ภาวะแทรกซ้อนของการระงับความรู้สึกโดยฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง ในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดในรพ.ชุมแพ

ผู้แต่ง

  • น้ำผึ้ง สุคันธรัต กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลชุมแพ

คำสำคัญ:

ภาวะแทรกซ้อน, การให้ยาระงับความรู้สึกโดยฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง, ผ่าตัดคลอด

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ในปัจจุบันการผ่าตัดคลอดมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นซึ่งวิธีการระงับความรู้สึกที่นิยมใช้คือการระงับความรู้สึก โดยฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง(spinal anesthesia) ร่วมกับยาแก้ปวด เพื่อลดความเสี่ยงจากการดมยาสลบ เช่น การใส่ท่อ ช่วยหายใจยาก แต่การระงับความรู้สึกโดยฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังสามารถเกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลชุมแพ, จังหวัดขอนแก่น วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort study) มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลข้างเคียงและภาวะ แทรกซ้อนของการให้ยาระงับความรู้สึกโดยความรู้สึก โดยการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอด ตั้งแต่เดือน มกราคม 2542 ถึงเดือน สิงหาคม 2558 โดยการทบทวนประวัติการรักษาและผ่าตัดของผู้ป่วยและข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของ ผู้ป่วย(อายุ, เพศ, น้ำหนัก, ส่วนสูง, physical status),โรคประจำตัวและปัญหาสุขภาพก่อนผ่าตัด ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ข้อมูล ระหว่างการผ่าตัด ชนิดของการผ่าตัด ปริมาณสารน้ำที่ได้ระหว่างผ่าตัด ชนิดของยากระตุ้นความดันโลหิต และ ยาคลายกังวล ความ ดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ปริมาณเลือดที่เสียขณะผ่าตัด ระดับการชา ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการให้การระงับ ความรู้สึก ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตต่ำ สถิติที่ใช้ : แบบพรรณนาแสดงในรูปจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา : ผู้หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดจำนวน 1,300 คน ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดโดยวิธีการระงับความรู้สึกโดยฉีดยาชา เข้าช่องน้ำไขสันหลังในโรงพยาบาลชุมแพทั้งหมด จากผู้หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 1,300 คน พบอุบัติการณ์การเกิดความดันโลหิตต่ำ908 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.9 ภาวะหนาวสั่นจำนวน 95 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.13 ภาวะคลื่นไส้และอาเจียนร้อยละ 6.46 และ 6.77 ตามลำดับ และอาการคัน (ร้อยละ 6.15) พบภาวะhigh block จำนวน 1 ราย ไม่พบอาการปวดหลังและภาวะกด การหายใจ สรุป : ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดจากการระงับความรู้สึกโดยฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับยามอร์ฟีนใน หญิงตั้งครรภ์ที่มาผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลชุมแพ คือความดันโลหิตต่ำและ ภาวะแทรกซ้อนรองลงมาที่พบได้ คืออาการหนาว สั่น และคลื่นไส้อาเจียนตามลำดับ การหาสาเหตุ แนวทางป้องกัน เฝ้าระวัง และลดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะความดันโลหิตต่ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงพยาบาลชุมแพและควรมีการศึกษาต่อไป

References

Labor Nl. Interrupted Cesareans, “cascading interventions,” and finding a balance of sensible care Harvard Magazine 2012 November - December 22-6.

Pitchya Ohpasanon MD TCM, Patcharee Sriswasdi MD, Siriporn Srichu MD. Prospective Study of Hypotension after Spinal Anesthesia for Cesarean Section at Siriraj Hospital: Incidence and Risk Factors, Part 2. J Med Assoc Thai 2008;91:75-80.

W C-I. New trend Anesthesia for cesarean section. Srinagarind medical journal 2005; 20:1-12.

Pranom Ruengchotsatien BNS. Development of Clinical Practice Guideline for the Prevention of Hypotension during Spinal Anesthesia for Cesarean Section in Anesthetic Department, Surin Hospital. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2556;28:81-91.

Lawrence C. Tsen M. Anesthesia for Cesarean Delivery. In: Chestnut DH, ed. Chestnut’s obstetric anesthesia Fifth edition ed2014:545-93.

Afolabi BB LF, Merah NA. Regional versus general anaesthesia for caesarean section (Review). Cochrane Library 2007:1-44.

DG. B. Predicting spinal hypotension during Caesarean section. Southern African Journal of An aesthesia and Analgesia 2014; 20:170-3.

อนุวัธนวิทย์ ช. การศึกษาผลการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดใน โรงพยาบาลตราด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2012 Apr. - Jun.; 29:129-32.

พนาวรรณ จันทรเสนา มค, อรวรรณ แสงมณี. ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังใน มารดาผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลคัดสรรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556 ตุลาคม - ธันวาคม;1:105-16.

พ.บ. ปส. ภาวะความดันโลหิตต่ำภายหลังได้รับการฉีดยาเข้าช่องไขสันหลังของผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า. วิสัญญีสาร 2554 มกราคม - มีนาคม;37:18-25.

ปราการรัตน์. ศพอ. ตำราวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ เอ-พลัส พริ้น 2556.

Thitima Chinachoti MD, Soomboon Saetia, M.D., Peeraya Chaisiri, M.D., Thara Tritrakarn, M.D. Incidence and Risk Factors of Hypotension and Bradycardia During Spinal Anesthesia. Siriraj Med J 2006; 58: 696-701.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-30