การศึกษาผลของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมสตรีกลุ่มเสี่ยงสูง อายุ 30-70 ปี ด้วยแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในปี พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมสตรี กลุ่มเสี่ยงสูง อายุ 30-70 ปี ด้วยแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีกลุ่มเสี่ยงสูง มะเร็งเต้านม จำนวน 166 ราย การคัดเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาดำเนินการเดือน มกราคม 2560 - กุมภาพันธ์ 2560 ขั้นตอนการศึกษาดังนี้ สตรีตรวจเต้านมด้วยตนเองแล้วสงสัยพบ อสม.หรือ นสค. ตรวจเต้านมซ้ำโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พบความผิดปกติ ส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่าย โรงพยาบาลแม่ข่ายจัดบริการตรวจคัดกรองที่ซับซ้อนมากขึ้นด้วยวิธีด้วยแมมโมแกรม ร่วมกับอัลตราซาวด์ ประกอบการตัดสินใจและจัดบริการที่เหมาะสมกับผู้รับบริการต่อไป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าต่ำสุด-สูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงมีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.78 มีอาชีพรับราชการร้อยละ 57.83 รองลงมาเป็นอาชีพค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 25.90 มีรายได้เฉลี่ย 360,843 บาทต่อปี มีประจำเดือนร้อยละ 53.61 หมดประจำเดือน ร้อยละ 46.39 สถานะภาพสมรสร้อยละ 71 โสด ร้อยละ 16.87 มีประวัติการผ่าตัดบริเวณเต้านมร้อยละ 24.10 มีประวัติ ในครอบครัวหรือเครือญาติเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 7.83 มีประวัติการรับฮอร์โมนร้อยละ3.61จากการตรวจคัดกรองด้วย วิธีแมมโมแกรม (Mammography) ตรวจพบสิ่งที่มีได้ตามปกติธรรมชาติในเต้านมมนุษย์(BIRADS 2) คิดเป็นร้อยละ 56.02 จำแนกเป็นหินปูนจำนวน 78 ราย และ เป็นถุงน้ำจำนวน 15 ราย ตรวจพบสิ่งที่สงสัยว่าผิดปกติ(BIRADS 4) จำนวน 2 ราย คิดเป็น ร้อยละ 1.21ระดับความพึงพอใจต่อการบริการครั้งนี้อยู่ในระดับสูงมากร้อยละ 85.54 จากการศึกษาครั้งนี้ ได้นำมาสู่การพัฒนากำหนดวิธีปฏิบัติในการจัดบริการสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อมะเร็งเต้านมให้ได้รับ บริการที่เป็นมาตรฐานสากล ช่วยให้ค้นพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
References
America Cancer society. Breast Cancer Facts & Figures; 2015-2016. P 3.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์. แผนการป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งชาติ 2556-2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระราชูปถัมภ์; 2556.p 11,35,40,45.
Hospital – Based Cancer Registry. กรุงเทพฯ. บริษัท พรทรัพย์การพิมพ์ จำกัด 91/24 หมู่ 4 ซอยรามอินทรา 21 ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ; 2560.p 31.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ; หนองคาย : สำนักงานสาธารณสุข. 2559.
World health organization Classification of Tumours. Pathology & Genetics Tumours of the Breast and Female genital organs. IARC Press Lyon; 2003. p.14,17.
วิชัย เอกพลากร. (2559). การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม.วารสารสาธารณสุข; 25(4):p 583.
ภรณี เหล่าอิทธิ, นภา ปริญญานิติกูล. (2016). มะเร็ง: ระบาดวิทยา การป้องกันและแนวทางการคัดกรอง. Chula Med Journal 2560; 60(5) : p 498-505.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของจังหวัด งานบริการผู้ป่วยนอก. [ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560]: แหล่งข้อมูล: จาก www.opdc.go.th/uploads/files/ M_E/Questional_hospital.doc
จารุวรรณ ป้อมกลาง, รัตน์ศิริ ทาโต. (2557). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม ระยะหลังการรักษาครบ. วารสารเกื้อการุณย์ 2557; 21(3) :p 155-167.
พัชนภา ศรีเครือดำและคณะ. (2556). ผลของโปรแกรม การพัฒนาศักยภาพการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนสุรินทร์. วารสารการพยาบาลสาธารณสุขชุมชน 2556; 27(3) :p 71-82.
ปิยะนุช จิตตนูนท์ และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีในเขต เทศบาลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร 2557; 27(2) :P 153-163.
พิมลพรรณ สุวรรณลิขิต. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นมะเร็งเต้านม จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 ; 29(2) :p 277-288.
มาสินี ไพบูลย์ และคณะ. (2556). การส่งเสริมพฤติกรรการตรวจเต้านมด้วยตนเองของบุคลากรสตรี แผนกการ พยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์.ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 82(1) :115-119.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ