ผลการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแบบเสริมในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ในโรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • ชลนิภา เรือนแสน

คำสำคัญ:

มะเร็งลำไส้ใหญ่, ยาเคมีบำบัด, ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด, โรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามัธยฐานการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 และ 3  ที่ได้รับยาเคมีบำบัดแบบเสริม ในโรงพยาบาลมุกดาหาร

ขั้นตอนและวิธีการ เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective cohort study)  ศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่2 และระยะที่ 3 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมุกดาหาร ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 – 2564

ผลการศึกษา จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 185 ราย อายุเฉลี่ย 62.10 ปี ยาเคมีบำบัดเสริมที่ได้รับเป็นสูตร 5FU/LV ร้อยละ 51.35 และสูตร FOLFOX ร้อยละ 41.08  มีการกลับเป็นซ้ำทั้งหมด 48 รายคิดเป็นร้อยละ 25.95 มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 มีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำ ร้อยละ 16 (12 รายจากทั้งหมด 75 ราย)  มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 3 มีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำ ร้อยละ 37.23 (16 รายจากทั้งหมด 110 ราย) มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 และระยะที่ 3   มีระยะเวลาการปลอดการกลับเป็นซ้ำที่ 5 ปี ร้อยละ 74  และร้อยละ 56 ตามลำดับ

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง(Pathological N2) มีโอกาสโรคกลับเป็นซ้ำมากขึ้น 2.79 เท่า (p-value= 0.03)   จำนวนต่อมน้ำเหลืองที่ตัดออกมาทั้งหมดน้อยกว่า 12 ต่อม (lymph nodes sampling <12) โรคกลับเป็นซ้ำมากขึ้น 5.16 เท่า (p-value= 0.01)   และผู้ป่วยที่มีการเลื่อนระยะเวลาการรับยาเคมีบำบัด (Dose delay) พบว่าโรคกลับเป็นซ้ำมากขึ้น 2.38 เท่า (p-value= 0.03)

ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดพบ ภาวะโลหิตจาง(Anemia) ) พบร้อยละ 69.89  ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) พบร้อยละ 22.73   ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ(Neutropenia) พบร้อยละ 18.75  อาการเพลียร้อยละ 5.69 ถ่ายเหลวพบร้อยละ 3.41   และอาการอื่นที่พบได้เล็กน้อย ได้แก่ มือเท้าลอก แผลในปาก คลื่นไส้หรืออาเจียน ชาปลายมือปลายเท้า ตับอักเสบ  พบว่าภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำและภาวะเกล็ดเลือดต่ำเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีการเลื่อนระยะเวลาการให้ยาเคมีบำบัด (Dose delay)

ข้อสรุป ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 และระยะที่3 หลังการผ่าตัดและได้รับยาเคมีบำบัดเสริม จะมีระยะเวลาการปลอดการกลับเป็นซ้ำที่ 5 ปี ร้อยละ 74  และ ร้อยละ 56 ตามลำดับ  มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 หลังการผ่าตัดหากมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อแนะนำให้ยาเคมีบำบัดแบบเสริมร่วมด้วย และมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 3 แนะนำให้ยาเคมีบำบัดเสริมร่วมด้วย ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดที่เกิดได้บ่อย ได้แก่ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำและภาวะเกล็ดเลือดต่ำ และเป็นสาเหตุให้ต้องเลื่อนระยะเวลาการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของโรค

Author Biography

ชลนิภา เรือนแสน

ขอส่งบทความลงเผยแพร่ในวารสารโรงพยาบาลนครพนม

References

Hyuna S, Jacques F, Rebecca L. Siegel , Mathie L ,Isabelle S, et al. Global Cancer Statistics 2020: GLOBOCAN Estimates of Incidence and Mortality Worldwide for 36 Cancers in 185 Countries. CA CANCER J CLIN 2021;71:209–249.

Imsamran W, Pattatang A, Supaattagorn P, Chiawiriyabunya I, Namthaisong K, et al. Cancer in Thailand: Vol. IX, 2013-2015. Bangkok (Thailand) Bangkok (Thailand): New Thammada Press; 2018.

Techawathanawanna S, Nimmannit A, Akewanlop C. Clinical characteristics and disease outcome of UICC stages I-III colorectal cancer patients at Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai. 2012;95 Suppl 2:S189–98.

National Cancer Institute of Thailand . Hospital-based cancer registry 2017. Bangkok (Thailand): Pronsup Printing; 2017.

H.J. Schmoll, E. Van Cutsem, A. Stein, Valentini V, Glimelius B, et al. ESMO Consensus Guidelines for management of patients with colon and rectal cancer. A personalized approach to clinical decision making. Ann Oncol, 23 (2012), pp. 2479-2516.

Benson AB 3rd, Schrag D, Somerfield MR, et al: American Society of Clinical Oncology recommendations on adjuvant chemotherapy for stage II colon cancer. J Clin Oncol 2004;22:3408-3419.

Yujin L, Inseok P, Hyunjin C, Geumhee G, Keunho Y, et al. Effect of Adjuvant Chemotherapy on Elderly Stage II HighRisk Colorectal Cancer Patients. Ann Coloproctol 2021;37(5):298-305.

Quasar Collaborative Group, Gray R, Barnwell J, McConkey C, Hills RK, Williams NS, et al: Adjuvant chemotherapy versus observation in patients with colorectal cancer: A randomised study. Lancet.2007;370:2020-2029.

Twelves C, Wong A, Nowacki MP, Abt M, Burris H, et al. Capecitabine as adjuvant treatment for stage III colon cancer. N Engl J Med. 2005;352:269–2704.

André T, Boni C, Mounedji-Boudiaf L, Navarro M, Tabernero J, Hickish T, Topham C, Zaninelli M, Clingan P, Bridgewater J, et al. Oxaliplatin, fluorouracil, and leucovorin as adjuvant treatment for colon cancer. N Engl J Med. 2004;350:2343–2351.

Haller DG, O'Connell M J, Cartwright T H, Twelves C J, McKenna E F, et al. Impact of age and medical comorbidity on adjuvant treatment outcomes for stage III colon cancer: a pooled analysis of individual patient data from four randomized, controlled trials. Ann Oncol 2015; 26:715–724.

Lund CM , Nielsen D , Dehlendorff C, Christiansen AB , Rønholt F, et al. Efficacy and toxicity of adjuvant chemotherapy in elderly patients with colorectal cancer: the ACCORE study. ESMO Open 2016;1:e000087.

Vassiliki LT, David WL, Marianne H, Christine ML, Patricia AT. Predictors of recurrence free survival for patients with stage II and III colon cancer. BMC Cancer 2014; 14:336.

André T, Boni C, Navarro M, Tabernero J, Hickish T, et al. Improved overall survival with oxaliplatin, fluorouracil, and leucovorin as adjuvant treatment in stage II or III colon cancer in the MOSAIC trial. J Clin Oncol. 2009 Jul 1;27(19):3109-16.

Lawrence GK, Lindsey DS, Gabriel AB. Treatment delays during FOLFOX chemotherapy in patients with colorectal cancer: a multicenter retrospective analysis. JGO.2019 Oct : 10.21037

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02