ผลลัพธ์โรคข้ออักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลมุกดาหาร
คำสำคัญ:
โรคข้ออักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลมุกดาหาร, โรคข้ออักเสบติดเชื้อบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิก ชนิดของเชื้อโรค การรักษา ผลการรักษา ระยะเวลานอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อ และศึกษาถึงความแตกต่างของการเกิดข้ออักเสบติดเชื้อตามปัจจัยต่างๆกับชนิดของการติดเชื้อ ความแตกต่างของระยะวันนอนโรงพยาบาลกับการเกิดข้ออักเสบติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
รูปแบบการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Descriptive retrospective study)
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อทั้งหมดที่เข้าพักรับการรักษาตัวที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกโรงพยาบาลมุกดาหาร ระหว่างปีงบประมาณ 2561 ถึง 2564 จำนวน 37 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อ ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปลักษณะทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ชนิดของเชื้อโรค ระยะเวลานอนโรงพยาบาล การรักษาและผลการรักษา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อจำนวน 37 ราย เพศชายมากกว่าเพศหญิงในสัดส่วน คือ 0.59:0.40 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 75.7 มีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัว ร้อยละ 54.8 ส่วนใหญ่เจ็บป่วยในช่วงฤดูฝน ร้อยละ 73 ระยะเวลาเจ็บป่วยก่อนมาโรงพยาบาล เฉลี่ย 9.21 วัน ข้อที่พบการอักเสบติดเชื้อมากที่สุดคือข้อเข่า ร้อยละ 78.4 ผู้ป่วยทุกรายส่งตรวจเพาะเชื้อหนองที่ดูดออกจากข้อ เชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบติดเชื้อมากที่สุดคือ Staphyloccus aureus ร้อยละ 27.0 รองลงมา คือ Burkholderia pseudomallei ร้อยละ 8.1 การรักษาส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดระบายหนองร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 89.2 ชนิดของการผ่าตัดระบายหนองคือ open arthrotomy ร้อยละ 91.9 ชนิดของยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ คือ combine antibiotic ร้อยละ 37.8 ระยะเวลานอนโรงพยาบาล เฉลี่ย 15.10 วัน ผลการรักษาผู้ป่วยอาการดีขึ้น แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน ร้อยละ 100 จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าอาชีพเกษตรกรรมมีความแตกต่างกันกับอาชีพอื่นๆ ของการเกิดข้ออักเสบติดเชื้อของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกกับเชื้อแบคทีเรียแกรมลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.024) ลักษณะของการติดเชื้อLocalized formมีความแตกต่างกันกับ Septicemia form ของการเกิดข้ออักเสบติดเชื้อของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกกับเชื้อแบคทีเรียแกรมลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานที่เป็นโรคประจำตัว พบว่าระยะวันนอนโรงพยาบาลมีความแตกต่างกันกับผู้ป่วยที่ไม่มีโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.049)
สรุป: ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อ ส่วนใหญ่ติดเชื้อที่ข้อเข่า เชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดข้ออักเสบติดเชื้อมากที่สุดคือ Staphyloccus aureusและ Burkholderia pseudomallei การผ่าตัดระบายหนองร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะทำให้ผลการรักษาดีขึ้น
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคเมลิออยโดสิส. ใน:ปวิตร คตโคตร, บรรณาธิการ. แผน
งานวิจัยด้านการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ. 2562-2564; 2562. หน้า 21-3.
จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์. ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ. วารสาร Hellokhunmor. [Internet]. 2020
[แก้ไขล่าสุด16/09/2020]; จาก: https://hellokhunmor.com/.
ปิ่นหยก ศรีศันสนีย์. ผลการรักษาและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อ
แบคทีเรีย. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2021;36(2):465-73.
ปารวี สุวรรณาลัย. แนวทางการวินิจฉัยปัญหาปวดข้อ. [Internet]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564/07/21];
จาก: https://med.mahidol.ac.th.
ไพรัช ประสงค์จีนและคณะ. Septic Arthritis. เอกสารบรรยาย กรุงเทพฯ: ภาควิชาออร์โธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
พัชรสาร ลีนะสมิต. Melioidosis. [เอกสารการสอน]. หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะ
แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ระบบเวชระเบียน โปรแกรม BMS-HOSxP XE. โรงพยาบาลมุกดาหาร.
วีระชัย โควสุวรรณ. ข้ออักเสบเป็นหนองในผู้ใหญ่ (Septic arthritis in adult). ใน: คณาจารย์
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บรรณาธิการ. ตำราออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551 หน้า 216-219.
สมคิด สุระชัย. ผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อ : โรงพยาบาลนครพนม. Udonthani Hospital Medical
Journal2018;26:64-73.
AS Al Arfaj. A prospective study of the incidence and characteristics of septic arthritis
in a teaching hospital in Riyadh, Saudi Arabia. Clin Rheumatol 2008; 27. (11): 1403-10.
Bryan Josué Flores-Robles, Mercedes Jiménez Palop, Abel Alejandro Sanabria
Sanchinel, et al. Medical Versus Surgical Approach to Initial Treatment in Septic Arthritis. Journal of Clinical Rheumatology 2017; 25: 4-8.
Gabriel Munoz. Surgical Treatment of Septic Arthritis. Medscape. Journal2022.
Hassan AS, Rao A, Manadan AM, Block JA. Peripheral Bacterial Septic Arthritis: Review
of Diagnosis and Management. J Clin Rheumatol 2017;23:435-42
Mathews CJ, Weston VC, Jones A, Field M, Coakley G. Bacterial septic arthritis in
adults. Lancet 2010;375:846-55.
Prapit Teparrukkul, Jiraphorn Nilsakul, Susanna Dunachie,Direk Limmathurotsakul.
Clinical Epidemiology of Septic Arthritis Caused by Burkholderia pseudomallei and Other Bacterial Pathogens in Northeast Thailand. The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene2017;97:1695-701.
S.Terry canale, James H. Beaty. Infectious arthritis. In Campbell’s Operative
Orthopaedics 11th Philadelphia: Mosby, 2008;723-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ