มิถุนายน) : 133-141
นำพร อินสิน ,ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม และกาญจนา วงษ์สวัสดิ์ (2560) "พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดีและ
การรับรู้การป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5-6:กรณีศึกษาโรงเรียน
ในตำบลม่วงลาย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร" วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10 (1) : 63-72
กิจปพน ศรีธานี และคณะ (2560) "การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู" รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเสริฐ ประสมรักษ์ (2562) "เปรียบเทียบความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ความรู้และพฤติกรรมป้องกัน ในประชากรกลุ่มเสี่ยงพื้นที่รอบแหล่งน้ำชุมชนชนบทและชุมชนเมือง "ศรีนครินทร์เวชสาร 31 (6) : 628-634
ธนากร วรัมพร และคณะ (2563) "ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของ ประชาชนในพื้นที่หมู่ 3 บ้านซับถาวร ตำบลไทยอุดม อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว " วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 3 (2) : 16-30
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ