ผลของการให้โปรแกรมทันตสุขศึกษา ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ มุทาไร Nikomkhamsoi Hospital
  • จักกฤษ กมลรัมย์
  • ธนัฏฐา สงแพง
  • ฌัชชา ทับเที่ยงทวี
  • วราภรณ์ สุริยะวงศ์

คำสำคัญ:

2222

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้โปรแกรมทันตสุขศึกษา ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียน

วัสดุและวิธีการ เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental study) ในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร จำนวน 65 คน โดยการจัดโปรแกรมสุขศึกษาในด้านพฤติกรรมทันตสุขภาพ การรับรู้และทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบประเมินการรับรู้และทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบบันทึกปริมาณคราบจุลินทรีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติทดสอบค่าเฉลี่ย และสหสัมพันธ์แบบเพียรสันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านการรับรู้ และทัศนคติ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพ

 ผลการศึกษา ภายหลังจากได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษา พบว่านักเรียนมีการรับรู้และทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น ปริมาณคราบจุลินทรีย์สะสมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) และการรับรู้ที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับทัศนคติในทางบวก (r=0.487) แต่ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียน

 ข้อสรุป การรับรู้และทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากที่เพิ่มมากขึ้นจากการให้โปรแกรมทันตสุขศึกษา ไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน ดังนั้นจึงควรมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกลยุทธ์อื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อเป็นการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

ณัฐวุธ แก้วสุทธา, อังศินันท์ อินทรกําแหง, พัชรี ดวงจันทร์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา 2559; 8(15): 58-75.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2561.

อรุณรัตน์ ชื่นปลัด, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, วันเพ็ญ แก้วปาน. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของอาสาสมัครสาธารณสุข. วารสารกรมการแพทย์ 2560; 42(4): 99-108.

ชิงชัย บัวทอง, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, อัจริยา วัชราวิวัฒน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฝันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านบางเหียน อําเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 3(2): 293-306.

รัตนา จันทร. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559; 33(4): 340-353.

ไพบูลย์ กูลพิมาย, วิรัติ ปานศิลา, บัณฑิต วรรณประพันธ์. โปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพโดยบุคคลต้นแบบต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครรารชสีมา. วารสารพยาบาลและสุขภาพ 2558; 9(3): 133-145.

มณฑกานติ์ สีหะวงษ์. การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(3): 418-431.

ณฐพงศ์ คงใหม่, อุบลทิพย์ ไชยแสง, สลิล กาจกาแหง, นิวัติ ไชยแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562; 2(2): 26-42.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007; 39(2): 175-191.

อรวรรณ นามมนตรี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy). วารสารทันตภิบาล 2561; 29(1): 122-8.

อุมาพร ชมโฉม อารยา ปรานประวิตร วันเพ็ญ แก้วปาน. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(1): 234-252.

สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. ทำไมทันตสุขศึกษาจึงไม่ได้ผล. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2550; 12(1): 79-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-23