การพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการทำหัตถการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เจษฎา ศรีบุญเลิศ แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เสงี่ยม ฉัตราพงษ์ แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม, ความวิตกกังวลและความร่วมมือของผู้ป่วย, , โรคหลอดเลือดสมอง, การทำหัตถการ ฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม ต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการทำหัตถการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการทำหัตถการฉีดสารทึบ รังสีเข้าหลอดเลือดสมองครั้งแรก ณ หน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แบบ กลุ่มเดียววัดก่อนหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก หรือสมัครใจ (Convenient sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างเดียววัดผลก่อนและหลัง ดำเนินการในช่วง ระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบประเมินความร่วมมือ และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือรูปแบบการให้ข้อมูลเตรียม ความพร้อมสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการทำหัตถการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่าง ค่าคะแนนเฉลี่ยของความวิตกกังวล ด้วยสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังใช้รูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม gif.latex?\bar{X}= 29.43, S.D. = 3.33 น้อยกว่า ก่อนใช้รูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม gif.latex?\bar{X}= 67.43 S.D. = 4.18 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความร่วมมือการตรวจรักษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมความร่วมมือในการทำหัตถการฉีดสารทึบรังสีเข้า หลอดเลือดสมองอยู่ในระดับสูงมากที่สุด ร้อยละ 90 ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า รูปแบบให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการทำหัตถการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดสมองสามารถลดความวิตกกังวลและส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้ความร่วมมือ ในการทำหัตถการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดสมองได้จริง

References

Imsuk K. Effect of Multidiscliplinary Development Care Model in Patients with Stroke at Chao Phya Abhaibhubejhr. Journal of Nurse Association of Thailand. North-Eastern Devision 2011; 29(3): 15-24.

Christman, N.J., Faan, Oakley, M.G., & Cronin, S.N. Developing and Using Preparatory Information for Women Undergoing Radiation Therapy for Cervical or Uterine Cancer. ONF 2001; 28(1): 93-98.

McDonnell, A. A systematic review to determine the effectiveness of preparatory information in improving the outcomes of adult patients undergoing invasive procedures. Clinical Effectiveness in Nursing 1999; 8(3): 4-13.

ลดาวัลย์ อาจหาญ. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดทาง หน้าท้อง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.

สุรศักดิ์ พุฒิวนิชย์. การวิเคราะห์เมตาเกี่ยวกับวิธีการพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยศัลยกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

อุราวดี เจริญไชย. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับวิธีการ ความรู้สึกและคำแนะนำสิ่งที่ควร ปฏิบัติต่อความวิตกกังวล ความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2541.

ลิกิจ โหราฤทธิ์. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโรคระบบ ทางเดินอาหาร (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

งามพิศ ธนไพศาล. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดและดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและ ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการวางสายล้างไตทางหน้าท้องชนิดถาวร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

มัณฑนา สังคมกำแหง. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศูนย์หัวใจ สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Christman, N.J., Faan, & Cain, L.B. The Effects of Concrete Objective Information and Relaxation on Maintaining Usual Activity During Radiation Therapy. Oncology Nursing Forum 2004; 31(2): 39-45.

เยาวลักษณ์ สีหะวิมล. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดแผลที่เท้าต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

Philippe, F., Meney, M., Larrazet, F., Ben, A., F., Dibie, A., & Meziane, T. et al. Effects of video information in patients undergoing coronary angiography. Arch Mal Coeurvaiss 2006; 99(2): 95-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29