การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • อัศวิน เรืองมงคลเลิศ กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลนครพนม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก และความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อก่อโรค กับลักษณะต่างๆ ของผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลนครพนม แผนก โสต ศอ นาสิก วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) ของผู้ป่วยที่มีภาวะ อักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลนครพนม ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 จนถึง 31 ธันวาคม 2558 จำนวน 188 ราย โดยการรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน เช่น เพศ อายุ ตำแหน่งการติดเชื้อ สาเหตุการติดเชื้อ ผลการตรวจเพาะเชื้อ ภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อก่อโรคกับลักษณะต่างๆของผู้ป่วยด้วยสถิติ Chi-Square test และ Fisher’s Exact Test ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 188 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 59 อายุ 3 เดือน ถึง 89 ปี อายุเฉลี่ย 45 ปี ส่วนเบี่ยงเบน ควอร์ไทล์ (S.D.) 23 ปี พบมากสุด ช่วงอายุ 51-60 ปี (ร้อยละ 19.1) มีโรคประจำตัว ร้อยละ 35.1 โดยส่วนใหญ่เป็นความดัน โลหิตสูง ร้อยละ 20.2 รองลงมาคือ โรคเบาหวาน ร้อยละ 17.6 อาการและอาการแสดงแรกเริ่ม ส่วนใหญ่พบปวดบวมบริเวณลำคอ หรือใบหน้า ร้อยละ 79.8 ตำแหน่งการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก พบมากที่สุดบริเวณ Parotid space ร้อยละ 24.5 รองลงมาคือ บริเวณ Submandibular space ร้อยละ 19.7 ไม่ทราบสาเหตุ ร้อยละ 39.9 โดยส่วนที่พบสาเหตุเกิดจากฟัน ร้อยละ 29.8 เชื้อสาเหตุก่อโรคมากที่สุดคือ Klebsiella pneumoniae ร้อยละ 6.0 รองลงมาคือ Burkholderia pseudomallei ร้อยละ 5.1 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ตำแหน่งการติดเชื้อบริเวณ Parapharyngeal space และโรคความดันโลหิตสูง มี ความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ Klebsiella pneumonia อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.041และ 0.037 ตามลำดับ ) และพบว่า การติดเชื้อบริเวณ Parotid space มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ Burkholderia pseudomallei อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P-value = 0.00) พบภาวะทางเดินหายใจอุดตัน และได้รับการเจาะคอช่วยหายใจ 4 ราย (ร้อยละ 2.1), ติดเชื้อ ในกระแสเลือด 11 ราย (ร้อยละ5.9), การอักเสบของMediastinum 2 ราย (ร้อยละ 1.1), และเสียชีวิต 2 ราย (ร้อยละ 1.1) สรุป : จากการศึกษาการติดเชื้ออักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลนครพนม พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากฟันผุ ตำแหน่งการติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุด คือ Parotid space พบมีผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย ดังนั้นการให้การวินิจฉัยและ ให้การรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วอาจลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย และการป้องกันโดยการให้ความรู้เกี่ยวกับ สุขภาพช่องปากและฟัน อาจช่วยลดอุบัติการณ์การติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโรงพยาบาลนครพนม

References

Oliver ER, Gillespie MB. Deep neck infections. In : Flint PW, Haughey BH, Lund VJ, et al, eds. Cummings otolaryngology head & neck surgery, 5th ed. Philadelphia: Mosby Elsevier; 2010. p.201-8.

รัศมี ซึ่งเถียรตระกูล. การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช [งานวิจัยเพื่อ วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา]. กรุงเทพฯ; 2550.

พัชรินทร์ วัชรินทร์ยานนท์. การศึกษาภาวะติดเชื้อของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 2557;29:32-42.

บุศราภรณ์ ลีวิริยะพันธ์. การติดเชื้อในเนื้อเยื่อบริเวณศีรษะและลำคอที่โรงพยาบาลลำปาง. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2548; 2: 91-100.

วิชาญ จงประสาธน์สุข. การศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอ 127 รายในโรงพยาบาลน่าน. ลําปางเวชสาร 2554; 32:42-50.

Sakarya EU, et al. Clinical features of deep neck infection: analysis of 77 patients. Kulak Buran Bogaz Ihis Derg [Internet]. 2015 [cited 2017 Sep 12];25:102-8. Available from: http://www.kbbihtisas.org/ v02/eng/jvi.php?pdir=kbbihtisas&plng=eng&un=KBBI-76500&look4=

Olejniczak I, et al. Deep neck infections-still important diagnostic and therapeutic problem [In¬ternet]. 2016 [cited 2017 Sep 12];70:25-30. Available from: http://europepmc.org/abstract/med/27386830

Coticchia JM, Getnick GS, Yun RD, Arnold JE. Age, site, and time specific differences in pediatric deep neck abscesses. Arch Otolaryngol hneck surgery 2004; 130:201-7

จักรพงศ์ คล้ายคลึง, ลลิดา เกษมสุวรรณ, บุญชู กุลประดิษฐารมณ์. Deep neck abscess: clinical review in Ramathibodi Hospital. วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า 2000;1:43-7.

ชูเกียรติ วงศ์นิจศีล. การศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อและมีฝีหนองของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอในโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่นเวชสาร 2551;32:5-12.

ฐิติมา วงศ์วิชิต. การติดเชื้อในเนื้อเยื่อบริเวณศีรษะ และคอในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2551; 11:5-11.

บุญชัย วิรบุญชัย. การติดเชื้อบริเวณลําคอส่วนลึก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2552;1:173-80.

Yan Qing Lee, Jeevendra K. Deep neck abscesses: the Singapore experience. European Archives of Oto-Rhino-Laryngology [Internet]. 2011 [cited 2017 Sep 14]; 268:609-14. Available from: https://link. springer.com/article/10.1007%2Fs00405-010-1387-8

Salih B., et al. Deep neck infections: a retrospective review of 173 cases. American Journal of Otolaryngology [Internet]. 2012 [cited 2017 Sep 14]; 33:56-63. Available from: http://www.amjoto.com/article/ S0196-0709(11)00025-1/fulltext

Celakovsky P, et al. Bacteriology of deep neck infections: analysis of 634 patients. Australian Dental Journal [Internet]. 2015 [cited 2017 Sep 14]; 60:212-5. Available from: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/adj.12325/abstract;jsessionid=35A89319302AE2DEDB042090F6DCBD22.f04t01

สาธิต ก้านทอง. การศึกษาย้อนหลังอุบัติการณ์และผลการรักษาการติดเชื้อเป็นฝีหนองที่คอและช่องใบหน้า ผู้ป่วย 491 รายที่โรงพยาบาลชัยภูมิตั้งแต่พ.ศ. 2542 – 2550. ขอนแก่นเวชสาร 2551;32:153-64.

Kataria G. Deep Neck Space Infections: A Study of 76 Cases. Iran J Otorhinolaryngo [Internet]. 2015 [cited 2017 Sep 16]; 27:292-9. Available from: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/adj.12325/ abstract;jsessionid=35A89319302AE2DEDB042090F6DCBD22.f04t01

Suehara AB, et al. Deep neck infection - analysis of 80 cases. Braz J Otorhinolaryngol [Internet]. 2008 [cited 2017 Sep 25]. Available from: https://www.researchgate.net/publication/5286791_Deep_neck_ infection_-_Analysis_of_80_cases

Ali Eftekharian, et al. Deep neck infections: a retrospective review of 112 cases. European Archives of Oto-Rhino-Laryngology [Internet]. 2008 [cited 2017 Sep 25]; 266:273-7. Available from: https://link.springer. com/article/10.1007/s00405-008-0734-5

Hidaka H, et al. Clinical and bacteriological influence of diabetes mellitus on deep neck infection: Systematic review and meta-analysis. Head neck [Internet]. 2015 [cited 2017 Sep 25]; 10:1536-46. Available from: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/hed.23776/abstract?globalMessage=0

Limmathurotsakul D, Golding N, Dance D AB, Messina JP, Pigott DM, Moyes CL, et al. Predicted global distribution of Burkholderia pseudomallei and burden of melioidosis. Nature Microbiology 2016; 1(1): 15008. doi:10.1038/nmicrobiol.2015.8

สกุลรัตน์ ศรีโรจน์. ฝีของต่อมน้ำลายพาโรติดจากเมลิออยโดสิสในเด็ก: รายงานผู้ป่วย 3 ราย ที่พบในโรงพยาบาล กาฬสินธุ์. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร [อินเตอร์เน็ต]. 2015 [เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ย.2560]; 21. เข้าถึงได้จาก: http://www.smj. ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1159

ลัดดา ดำริการเลิศ. ฝีของต่อมน้ำลายพาโรติดในโรงพยาบาล บุรีรัมย์. วารสาร หู คอ จมูก และ ใบหน้า 2532;4:167-175.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29