การพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเห็น อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ, ผู้พิการทางการเห็นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเห็น อำเภอเมือง จังหวัด นครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเห็น จังหวัดนครพนม ใช้กระบวนการ พัฒนาตามหลักการของ Deming ในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ผ่านขั้นตอน PDCA (Plan-Do-Check-Act) มี 4 ขั้นตอน ศึกษาในผู้พิการทางการเห็น ของจังหวัดนครพนม ที่มีคุณสมบัติและลักษณะตามที่กำหนดไว้ มีความสมัครใจและยินดีเข้าร่วม ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวทางปฏิบัติในการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเห็นโดยใช้ แนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพฟื้นฟูสมรรถภาพคนตาบอดด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (Orientation & Mobility หรือ O&M) และแบบประเมินที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ดำเนินการศึกษาในระหว่างเดือน กรกฎาคม 2558 - พฤษภาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 50.88 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 54.82 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัว ร้อยละ 82.46 ด้านการประกอบอาชีพส่วนใหญ่ไม่มี อาชีพ ร้อยละ 70.17 และพบเป็นผู้มีความพิการทางการเห็นภายหลังกำเนิด ร้อยละ 88.60 โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุจากต้อหิน ต้อกระจก ร้อยละ 92.54 ความเป็นไปได้ของการใช้แนวปฏิบัติในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการทางการเห็น พบว่า ภายหลังการเข้ารับการ อบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความเป็นไปได้ของการใช้แนวปฏิบัติในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการทางการเห็น อยู่ในระดับ สูง (= 3.91, SD = 0.32) เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อยู่ในระดับต่ำ( = 2.19, SD = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ด้านความพึงพอใจของผู้พิการทางการเห็นหลังเข้ารับการอบรม โดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก ( = 3.62, SD = 0.14) และด้านความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, SD = 1.49) อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาแนวปฏิบัติในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเห็น อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สามารถเพิ่มศักยภาพของผู้พิการทางการเห็นได้จริง ลดภาระครอบครัวชุมชน และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดควรส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตามบริบทการให้บริการจึงจะประสบผลสำเร็จและเกิดความยั่งยืนต่อไป
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ฐานข้อมูลหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554; 2554.
สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการ ทางการแพทย์ฝ่ายกาย. (ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจากัด; 2547.
ศศิธร ศวิภัทรพงษ์. กระบวนการสร้างคุณภาพชีวิตของผู้พิการในชุมชนสุขภาวะ (รายงานการค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติคนพิการปี 2550 สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2553. 2552. จาก
http://www.braille-cet.in.th/Braille-CET/index.php?option=com_content&view=article&id=401%3A2552&cat id=41%3A2009-07-26-11-12-13&Itemid=69
WHO. CBR A Strategy for Rehabilitation, Equalization of Opportunities, Poverty Reduction and Social Inclusion of People with Disabilities. Joint Position Paper: 2004; 1-3.
ถนอม วัฒนานิยม. โปรแกรมฝึกการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการ ทางการเห็น (รายงานการค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.
วัชรีกร ภิมาลย์ และคณะ. ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพคนตาบอดด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และ การเคลื่อนไหว (รายงานการค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.
สุริยันต์ ปัญหาราช. ประสิทธิผลการฝึกทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวสำหรับ คนพิการทางการเห็นในจังหวัดหนองบัวลำภู. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2558: 52(2); 60-64.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ข้อมูลสถิติการจดทะเบียนคนพิการ. กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์; 2550.
American Foundation for the Blind (AFB). เทคนิคการปฐมนิเทศและการเคลื่อนไหว: คู่มือสำหรับครูสอน คนตาบอด [Orientation and mobility techniques: Handbook for the teacher of the blind]. Bangkok: American Foundation for the Blind; 1998.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ