การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยต้อกระจกแบบครบวงจร โรงพยาบาลเซกา
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบการดูแล, ต้อกระจก, บริการแบบครบวงจรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยต้อกระจกแบบครบวงจร ที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบท โรงพยาบาลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการวิจัยโดยทำการศึกษา ในกลุ่มผู้ให้บริการได้แก่พยาบาลจำนวน 24 คน เป็นพยาบาลคัดกรอง 4 คน พยาบาลผู้ป่วยใน 10 คน และพยาบาลในห้องผ่าตัด 10 คน และกลุ่มผู้รับบริการซึ่งได้แก่ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดต้อกระจกตามนัด จำนวน 202 คน ในกลุ่มผู้ให้บริการ เก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ (Qualitative data) จากการถอดบทเรียนใช้เทคนิคทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review :AAR) จากการ ปฏิบัติงานจริงโดยใช้แนวคิดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาจักษุ (Service Plan Eye) ส่วนกลุ่มผู้รับบริการ สอบถามกลุ่ม ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดต้อกระจกตามนัดที่โรงพยาบาลเซกา โดยใช้แบบสอบถามการวัดประสิทธิผลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระยะเวลา ที่ศึกษา 1 ตุลาคม 2558-30 กันยายน 2559 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ให้บริการได้รับการพัฒนาศักยภาพมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยต้อกระจกสามารถ ดูแลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย มีระบบงานที่ดีขึ้นโดยมีการพัฒนากระบวนงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการ มีการทำงาน แบบสหสาขาวิชาชีพ ส่งผลให้การประสานงานสะดวก รวดเร็วและดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ส่วนในกลุ่มผู้รับบริการ ประเมินประสิทธิผลการพัฒนา 4 ด้าน พบว่าด้านการวางแผน มีประสิทธิผลการพัฒนาเฉลี่ย 4.12 (SD. 0.52) ด้านกระบวนการ มีประสิทธิผลการพัฒนาเฉลี่ย 3.87 (SD. 0.34) ด้านการปฏิบัติงานของจ้าหน้าที่มีประสิทธิผลการพัฒนาเฉลี่ย 4.31 (SD. 0.32) และด้านอาคารสถานที่มีประสิทธิผลการพัฒนาเฉลี่ย 2.92 (SD. 0.51) ส่วนประสิทธิผลการพัฒนาเฉลี่ยทั้ง 4 ด้าน 3.80 (SD. 0.42) ตัวชี้วัดด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยไม่พบอุบัติการณ์การผ่าตัดผิดคน/ผิดข้าง/ใช้เลนส์ผิดเบอร์ ไม่พบอุบัติการณ์การติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์เทียม
References
นารีรัตน์ จิตรมนตรี. (2554). ประชากรสูงอายุ: แนวโน้มและประเด็นการดูแลผู้สูงอายุ. ใน วิไลวรรณ ทองเจริญ (บก.), ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ (หน้า 1-22). กรุงเทพฯ:โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
นิภา ใจสมคม (2555). มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิรมล สันทวิจิตรกุล (2549). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดสลายต้อกระจกในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิยาณี ณ นคร, ศิริพันธุ์ สาสัตย์, และประนอม รอดคำดี. (2549). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตาในผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 7, 32-42.
ปิยนุช เพชรศิริ (2550). ผลการให้ความรู้โดยใช้ตัวแบบบุคคลต่อความวิตกกังวลและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดต้อกระจก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัฒพงษ์ กุลยานนท์, วัฒนีย์ เย็นจิตร, ฉวีวรรณ เย็นจิตร, ชัยรัตน์ เต็งไตรรัตน์, วีรศักดิ์ อนุตรอังกูร, สุดารัตน์ นเรนทร์พิทักษ์. ต้อกระจก: ภาระโรคที่สำคัญของประเทศไทย. จักษุสาธารณสุข 2007: 21: 136-61
วิภาดา ช้างแก้ว (2551). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยในห้องผ่าตัด. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภฤศ หาญอุตสาหะ และคณะ(2551). การศึกษาโครงการดูแลรักษาผู้ที่มีปัญหาด้านสายตา อันเนื่องมาจากเลนส์ตา (โครงการผ่าตัดต้อกระจก). ภาควิชาจักวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์พยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
มุกดา เดชประพนธ์, & ปิยวดี ทองยศ. (2014). ปัญหาทางตาที่พบบ่อยและการสร้างเสริมสุขภาพตาในผู้ สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร (Ramathibodi Nursing Journal), 20(1), 1-9.
สมเกียรติ ศรไพศาล(2544) การวัดการทำหน้าที่ของสายตา และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกแบบ Phacoemulsification โดยใช้เลนส์เทียมที่มีราคาต่างกัน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรหมาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมศักดิ์ ชุณหะรัศมิ์. (2555). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.): ที คิว พี.
สำนักการพยาบาล (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( 2553). “ผู้ประสบปัญหาทางสายตา”วารสาร Innovation Link (พฤษภาคม) ค้นคืนเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559 จาก http://www.nia.or.th/innolinks
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ข้อมูลผู้ป่วยโรคต้อกระจกและสถานะการณ์ ปี 2549 – 2550
อัจฉราภรณ์ ใจกล้า (2553). การประเมินผลโครงการผ่าตัดต้อกระจกเชิงรุกในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโรงพยาบาลเชียงคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เอื้องพร พิทักษ์สังข์ (2554). การพยาบาลและหัตถการทางตา. กรุงเทพมหานคร ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์
Bernth – Peterson P. Outcome of cataract surgery l. A prospective, observation study. Acta Ophthalmol 1982; 60: 235 – 42.
Brian, G., & Taylor, H. (2001). Cataract blindness: challenges for the 21st century. Bulletin of the World Health Organization, 79(3), 249-256.
Dada T,Sharma N, Vajpayee R B, Dada V K. Conversion from phacoemulsification to ECCE : incidence, risk factors and visual outcome. J Cataract Refract Surg. 1993;19;435-37
Kurtz, R. M. (2008). U.S. Patent Application No. 12/233,401.
Schein OD, Steinberg EP, Javitt JC, Cassard SD, Tielsch JM, Steinwachs DM et al. Variation in cataract surgery parctice and clinical outcomes. Ophthalmology 1994; 101:1142 – 52
Steinberg EP , Tielsch JM, Schein OD, Javitt Jc, Sharkey P, Cassard SD et al. National study of cataract surgery outcomes. Variation in 4 month postoperation outcomes as reflected in multiple outcome measures. Ophthalmology 1994; 1041: 1131 – 41.
Taylor, H. R. (2000). Cataract: how much surgery do we have to do?. British Journal of Ophthalmology, 84(1), 1-2.
Venkatesh R , Muralikrishnan R, Balent LC, Prakash SK,Prajna NV. Outcome of high volume cataract surgeries in a developing county. Br J Ophthalmol 2005; 89:1079 – 83
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ