ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเรื่องปัจจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของข้อมูลผู้ป่วย ในโรงพยาบาลนครพนม จำแนกตามกลุ่มวินิจฉัยโรคใหญ่ (Major Diagnostic Category, MDC) ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ค่าวันนอนจริงค่ามาตรฐานวันนอน กับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับตามค่าวันนอนจริงของข้อมูลผู้ป่วยในและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของข้อมูลผู้ป่วยในจำแนกตามกลุ่มวินิจฉัยโรคใหญ่ (Major Diagnostic Category, MDC) กรณีผู้ป่วยในจะ มีวิธีการจ่ายโดยงบประมาณจัดสรรตามการรับอยู่ในโรงพยาบาลโดยใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Global budget with per-admission allocation by Diagnosis Related Group) กลุ่มตัวอย่างคือข้อมูลตัวอย่างของผู้ป่วยในจำนวน 268 ตัวอย่าง จาก การสุ่มอย่างมีระบบ จากข้อมูลผู้ป่วยใน 13,367 ราย เก็บข้อมูลระหว่าง 1ตุลาคม 2552-31 มีนาคม 2553 โดยใช้โปรแกรม การจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเป็นเครื่องมือในการวิจัยและผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพียร์สันและ ANOVA:F-test ผลการวิจัยพบว่าวันนอนจริง (Length of stay หรือ CALLOS ) อายุ ค่ามาตรฐานจุดตัดวันนอนนานเกินเกณฑ์ สภาพ การจำหน่าย มีความสัมพันธ์ทางบวก กับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์และพบว่าสภาพการจำหน่าย และกลุ่มวินิจฉัยโรค (MDC) ใน 5 ลำดับแรก ที่แตกต่างกันมีคะแนนค่าเฉลี่ยค่าน้ำหนักสัมพัทธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของ อายุ สภาพการจำหน่ายค่าวันนอนจริง กลุ่มวินิจฉัยโรคใหญ่ (MDC) ค่าวันนอนมาตรฐาน มีผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์หรือ ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ เฉลี่ย (ADJRW) ที่ใช้ในการคำนวณงบประมาณที่ โรงพยาบาลจะได้รับ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดที่สะท้อนประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่ใช้ดูแล ดังนั้นโรงพยาบาล ควรใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในการปรับปรุงประสิทธิภาพดังกล่าว
References
คณะทำงานพัฒนาดัชนีชี้วัดข้อมูลบริการสุขภาพรายบุคคลสำนักงานปะกันสุขภาพ,คู่มือดัชนีชี้วัดข้อมูลงานบริการสุขภาพรายบุคคลปีงบประมาณ 2551.2551หน้า 37
ชมพูนุท มหายศนันท์. (2551). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการผู้ป่วยในตามเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมโรงพยาบาลเวียงสา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นิรันดร์ วิเชียรทอง.การศึกษากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น.ขอนแก่น:บทคัดย่องานวิจัยที่เสนอประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7ปี 2544”ความสุขที่พอเพียง” วันที่ 5-7 กันยายน 2544,หน้า 97.
ปานทิพย์ สวัสดิ์มงคล, เพ็ญพร คูณขาว,วันดี วันศรีสุธน, ปัทมา สันติวงศ์เดชา,วราภรณ์ ปานเงิน.ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการให้รหัสโรคที่เป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพ: เวชบันทึกศิริราช, 2553: ปีที่ ๓, ฉบับที่ ๒.
พรณรงค์ โชติวรรณ, วรรษา เปาอินทร์. (2543). การให้รหัส ICD-10และICD-9-CM.(2543). นนทบุรี:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
พิชาญ กันสดับ. การพัฒนาระบบการประมาณค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เฉลี่ยผู้ป่วยในตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2550
ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. (2544). เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขในยุคปฏิรูประบบสุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก: โรงพิมพ์สุรสีห์กราฟฟิค.
สมหมาย คชนาม, (2553).เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการพัฒนางานสู่การวิจัย วันที่19-21เมษายน 2553: โรงพยาบาลนครพนม
สมหมาย คชนาม, (2553). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องเครื่องมือและสถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล วันที่ 24-26 พฤษภาคม 2553: โรงพยาบาลนครพนม
สมหมาย คชนาม, (2553). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการเขียนงานวิจัย วันที่ 9-11 สิงหาคม 2553: โรงพยาบาลนครพนม
เสาวนีย์ เชษฐพงพิทัก. การเปรียบเทียบวันนอนเฉลี่ยกับวันนอนเฉลี่ยมาตรฐานโรงพยาบาลสุรินทร์.รายงานการวิจัย.2551
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (.2550). คู่มือการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมและน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับที่ 4.0 เล่ม 1. กรุงเทพ:บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2550). คู่มือการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมและน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับที่ 4.0 เล่ม 2. กรุงเทพ: บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด.
อมรตา อาชาพิทักษ์, สุภาพ อารีเอื้อ, พรทิพย์ มาลาธรรม. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดโรคกระดูกและข้อ.รามาธิบดีพยาบาลสาร 2552; 15(2): 249-268.
Best, J.W.1970. Research in education Englewood Cilifts, New Jersy: pPrintice-Hall. Cohen,J. and Cohen, P. 1993. Applied multiple regression /correlation. Analysis for behavioral
Sciences. (2nd ed.) New Jersy. Lawrence Erlbaum Associates.
Yamane,Taro (1975). Statistic :An introductory analysis(3rd ed.).Tokyo: Harper
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ