อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก ในโรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • พรทิวา จันทรเสนา

คำสำคัญ:

ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด, การระงับความรู้สึกโดยวิธีดมยาสลบ, การระงับความรู้สึกโดยวิธีให้ยาชา, ยามอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง, การระงับความรู้สึกโดยให้ยาทางเส้นเลือดดำ, การผ่าตัดทางศัลยกรรมทั่วไป, การผ่าตัดทางสูตินรีเวชวิทยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาอุบัติการณ์การเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด (Post-operative nausea vomiting: PONV)   ในโรงพยาบาลนครพนม และหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด  

วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงสมุฏฐาน Etiognostic research (Retrospective case control study) โดยศึกษาผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดและระงับความรู้สึกในรพ.นครพนม อายุ15-80 ปี ตั้งแต่ 1 พ.ย.2562 – 31 ธ.ค.2562 จำนวน 981 ราย โดยเป็นกลุ่มที่มีภาวะ PONV  162 ราย และไม่มีภาวะ PONV 819 ราย รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีระงับความรู้สึกและข้อมูลเกี่ยวกับชนิดการผ่าตัด เก็บข้อมูลการประเมินการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ทันทีที่ห้องพักฟื้นและหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมงแรก โดยแบ่งเป็นระดับความรุนแรง ได้แก่ รุนแรงน้อย รุนแรงปานกลาง รุนแรงมาก วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป หาอุบัติการณ์ของภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องแต่ละปัจจัย ด้วย univariable logistic regression และวิเคราะห์แบบหลายปัจจัย โดยใช้สถิติ multivariable logistic regression

ผลการศึกษา: อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย 43.6±16.7 เป็นผู้หญิงร้อยละ 54.5 อุบัติการของภาวะ PONV พบเป็นร้อยละ 17 โดยมีอาการน้อยร้อยละ 17.3% ปานกลางร้อยละ 66.1 มีอาการมากร้อยละ 16.7 โดยในกลุ่มPONV เป็นผู้หญิงถึงร้อยละ 82.1 และเป็นผู้ป่วยของแผนกศัลยกรรมทั่วไปร้อยละ 45.7 แผนกสูตินรีเวชกรรมร้อยละ 30.9 เมื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีระงับความรู้สึก พบว่าในกลุ่มPONV ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีดมยาสลบร้อยละ 73.5 วิธีให้ยาชาร่วมกับยามอร์ฟีนทางช่องไขสันหลังร้อยละ 17.3 ในกลุ่มPONV พบว่าระยะเวลาของการทำระงับความรู้สึกเป็น 72±59.2 นาที เมื่อเทียบกับกลุ่มไม่พบPONV 59±35 นาที อย่างไรก็ตามลักษณะอายุ ASA classification โรคประจำตัว ของผู้ป่วยทั้ง2กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นการสูบบุหรี่ พบว่าผู้ป่วยที่มี PONV สูบบุหรี่เพียงร้อยละ 9.3 (OR 0.21, 95%CI 0.12-0.37, p=<0.001) เมื่อวิเคราะห์ univariable analysis พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เพศหญิง OR=4.76 (95%CI 3.11-7.27, p=<0.001) การผ่าตัดทางศัลกรรมทั่วไป OR=1.50 (95%CI 1.07-2.11, p=0.019) การผ่าตัดทางสูตินรีเวช OR=2.30 (95%CI 1.57-3.37, p=<0.001) และการระงับความรู้สึกโดยวิธีฉีดยาชาร่วมกับยามอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง OR=3.68 (95%CI 2.21-6.12 p=<0.001) เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดPONV และพบว่าการผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก OR=0.29 (95%CI 0.16-0.52, p=<0.001) ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ OR=0.28 (95%CI 0.09-0.92, p=0.036) การระงับความรู้สึกด้วยวิธี ให้ยาชาทางช่องไขสันหลัง OR=0.42 (95%CI 0.21-0.85, p=0.015) การระงับความรู้สึกโดยวิธีให้ยาสลบทางเส้นเลือดดำ OR=0.14 (95%CI 0.03-0.58, p=0.007) มักไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะPONV เมื่อวิเคราะห์ multivariable analysis พบว่า เพศหญิง aOR 2.88 (95%CI 1.61-5.17) การระงับความรู้สึกด้วยวิธีดมยาสลบ aOR 19.09 (95%CI 3.39-107.44, p=0.001) การให้ยาชาผสมยามอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง aOR 47.53 (95%CI 7.43-304.06, p<0.001) ยังคงเป็นความเสี่ยงในการเกิด PONV นอกจากนี้กลุ่มผู้ป่วยที่ BMI<18.5 aOR 2.04 (95%CI 1.12-3.71, p=0.019) พบว่าเป็นความเสี่ยงในการเกิด PONV อีกด้วย

สรุปผล: อุบัติการณ์การเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดของโรงพยาบาลนครพนมพบเป็นร้อยละ 17 โดยความเสี่ยงที่ทำให้เกิดPONV ได้แก่ เพศหญิง ผู้ป่วยที่มีBMIน้อยกว่า 18.5 การระงับความรู้สึกด้วยวิธีดมยาสลบ และการให้ยาชาและยามอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังและหาทางในการป้องกันการเกิดในผู้ป่วยที่ทราบลักษณะเสี่ยงดังกล่าว

References

Wongswadiwat M. Postoperative nausea and vomiting: An update. Srinagarind Med J. 2000;15:283-7.

Gan TJ, Meyer T, Apfel CC, Chung F, Davis PJ, Eubanks S, et al. Consensus guidelines for managing postoperative nausea and vomiting. Anesth Analg. 2003;97:62-71.

Deane Y, Valentine RGN. An audit of nausea and vomiting in a post anesthetic care unit. British J Anesthetic & Recovery Nursing. 2005;6:4-6.

Gan TJ, Meyer T, Apfel CC, Chung F, Davis PJ, Habib AS, et al. Society for ambulatory anesthesia guidelines for the management of postoperative nausea and vomiting. Anesth Analg. 2007;105:1615-28.

The American Society of PeriAnesthesia Nurses (ASPAN). ASPAN’S evidence-based clinical practice guideline for the prevention and/or management of PONV/PDNV. J PeriAnesthesia Nursing. 2006;21:230-50.

รายงานสถิติงานบริการประจำปี พ.ศ. 2562 (Annual Statistical Service Report) แผนกวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลนครพนม

McCracken G, Houston P, Lefebvre G. Guideline for the management of postoperative nausea and vomiting. J Obstet Gynecol Can. 2008;20:600-7.

A pfel CC, Kranke P, Katz MH, et al. Volatile anaesthetics may be the main cause of early but not delayed postoperative vomiting: a randomized controlled trial of factorial design. Br J Anaesth. 2002; 88:659-68.

Stadler M, Bardiau F, Seidel L, et al. Difference in risk factors for postoperative nausea and vomiting. Anesthesiology. 2003; 98:46-52.

Le TP, Gan TJ. Update on the management of postoperative nausea and vomiting and postdischarge nausea and vomiting in ambulatory surgery. Anesthesiology Clin. 2010;28:225-49

JongHo K, Mingi H, YoungJoon K, et al. Effect of Body mas index on Postopeative Nausea and Vomiting: Propensity analysis. J Clin Med.2020 Jun;9(6):1612

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02