การพัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, โปรแกรมทันตสุขศึกษาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุและปัจจัยที่ส่งผลกระทบ และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้โปรแกรมทันตสุขศึกษาจากการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อการปรับเปลี่ยนความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก
วัสดุและวิธีการ เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 60-74 ปี จำนวน 50 คน ในเขตอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลองเพื่อศึกษาสภาวะทันตสุขภาพ คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยใช้แบบดัชนี OIDP หลังจากนั้นนำมาพัฒนาโปรแกรมทันตสุขศึกษาจากการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เก็บข้อมูลอีกครั้งหลังจากทดลองประกอบการใช้สื่อ กิจกรรมกลุ่มย่อย สันทนาการ และฝึกปฏิบัติทำความสะอาดช่องปาก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบการทดสอบที และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก
ผลการศึกษา ความชุกของการได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากเท่ากับร้อยละ 60 มากที่สุดคือการรับประทานอาหาร (ร้อยละ 48) รองลงมาคือด้านอารมณ์ จิตใจ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบคือการมีหรือไม่มีรายได้ของผู้สูงอายุ (OR=17.65) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนความรู้และทัศนคติเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างในด้านความรู้และทัศนคติระหว่างผู้ที่ได้รับหรือไม่ได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
ข้อสรุป การรับประทานอาหารส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ภายหลังจากได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาจากการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อลดการสูญเสียฟันพบว่าคะแนนความรู้และทัศนคติเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงน่าจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการสูญเสียฟัน อันทำให้คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากดีขึ้น
References
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2561.
เศรษฐพล เจริญธัญรักษ์, จิราพร เขียวอยู่, วิลาวัลย วีระอาชากุล. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน: กรณีศึกษาในเขต อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2014; 29(4): 339-44.
Jung SH, Ryu JI, Tsakos G, Sheiham A. A Korean version of the Oral Impacts on Daily Performances (OIDP) scale in elderly populations: validity, reliability and prevalence. Health Qual Life Outcomes. 2008; 6:17.
สุดาดวง กฤษฎาพงษ์, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก :หลักการและการวัด. ปทุมธานี: บริษัท นโม พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิง; 2552.
Adulyanon S, Sheiham, A. Oral Impacts on Daily Performances. In: Measuring oral health and quality of life. ed. Slade, G. D. pp151–160. Chapel Hill: University of North Carolina. 1997.
Srisilapanan P. Sheiham A. The prevalence of dental impacts on daily performances in older people in Northern Thailand. Gerodontology 2001; 18(2): 102-108.
พินโญ หงษ์ยิ้ม, มิ่งขวัญ สิทธิวรนันท์, สริตา คัชพงษ์. ผลกระทบของการใส่ฟันเทียมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2560; 22(1): 37-47.
Naorungroj S, Naorungroj T. Oral Health-Related Quality of Life in the Elderly: A Review and Future Challenges in Thailand. Siriraj Med J 2015; 67: 248-53.
Becker MH, Rosenstock IM. Compliance with medical advice. In: Steptoe A, Matthews A, editors. Health care and human behavior. London: Academic Press; 1984. p. 135-52.
ฐิติพร ศิริบุรานนท์. ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก สำหรับผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันเทียม เขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2554.
ปิยมนฑ์ พฤกษชาติ, อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์, ปิติ ทั้งไพศาล. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ผลกระทบของสุขภาพช่องปาก สมรรถภาพในชีวิตประจำวันในผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2554;16(1): 45-55.
สถาพร จันทร. คุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2551; 13: 158-67.
พัชรี เรืองงาม. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลพรานกระต่าย. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2564; 19(2): 130-141.
ศศิกร นาคมณี. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทาน โรงพยาบาลบางปะกง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2561; 35(1): 30-9.
มณฑกานติ์ สีหะวงษ์. การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28(3): 418-431.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ