การจัดการคุณภาพข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐาน 43 แฟ้มเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • เทิดพงษ์ อังคะณี
  • สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล
  • สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์

คำสำคัญ:

การจัดการคุณภาพข้อมูล, ข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐาน 43 แฟ้ม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยาย มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความรู้ เจตคติและการปฏิบัติการจัดการคุณภาพข้อมูล และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการคุณภาพข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐาน 43 แฟ้ม

วัสดุและวิธีการศึกษา

ใช้วิธีสุ่มแบบกำหนดคุณสมบัติ  เก็บรวบรวมข้อมูล ตุลาคม2564–พฤษภาคม 2565 โดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นด้านความรู้ ด้านเจตคติ ด้านการปฏิบัติ มีค่า 0.78 , 0.76 และ 0.75 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติทดสอบ คือ Chi-Square test และ Fisher’ Exact test

ผลการศึกษา

  1. กลุ่มตัวอย่างส่วนมากความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ09) เจตคติอยู่ในระดับดี (ร้อยละ86.96) และการปฏิบัติอยู่ระดับสูง(ร้อยละ 69.57)

           2.อายุ ประสบการณ์ทำงาน ระดับการศึกษา และการนิเทศติดตาม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการจัดการคุณภาพข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐาน 43 แฟ้ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ข้อสรุป 

ระดับความรู้ เจตคติและการลงมือปฏิบัติที่ดี อายุ ประสบการณ์ทำงาน ระดับการศึกษา และการนิเทศติดตาม มีความสัมพันธ์กับการจัดการคุณภาพของข้อมูลตามโครงสร้าง 43 แฟ้มอย่างมีนัยสำคัญข้างต้น จึงควรส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยดังกล่าวโดยสม่ำเสมอเพื่อให้ข้อมูลมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

References

สุมัทนา กลางคารและวรพจน์ พรหมสัตยพรต. อ้างใน (Best, 1977: 174) เกณฑ์วัดระดับเจตคติ วัดการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการการดำเนินงาน; 2553.

สุจรรยา ทั่งทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านสุขภาพ (21 แฟ้ม) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพขุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556, 37-47

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการดำเนินงานระบบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วย นอกบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคล (OP/PP Individual Data) ปี 2557.

อรนันท์ หาญยุทธ การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย; 2557.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2558.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการดำเนินงานระบบข้อมูลการให้บริการผู้ป่วย นอกบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคล (OP/PP Individual Data) ปี 2558.

รติยา วิภักดิ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้ม ในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.รายงานคุณภาพการส่งข้อมูลOP/PP Individual Records; 2564.

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) จังหวัดบุรีรัมย์; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-12