การพัฒนาสมรรถนะทีมพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง โรงพยาบาลวังยาง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • วิวรรธน์ วงศ์ตาขี่ โรงพยาบาลวังยาง

คำสำคัญ:

สมรรถนะทางการพยาบาล, ผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนา (Development Research) เพื่อพัฒนาสมรรถนะทีมพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย จิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง ที่ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลวังยาง จังหวัดนครพนมทั้งหมด 29 คน และผู้ป่วย จิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวังยาง ในช่วง วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ไช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที (Paired simples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า เป็นเพศหญิงมากสุด คือร้อยละ 72.41 อายุเฉลี่ย 28.07ปี (S.D. = 5.20) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 65.52 และสถานภาพโสด ร้อยละ 68.97 ปฏิบัติงานในตำแหน่ง พยาบาล ร้อยละ 68.97 มีประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 5.43 ปี (S.D. = 4.79) มีประการณ์น้อยกว่า 5 ปีถึงร้อยละ 62.07 2. ด้านความรู้ความเข้าใจ เรื่องพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยจิตเภท และการจัดการของบุคลากร พบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ย ก่อนการอบรม เท่ากับ 16.66 (S.D. = 2.14 ) และคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรม เท่ากับ 22.10 (S.D. = 2.45) เมื่อเปรียบเทียบ ระดับคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนและหลังการอบรม พบว่า ระดับคะแนนความรู้เฉลี่ยหลังการอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ 3. ด้านทัศนคติ พบว่า บุคลากรทีมพยาบาลมีการพัฒนาด้านทัศนคติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อการปฏิบัติงานในทาง ที่ดีขึ้น เปิดเผยตนเอง และตระหนักในความเป็นตนเองมากขึ้น มีความรู้สึกไว้วางใจซึ่งกันและกัน สามารถบอกกล่าวความรู้สึก ต่างๆ ให้ผู้อื่นรับรู้ได้ เปลี่ยนทัศนคติและพร้อมจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น 4. ด้านทักษะ พบว่า ทีมพยาบาลมีทักษะในการจัดการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง โดยใช้กลยุทธ์การป้องกัน และการจัดการพฤติกรรมรุนแรงตามระดับความรุนแรงได้อย่างเหมาะสม โดยใช้ทักษะในการดูแลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง ระดับต่างๆ ดังนี้ 4.1 ทีมพยาบาลใช้กลยุทธ์การป้องกันในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง ระดับ 1 โดยการสอนให้ความรู้ ช่วยทำให้ผู้ป่วย สามารถเลือกการเผชิญปัญหาได้อย่างเหมาะสม ช่วยป้องกันการเกิดพฤติกรรมรุนแรงได้ 4.2 ทีมพยาบาลใช้กลยุทธ์การจัดการและการสกัดกั้นในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง ระดับ 2 โดยใช้ทักษะการสื่อสาร เพื่อการบำบัดมากที่สุด และในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง ระดับ 3 ใช้วิธีการฉีดยามากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ทักษะการสื่อสาร เพื่อการบำบัดและการผูกมัด 5. ด้านผู้ป่วย ผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการประเมินระดับพฤติกรรมรุนแรง จำนวน 7 คน ประกอบด้วย มีพฤติกรรมรุนแรง ระดับ 1 จำนวน 3 คน มีพฤติกรรมรุนแรง ระดับ 2 จำนวน 2 คน และมีพฤติกรรมรุนแรง ระดับ 3 จำนวน 2 คน ผู้ป่วยมีความปลอดภัย ทั้งต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่นและทรัพย์สิน จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การให้ความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง โดยผ่านกระบวนการ ทำกลุ่ม ส่งผลให้สมาชิกทีมไม่กลัวเกิดความมั่นใจที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย เกิดความไว้วางใจในทีม สามารถจัดการปัญหา ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เกิดความปลอดภัยทั้งผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ

References

กรมสุขภาพจิต. (2550). ชุดความรู้และแนวทางปฏิบัติเรื่องการวางแผลจำหน่ายผู้ป่วยจิตเภท

กรมสุขภาพสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: ดิจิตอลเวลด์ ก้อปปี้.

กรมสุขภาพจิต. (2551). สถิติรายงาน. นนทบุรี: ศูนย์สุขภาพจิตและศูนย์สารสนเทศ กรมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

จามจุรี อุดรสาร. (2548). การพัฒนารูปแบบการจัดการพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชหญิงหอแรกรับหญิง 1 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ และคณะ. (2543). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยก้าวร้าวรุนแรง. เอกสารประกอบการ ดูแล ผู้ป่วยก้าวร้าวรุนแรงหอผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: โรงพยาบาลศรีนครินทร์.

นพวรรณ เอกสุวีรพงศ์ และนารัต เกษตรทัต. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยใน โรคจิตเภท ณ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 52(4), 412-428.

ปัญญา ทองทัพและกฤตยา แสวงเจริญ. (2556). พฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทและการจัดการพฤติกรรมรุนแรง ของครอบครัว.วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4) 121-127

พิเชฐ อุดมรัตน์และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2552) ตำราโรคจิตเภท. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

ละเอียด ปานนาค และสิรินภา จาติเสถียร. (2555). การพัฒนาโปรแกรมการเผชิญปัญหาของผู้แลด้านการจัดการดูแล ผู้ป่วยจิตเภททีมีพฤติกรรมรุนแรง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(2), 16-29.

วาสนา สุระภักดิ์. (2552). การพัฒนาสมรรถนะทีมพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรง หอผู้ป่วย จิตเวช โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและ จิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์. (2554). บทความฟื้นฟูวิชาการการพยาบาลผู้ป่วยที่พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง. วารสาร สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 5(1), 35-45.

เวนิช บุราชรินทร์. (2554). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์สารสนเทศ กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต. (2555).

รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ2555. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.

American Psychiatric Association. (2005). Diagnostic and Statistical manual of mental disorders (4th ed.). TextRevision. Washingtion, DC: Author.

Barlow, K., Granyer, B. & Ilkiw-Lavalle, O. (2000). Pravalence and precipitants of aggression in psychi¬atric inpatient units. Australian and New Zealand Journal of Psychiatry, 34(1), 967-974.

Buchanan, R.W., & Carpenter, W.T. (2005). Concept of schizophrenia. In B.J Sadock, & V.A. Sadock, E.d, Kaplan & Sadock, S. Comprehensive textbook of psychiatry (8 ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Cherry, A.L., Dillon, M.E., Hellman, C.M. (2007). 1 The AC-COD Screen: Rapid Detection of People With the Co-Occurring Disorder of Substance Abuse, Mental Illness, Domestic Violence, and Trauma. Journal of Dual Diagnosis, 4(1), 35-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-30