ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในคลินิกหมอ ครอบครัวชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อัศนี ศศิภัทรพงศ์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชุมแพ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมดูแลสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของโลก เป็นภัยคุกคามที่ ลุกลามอย่าง รวดเร็วไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างมาก1 สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF: International Diabetes Federation) ในปีพ.ศ. 2560 มีการประเมินว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน รวม 425 ล้าน รายทั่วโลก แบ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จ านวน 98 ล้านราย และช่วงอายุ 20-64 ปี จำนวน 327 ล้านราย และคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 629 ล้านรายทั่วโลก2 คลินิกหมอครอบครัวชุมแพ อำเภอชุมแพ มีประชากรเบาหวานในเขตรับผิดชอบประมาณ 1108 คน มีจำนวนควบคุมระดับน้ำตาลเบาหวานได้ ดี 341 คน คิดเป็นร้อยละ 30.78 ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ มีจำนวนผู้ป่วยได้รับการตรวจไขมัน LDL และมีค่า LDL < 100 ร้อยละ 30.69 มีจำนวนผู้ป่วยได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตาร้อยละ 38.00 มีจำนวนผู้ป่วย ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางเท้าร้อยละ 45.76 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำทั้งหมด เนื่องจากคลินิกหมอ ครอบครัวชุมแพ อำเภอชุมแพ ได้ก่อตั้งขึ้นยังไม่นาน และยังไม่มีการเก็บข้อมูลวิจัยดังกล่าว ผู้ศึกษาเชื่อว่าหากผู้ที่มี ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีการปฏิบัติตามกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอน่าจะช่วยให้ผู้ป่วย โรคเบาหวานมีความสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการ ดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่คลินิกหมอ ครอบครัวชุมแพ อ าเภอชุมแพ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองกับการรับรู้ ภาวะ สุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่ม ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างผู้ที่ควบคุมระดับน้ าตาลได้และผู้ควบคุมระดับน้ าตาลไม่ได้

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเปรียบเทียบพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และไม่สามารถควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดได้ จำนวนทั้งหมด 412 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นและได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 97.57 การรับรู้ โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูงร้อยละ 74.03 สิ่งชักนำให้ปฏิบัติอยู่ในระดับสูง ร้อย ละ 98.30 การรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 98.30 การรับรู้อุปสรรคของการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่ม ผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 42.48 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 69.29 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วย โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 64.21 ความสัมพันธ์ระหว่างการ รับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคเบาหวานกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วย โรคเบาหวานทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ (P=0.173) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งชักน าให้ปฏิบัติของการดูแล สุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.009) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วย โรคเบาหวาน มีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อุปสรรคของการดูแลสุขภาพกับ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีนับสำคัญทางสถิติ (P<0.001) พฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ระหว่างผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้และผู้ที่ควบคุมระดับน้ าตาล ไม่ได้ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.060)

สรุป: พบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองไม่มีความสัมพันธ์กันกับการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งสองกลุ่ม

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ. ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลก 2554. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก:http://www.thaincd.com/document/doc/general/DM-2554.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ. ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลก 2561.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/docs_upload/WorldDiabetesday61.pdf

วิชัย เอกพลากร, (บก.), รายงานการส ารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557.

Yeboah, J., Bertoni, A. G., Herrington, D. M., Post, W. S., & Burke, G. L. (2011). Impaired fasting glucose and the risk of incident diabetes mellitus and cardiovascular events in an adult population: MESA (Multi-Ethnic Study of Atherosclerosis). Journal of the American College of Cardiology, 58(2), 140-146.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28