เปรียบเทียบคะแนนความปวด (Neonatal Infant Pain Scale : NIPS) ระหว่างวิธีดูดจุกหลอกกับให้สารละลายซูโครส 24% ทางปาก ขณะแทงเข็มให้สารน้้าทางหลอดเลือดดำในทารกแรกเกิดหอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • ฉันทนา พรมหัส หอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนม
  • อนัญญา สารีพร หอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนม
  • ณภัทธิรา ปิยะพงศ์สกุล หอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

การแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ, การดูดจุกหลอก, การให้สารละลายซูโครส 24%ทางปาก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนความปวด (Neonatal Infant Pain Scale : NIPS) ระหว่างวิธี ดูดจุกหลอกและให้สารละลายซูโครส 24%ทางปาก ขณะแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในทารกแรกเกิด

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นงานวิจัยชนิด intervention Research รูปแบบ Randomized control trial ท าการศึกษาแบบ cross over design กลุ่มตัวอย่าง คือ ทารกแรกเกิดที่ได้รับการแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดด า ที่รับบริการในหอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนม ในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2563 – 30 กันยายน 2563 วิธีการศึกษาคือ สุ่มเลือกวิธีการลดปวด โดยการเปิดซองปิดผนึก ก่อนแทงเข็มเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับการดูดจุกหลอกเป็นวิธีลดค่าคะแนนความปวดในขณะแทงเข็มเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ในครั้งแรก กลุ่มที่ 2 ได้รับการให้สารละลายซูโครส 24%ทางปากเป็นวิธีลดค่าคะแนนความปวดในขณะแทงเข็มเข็มให้ สารน้ำทางหลอดเลือดดำครั้งแรก และประเมินค่าคะแนนความปวดด้วย (NIPS) 2 ครั้ง วิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะ ทั่วไปของผู้ป่วยด้วยสถิติ t-test และ exact probability test วิเคราะห์ผลในการลดค่าคะแนนความปวดด้วยสถิติ Multi-variable regression รูปแบบ cross over design

ผลการศึกษา : ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ต าแหน่งแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ชนิดของ สารละลาย ไม่แตกต่างกันแต่พบโรค neonatal jaundice ในกลุ่มที่1 จำนวน 5 รายเท่ากับ 33.3% (p-value=0.042 ) มีค่าคะแนนความปวด (NIPS) ครั้งที่1 กลุ่มที่1 ค่าเท่ากับ 3±2.0 กลุ่มที่2 ค่าเท่ากับ 2.1±1.7 (p-value=0.338 ) ครั้งที่2 กลุ่มที่1 ค่าเท่ากับ 2.1±1.9 กลุ่มที่2 ค่าเท่ากับ 3±1.7 (p-value=0.096) แต่เมื่อ วิเคราะห์ด้วยรูปแบบ cross over design โดยใช้สถิติ Multi-variable regression ปรับอิทธิพลของตัวแปรกวน jaundice แล้วพบว่าการให้สารละลายซูโครส 24%ทางปากในครั้งที่ 1 ลดค่าคะแนนความปวดได้ดีกว่าวิธีดูด จุกหลอก (diff=1.4 p-value=0.030) แต่ไม่พบความแตกต่างในครั้งที่ 2 (diff.=0.03 p-value=0.937)

ข้อสรุป : การลดความปวดในทารกที่ต้องแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำครั้งแรก ควรให้สารละลาย ซูโครส 24%ทางปาก ในครั้งต่อไปอาจพิจารณาเลือกวิธีการลดปวดตามความเหมาะสม

References

Lowery CL, Hardman MP, Manning N, Clancy B, Whit Hall R, Anand KJS. Neurodevelopemental changes of fetal pain.Semin Perinatol 2007;31(5):275-82.

Anand KJS, Hickey PR. Pain and its effects in the human neonate and fetus. New Engl J Med 1987;317(21):1321-9.

สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. การจัดการความปวดในทารกแรกเกิด.ใน: การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง. กรุงเทพฯ: หจก.พรี-วัน;2559.หน้า97-113.

Stevens B, McGrath P, Ballantyne M, Yamada J, Dupuis A, Gibbins S, et al. Influence of risk of neurological impairment and procedure invasiveness on health professionals’manangment of procedural pain in neonates.Eur J Pain 2010;14(7):735-41.

Mountcastle VB. MedicalPhysiology.St. Louis:Mosby; 2010.

Jongudomkarn D. Pain in children: holistic family. Khonkean:Siriphanoffset; 2003. (in Thai)

Anand KJS, HickeyPR.Painanditseffects inthehuman neonateandfetus.NEnglJMed 1987; 317(21):1321-9

HutchisonF,HallC. Managingneonatalpain. JNeonatal Nurs 2005; 11:28-32.

Blackburn S. Environment impact to the NICU on developmental outcome. J Pediatr Nurs 1998;13(13):279-289.

.SimonSHP, Tibboel D.Painperceptiondevelopmentand maturation.Sem Fet Neonat 2006;11(4): 227-231.

นิตยา สนปรุ. ผลของการห่อตัวตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อลดความปวดจากการเจาะเลือด บริเวณส้นเท้าในทารกแรกเกิด.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลเด็ก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล;2550.

เอื้องดอย ตันฑพงศ์. ผลของการห่อตัวต่อการตอบสนองต่อความเจ็บปวดจาการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารก คลอดครบกำหนด.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเด็ก.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2543.

สุรีทร ส่งกลิ่น. ผลของการนวดสัมผัสทารกต่อความปวดของทารกแรกเกิดที่ได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ ส่วนปลาย.ใน: การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: หน้า 212-222.

สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. นมแม่ลดความปวดให้ลูกได้จริง.ใน: มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยร่วมกับนักวิชาการ. นมแม่ แน่ที่สุด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไอยรา;2557. หน้า 35-43.

Steven B, Yamada J, Beyene J, Gibbins S, Petryshen P,Stinson J, et al. Consistent mamagment of repeated procedure pain with sucrose in preterm neonates: is it effective and safe for repeated use over time? Clin.J. Pain 2005;21(6):543-8.

Prasopkittikun T, Tilokskulchai F, Management of pain from heel stick in neonates: an analysis of research conducted in Thailand. J Perinat Neonat Nurs 2003;19:304-12.

Harrison D, Beggs S, Steven B. Sucrose for procedural pain management in infants. Pediatrics 2012;130(5):918-25.

Gradin M, Schollin J. The role of endogenous opioids in mediating pain reduction by orally administered glucose among newborns. Pediatrics 2005;115(4):1004‐7.

Codipietro et al.,.Breastfeeding or Oral Sucrose Solution in Term Neonates Receiving Heel Lance. October 2008.PEDIATRICS 122(3):e716-21

อัจฉรา พิทักษ์ศิลป์.ผลของการบรรเทาปวดแบบไม่ใช้ยาต่อระดับความเจ็บปวด อัตราการเต้นของหัวใจและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ได้รับการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า.วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเด็ก. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล;2541.

ยุพพงค์ เดชัย,นิลศรี ฐิติโภคาและบัวหลัน มีช านะ.ให้ทารกเกิดก่อนก าหนดได้รับ 24% ซูโครสทางปากเพื่อลดความ เจ็บปวดขณะแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal ปี 2558, January-June ปีที่: 7 ฉบับที่ 1 หน้า 1-12

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28