ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเยี่ยมบ้าน, ระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยเบาหวานบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการเยี่ยมบ้านที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย เบาหวานในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 22 คน โดยกลุ่ม เปรียบเทียบได้รับบริการตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโครงการโดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนักและการปฏิบัติตัว โดยเน้นเกี่ยวกับการรักษาโรคเบาหวาน การใช้ยา การมารักษาตามนัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบ สัมภาษณ์ความตระหนัก และแบบสัมภาษณ์การปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ Independent t-Test และ One way repeated measure ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของความตระหนัก ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่าก่อนการทดลองค่าเฉลี่ย ของความตระหนักทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน หลังทดลองทันทีและระยะติดตามผล พบว่าในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยของความตระหนักและการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยในกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของ ความตระหนักและการปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ส่วนค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนการทดลองทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ส่วนหลังการทดลองทันที และระยะติดตามผล พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยในกลุ่มทดลอง หลังทดลองทันที และระยะติดตามผลมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ
References
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. การทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุปันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทอาร์ต ควอลิไฟท์; 2557
วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 4 พ.ศ 2551. นนทบุรี: โรงพิมพเดอะกราฟิโกซิสเต็มส์จำกัด; 2553
อารยา ทองผิว. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเบาหวาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทมหานคร: คัลเลอร์ฮาโมนี่; 2547
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานการเฝ้าระวังทางโรคไม่ติดต่อจังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2557.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โฮโล่ลิสติกพลับลิสซิ่ง; 2553
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557 (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: หจก.อรุณการพิมพ์; 2557
บันเทิง พลสวัสดิ์. กระเป๋ายาคู่ชีพ อสม.ร่วมใจแก้ปัญหายาเหลือใช้ ลดค่าใช้จ่ายเป็นแสน.ใน จรวยพร ศรีศลักษณ์ และ สมพนธ์ ทัศนิยม (บรรณาธิการ),รวมบทคัดย่อผลงาน R2R เล่ม1ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย. กรุงเทพ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่งจำกัด; 2554
สำนักการพยาบาล. การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556
พรพิไล วรรณสัมผัส. ผลการเยี่ยมบ้านต่อการควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวานสถานี อนามัยสิงห์ จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ,บัณฑิตวิทยาลัยหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2547
Dawson-Saunder, B., & Trapp, R.G. Basic & Biostatistics (2th ed.). Norwalk, Connectient: Appleton & Lange;1993.
ประสาท ทากัน. คู่บัดดี้สองขั้วดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง.ใน จรวยพร ศรีศลักษณ์ และสมพนธ์ ทัศนิยม(บรรณาธิการ), รวมบทคัดย่อผลงานR2R เล่ม1ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย. กรุงเทพ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่งจำกัด; 2550
นงลักษณ์ อังคมณี. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2.วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณพิต สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัยหาวิทยาลัยมหิดล; 2553
สุธีรัตน์ ตีอ่ำ. ประสิทธิผลของการให้คำปรึกษากลุ่มในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน. รวมบทคัดย่อ ผลงาน R2R เล่ม 1 ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานจัย.กรุงเทพ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่งจำกัด; 2550
ดวงสมร นิลตานนท์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนและกระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2โรงพยาบาลเอราวัณอำเภอเอราวัณจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553
วิมลรัตน์ จงเจริญ. รูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2550
นิรมล เมืองโสม. การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเบาหวานในชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต; 2553
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2555). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10.(ออนไลน์) 21 มีนาคม 2558 แหล่งที่มา http://bps.ops.moph.go.th/plan10.htm
Adili, F., Larijani, B., & Hagaighatpanah, M. Diabetic patients : Psychlogical Aspects Annals of New York Academy of Sciences;2066;1084, pp. 329-349.
Cobb,S. Social Support as a Moderator of Life Stress Peuchosomatic Medication;1996.
Orem,.D.E.Nursing Concept of practice (3th ed.). New York:Mc Graw-Hill Book Company; 1991.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ