ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • ชรินพร พนาอรุณวงศ์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิด, ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดปอดสูง ที่เข้ามารับการ รักษาในโรงพยาบาลนครพนมในระหว่างเดือนเมษายน 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม 2560 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ข้อมูลทั่วไป ลักษณะทางคลินิก การรักษา ภาวะแทรกซ้อน ผลการรักษา และอัตราการเสียชีวิต ผลการศึกษา พบความชุกของทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดปอดสูง 1.12 – 2.96 ต่อการเกิด 1,000 มีชีพ ทารก ที่ถูกวินิจฉัยทั้งหมด 32 รายเป็นเพศชาย 19 ราย (59.40%) เชื้อชาติไทย 28 ราย (87.50%) คลอดโดย วิธี normal labour มากที่สุดคือ 18 ราย (56.20%) ทารกถูกส่งตัวจากโรงพยาบาลชุมชน 13 ราย (40.60%) โดยมีอายุเฉลี่ยตอนที่มาถึงโรงพยาบาล นครพนม คือ 5.17 ชั่วโมง อายุครรภ์เฉลี่ย 40.42 ± 2.56 สัปดาห์ มี น้ําหนักเฉลี่ยแรกเกิด 3,243.13 ± 665.72 กรัม Apgar score เฉลี่ยที่ 1, 5 และ 10 นาที คือ 6.42 ± 3.12, 7.90 ± 2.55 และ 8.50 ± 2.36 ตามลําดับ อายุที่เริ่มมีภาวะ PPHN คือ 6.19 (0.33 – 30) ชั่วโมง สาเหตุ หลักที่พบร่วมกับ PPHN มากที่สุดคือ meconium aspiration syndrome (MAS) 78.10% ผู้ป่วยได้รับการดูแลด้านการหายใจโดยใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ CMV โดยมีค่าเฉลี่ย PIP สูงสุดเท่ากับ 17 ± 2.58 ซม.น้ำ PEEP 4.13 ± 0.92 ซม.น้ำmandatory rate 80.65 ± 19.65 ครั้ง ส่วนในรายที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ HFOV มีค่า เฉลี่ย mean airway pressure และ amplitude คือ 18.45 ± 4.96 ซม.น้ำและ 33.40 ± 7.34 ตามลําดับ มีการใช้ NSS ในทารก 29 ราย (90.62%), FFP 23 ราย (71.90%), PRC 12 ราย (37.50%) NaHCO3 10 ราย (31.25%) และยาเพิ่มความดันโลหิต 32 ราย (100%) ขนาดยาเฉลี่ยของ dopamine คือ 17.97 ± 3.99 mcg/kg/min, dobutamine 18.91 ± 3.00 mcg/kg/min, epinephrine 1.48 ± 0.87 mcg/kg/min และ norepinephrine 1.61 ± 0.47 mcg/kg/min นอกจากนี้ยังมีการใช้ MgSO4 5 ราย (15.60%), sildenafil 7 ราย (21.90%), intravenous iloprost 5 ราย (15.60%) และ iloprost + milrinone 1 ราย (3.10%) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ gastrointestinal bleeding 34.40% อัตรา การเสียชีวิตสูงถึง 59.40% และพบว่า กลุ่มที่เสียชีวิตมีค่าความดันโลหิต SBP และ MAP เริ่มต้นสูงกว่ากลุ่มที่ รอดชีวิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) กลุ่มที่ เสียชีวิตมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลสั้นกว่า กลุ่มที่รอดชีวิตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01) กลุ่มที่รอดชีวิต 13 ราย ติดตามพัฒนาการได้ 7 ราย มีพัฒนาการปกติที่อายุ 2 ปี 4 ราย (57.14%) มีพัฒนาการช้า 1 ราย (14.29%) สรุป ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสูด สําลักขี้เทา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ ดังนั้นการพัฒนาความรู้ สมรรถนะของบุคลากร และการพัฒนาระบบ เครือข่ายในการดูแลทารก แรกเกิด ทั้งในด้านการป้องกันและการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดอัตรา การเสียชีวิตได้

References

Walsh MC, tock EK. Persistent pulmonary of newborn: rational therapy base on pathophysiology. Clin Perinatol 2001;28(3):609-627.

Khorana M, Yookaseam T, Layangool T, Kanjanapattanakul W, Paradeevisut H. Outcome of oral sildenafil therapy on persistent pulmonary hypertension of the newborn at Queen Sirikit National Institute of Child Health. J Med Assoc Thai 2011;94 Suppl 3: S64-73.

Nakwan N, Pithaklimnuwong S. Acute kidney injury and pneumothorax are risk factors for mortality in persistent pulmonary hypertension of the newborn in Thai neonates. J Matern Fetal Neonatal Med 2016;29(11):1741-6.

Chotigeat U, Jaratwashirakul S. Inhaled iloprost for severe persistent pulmonary hypertension of the newborn. J Med Assoc Thai 2007;90(1):167-70.

Barbara JS, Robirt MK. Respiratory tract disorders. Nelson textbook of pediatrics 17 th edition 2004;584-6.

Chotigeat U, Khorana M, Kanjanapattanakul W. Outcome of neonates with persistent pulmonary hypertension of the newborn treated with inhaled nitric oxide. J Med Assoc Thai 2002;85(7

Barrington KJ, Finer N, Pennaforte T, Altit G. Nitric oxide for respiratory failure in infants born at or near term. Cochrane Database Syst Rev 2017;5;1:CD000399. doi 10. 1002/14651858. CD000399.pub3.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลนครพนม. รายงานเวชสถิติโรงพยาบาลนครพนมประจําปี 2559. นครพนม : โรงพยาบาลนครพนม; 2560.

Ann R Stark , Eric C Eichenwald. Persistent pulmonary hypertension of newborn. (serial online) (Cite 2017 Mar 14) Available from : URL: // w.w.w. uptodate.com

อุกฤษฎ์ จิระปิติ, วรางคณา มหาพรหม. ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดัน โลหิตในปอดสูงในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2557; 6(1): 57-66.

Joaquim EB, Jaques B. Persistent pulmonary hypertension of the newborn: recent advances in pathophysiology and treatment. J Pediatr (Rio J) 2013;89(3):226-242

อุไรวรรณ โชติเกียรติ, มิรา โครานา, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล, วราภรณ์ แสงทวีสิน, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. ผลการ รักษาความดันหลอดเลือดปอดสูงในเด็กทารก (PPHN) ด้วยเครื่องช่วยหายใจความถี่สูง(HFOV): ประสบการณ์ 5 ปี. วารสาร กุมารเวชศาสตร์ 2546; 42: 1-8.

อุไรวรรณ โชติเกียรติ, วราภรณ์ แสงทวีสิน, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์, วิไล ราตรี สวัสดิ์. ผลการรักษา Persistent pulmonary hypertension of newborn. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2542; 38: 200-8.

Martina AS, Laura LJ, Rebecca JB, Colin P, Elizabeth ER, Roberta LK. Persistent pulmonary hypertension of the newborn in late preterm and term infants in California. Pediatrics 2017;139(1): e20161165

วรนาฏ จันทร์ขจร. ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่นเวชสาร. 2549; 30:151-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-30