ผลลัพธ์ของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โดยการใช้แนวทางดูแลรักษา ผู้ป่วยโรคสมองเฉียบพลันและแนวทางการให้ยาละลายลิ่มเลือดของโรงพยาบาลชุมแพ
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน, การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำบทคัดย่อ
ความเป็นมา : โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเป็นโรคที่มีความสำคัญในปจจุบัน เนื่องจากเป็นโรคที่กอใหเกิดภาวะ ทุพพลภาพและเสียชีวิตสูง แต่หากผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วและทันเวลาจะทำให้ผู้ป่วยภาวะทุพพลภาพและ เสียชีวิตลง ในปัจจุบันมีการรักษาภาวะหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันโดยในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำซึ่งได้รับ การศึกษาจากหลายสถาบันว่ามีประสิทธิภาพที่ดีถ้าได้รับภายเวลาที่กำหนด วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลลัพท์ของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมแพ โดยการใช้ แนวทางดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมองเฉียบพลันและแนวทางการให้ยาละลายลิ่มเลือดของโรงพยาบาลชุมแพ สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลชุมแพ วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study) ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึง กันยายน 2559 เก็บข้อมูลผู้ป่วย372ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยโรค หลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มาเข้ารับการรักษา โรงพยาบาลชุมแพ บันทึกอัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือด, National Institutes of Health Stroke Scale (NIHSS) แรก รับ, เวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉินจนได้รับยา (door to needle time), เวลาตั้งแต่เริ่มมี อาการจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด (onset to treatment time), เวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉินจนได้ถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์สมอง (door to CT time), เวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉินจน ได้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ (door to LAB time), การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ ยาโดยเฉพาะภาวะเลือดออกในสมอง และ การเสียชีวิตในโรงพยาบาลหลังได้รับยา สถิติที่ใช้ : แบบพรรณนาแสดงในรูปร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเข้าระบบ Stroke Fast Track จำนวน 372 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันจำนวน 110 ราย (ร้อยละ 72.85) และได้ รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำจำนวน 40 ราย (ร้อยละ 36.36%) ค่าเฉลี่ย National Institutes of Health Stroke Scale (NIHSS) แรกรับก่อนให้ยาละลายลิ่มเลือดเท่ากับ 8, เวลาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มมีอาการจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด 145.70 นาที, มีผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 95 ที่ใช้เวลาเฉลี่ยตั้งแต่รับผู้ป่วย ที่แผนกฉุกเฉินจนได้รับยาน้อยกว่า 30 นาที, ผู้ป่วยร้อยละ 77.95 ใช้เวลาเฉลี่ยน้อยกว่า 30 นาที ตั้งแต่รับผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉิน จนได้ถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์สมอง( CT SCAN) และผู้ป่วยร้อยละ 95 ได้รับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการภายในเวลาน้อยกว่า 30, จำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาโดยเฉพาะภาวะเลือดออกในสมอง ร้อยละ 7.5 และไม่พบว่ามีผู้ป่วย เสียชีวิตในโรงพยาบาลหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและผู้ป่วยเกือบทั้งหมดได้รับการฟื้นฟูสมรรถนะ ก่อนกลับบ้าน สรุป : ระบบการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยใช้แนวทางดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมองเฉียบพลัน และแนวทางการให้ยาละลายลิ่มเลือดของโรงพยาบาลชุมแพ มีผลลัพท์ที่ใกล้เคียงกับสถาบันอื่นที่ทำการศึกษามาก่อนหน้านี้ โดยการทำให้ผู้ป่วยตระหนักถึงอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันตลอดจนการมีระบบการดูแลรักษาที่รวดเร็วจะทำให้ ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำที่เร็วขึ้น ส่งผลให้ความพิการและการเสียชีวิตจากโรคลดลงตามมาอีกด้วย
References
World Stroke Campaign. [Online].; 2017 [cited 2017 May 13. Available from:
http://www.worldstrokecampaign.org/about-the-world-stroke-campaign/why-act-now.html.
กลุ่มรายงานมาตรฐาน การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สําคัญ กระทรวงสาธารณสุข. [Online].; 2017 [cited 2017 May 13. Available from:
https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180ee d7d1ce0155e11.
ดิษยา รัตนากร, ชาญพงค์ ตังคณะกุล, สามารถ นิธินันทน์, นิจศรี ชาญณรงค์ สุวรรณเวลา, สุชาติ หาญไชยพิบูลย์กุล, ยงชัย นิละนนท์. Current Practical guide to Stroke Management กรุงเทพฯ: สวิชาญการพิมพ์; 2554.
Group TNIoNDaSrPSS. Tissue Plasminogen Activator for Acute Ischemic Stroke. N Engl J Med. 1995 December; 333(24): p. 1581-1588.
Group TNtPSS. Intracerebral hemorrhage after intravenous t-PA therapy for ischemic stroke. Stroke. 1997 November; 28(11): p. 2109-18.
Fagan SC , Morgenstern LB , Petitta A , Ward RE , Tilley BC. Cost-effectiveness of tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. NINDS rt-PA Stroke Study Group. Neurology. 1998 Apr; 50(4): p. 883-90.
นพมณีจํารัสเลิศ งานพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. [Online].; 2017 [cited 2017 May 13. Available from: www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd/admin/news_files/470_18_5.doc.
Hospital CN. Chiangmai Neurological Hospital. [Online].; 2014 [cited 2017 May 13. Available from: http://www.cmneuro.go.th/TH/load/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0 %B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/r57-1.pdf.
ศิโรตม จันทรักษา, สมศักดิ์ เทียมเก่า, กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ. Stroke Management in Accidental and Emergency Department in Srinagarind Hospital. North-Eastern Thai journal of neuroscience. 2012 october; 7(4).
Suwanwela NC, Phanthumchinda K, Suwanwela N, Tantivatana J, Janchai A. Thrombolytic treatment for acute ischemic stroke: a 2 year-experience at King Chulalongkorn Memorial Hospital. J Med Assoc Thai. 2001 Jun; 84(1): p. S428-36.
สุรกิจ ยศพล, ชลิตา ไชยศิริ , พชรวรรณ คูสกุลรัตน์ , จริยา ปากดี. แผนกกลยุทธ์การพัฒนา ระบบบริการสุขภาพ เขตบริการสุขภาพที่ 7 ปี 2558. 1st ed. ขอนแก่น: บริษัท เพ็ญปริ้นติ้ง จํากัด; 2557.
Jauch EC, Saver JL, Adams P, Bruno. Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke. Stroke. 2013 March; 44: p. 870-947.
เวชภัณฑ์เภสัช ส. ประสิทธิภาพของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยการสร้าง ระบบเครือข่าย และแนวทางการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดํา. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2554 กันยายน-ธันวาคม; 26(3): p. 353-366.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น หภค. พัฒนางาน CT Brain in Stroke Fast Track โรงพยาบาลศรี นครินทร์. North-Eastern Thai journal of neuroscience. 2012 July; 7(3): p. 292-3.
กนกวรรณ วัชระศักดิ์ศิลป์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร (Stroke Network) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียง ใหม. Journal of Thai Stroke Society. 2015 January; 14(1): p. 23-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ