ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชะลอไตเสื่อม ของผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง ที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 1 ถึง 3 ตำบลดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ชลาภัทร คำพิมาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงขวาง
  • พัฒนชัย รัชอินทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงขวาง

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โรคไตเรื้อรัง, การชะลอไตเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) แบบกลุ่มเดี่ยว (One group pretest – posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบล ดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ทำการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 1 ถึง 3 จำนวน 50 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าตามโดยกำหนดคุณสมบัติในเขตตำบลดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย สถิติ Paired t-test ผลของการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 74 ส่วนใหญ่สำเร็จ การศึกษาระดับประถมศึกษาขึ้นไป จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 96 สถานภาพสมรส จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 64 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 3,000บาท จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 74 การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ เกษตรกรรม 34 คน คิดเป็น ร้อยละ 68 โรคประจำตัวคือโรคเบาหวาน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 70 (2) ความรู้เกี่ยวกับโรคไต มีคะแนนความรู้ก่อนการได้รับ โปรแกรมอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 36 หลังการทดลองพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้น (p-value < 0.001) (3) พฤติกรรม การดูแลสุขภาพตนเองมีคะแนนการดูแลตนเองก่อนการได้รับโปรแกรมอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 63 หลังการได้รับโปรแกรม มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับดี ร้อยละ 92 (p-value < 0.001) (4) การทํางานของไต eGFR กลุ่ม ตัวอย่างมีระดับการทำงานของไต eGFR ก่อนการได้รับโปรแกรม การทำงานของไต GFR ลดลงปานกลางระดับ 3 ร้อยละ 24 และการทำงานของไตผิดปกติหรือ GFR ลดลง ระดับ 2 ร้อยละ 50 หลังการได้รับโปรแกรมมีระดับการทำงานของไตปานกลาง ระดับ 3 ลดลงหรือคงที่ ร้อยละ12 และการทำงานของไตผิดปกติหรือ GFR เพิ่มขึ้น ระดับ 2 เป็นร้อยละ 60 เมื่อเปรียบเทียบ ระดับการทำงานของไตก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการทํางานของไต eGFR เพิ่มขึ้นในทางที่ดี (p-value < 0.001)

References

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงาน ลดโรคไตวายเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (CKD Preventionproject 2559). เอกสารประกอบการ ประชุม วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558. สืบค้น จาก www.slideshare.net/KamolKhositrangsikun/ckd-2559

ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ. (2556). ความรู้เรื่องโรคไตสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทเฮลธ์เวิร์คจำกัด.

ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ. (2559). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรังและแนวทางการคัด กรอง.โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. 25 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นจาก www.brkidney.org/

สกานต์ บุญนาค. (2558). แนวทางการ implement NCD และ CKD clinic แบบบูรณาการ. กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ สืบค้นจากwww.sawanghospital.com/sawang/count.php?id=428

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.(2558). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังก่อนบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. สืบค้น จาก www.nephrothai.org/สาระความรู้เรื่องโรคไต/12-2558

สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ สมเกียรติ์โพธิสัตย์ จักรกริช โง้วศิริ สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย.(2555). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เอกสารการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลชุมชน. สืบค้น จากwww.thaincd.com/docu¬ment/file/.

นันธิญา พันอินากูล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย. 2553

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-30