การพัฒนารูปแบบการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลหนองคาย ปี 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองคาย ในเดือน ตุลาคม 2559 – มีนาคม 2560 กลุ่มตัวอย่างมี3 กลุ่มคือผู้บริหาร พยาบาลผู้ปฏิบัติในหน่วยงานอาชีวเวชกรรม และหน่วยงาน นำร่อง 5 หน่วยงาน ดำเนินวิจัยตามวงล้อ PDCA มี 4 ขั้นตอนคือ 1.วางแผนเป็นการวิเคราะห์หาปัญหาค้นหาทางเลือกวิธีการ แก้ไขปัญหา 2.การยกร่างหรือพัฒนาแบบการประเมิน 3.ศึกษาในหน่วยงานนำร่อง ปรับปรุงรูปแบบการประเมินอีกครั้ง และ 4. การสรุปผลการนำไปใช้ เพื่อนำไปสู่การประกาศใช้ทั้งองค์กร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. รูปแบบการประเมินความเสี่ยง จากการทำงานของบุคลากร ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนเอกสาร และจากการสัมภาษณ์สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง และ 2.แบบสอบถามหรือสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประเด็นปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1.ได้รูปแบบการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากร ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง และ 3) สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ 2. ผลการนำแบบประเมินไปทดลองใช้พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีโรคประจำตัวร้อยละ 17.07 ตรวจสุขภาพแยกตามกลุ่มอายุร้อยละ 100 ได้รับการฝึกอบรมการใช้ PPE ร้อยละ 85.37 ผลการประเมินภาวะสุขภาพในหน่วยคลินิก พบว่ามีอาการปวดหลังเมื่อยล้าบริเวณไหล่ ร้อยละ 73.08 ปวดขาและน่อง ร้อยละ 84.62 มีความรู้สึกเครียด/กังวลจากงานที่เร่งรีบร้อยละ 76.92 ด้านสิ่งแวดล้อมมีแสงสว่างการระบายอากาศดี ร้อยละ 84.62 ด้านการยศาสตร์ มีการบิดเอี้ยวตัวและก้มหรือเงย ร้อยละ 80 3. ข้อเสนอแนะต่อการประเมินความเสี่ยงจากผู้ที่เกี่ยวข้อง มีนโยบาย ชัดเจนแต่ขาดการติดตาม ด้านงบประมาณไม่สามารถจัดสรรให้ได้ตามที่วางแผนไว้ วัสดุและอุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับการทำงาน อยู่ในมาตรฐานระดับต่ำ (Minimum) ต้องสร้างความรู้ความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย ปรับปรุงระบบการประเมินและเครื่องมือให้เหมาะตามบริบท รวมทั้งมอบหมายทีมในการกำกับติดตามที่ชัดเจน สรุปและข้อเสนอแนะข้อมูลที่ได้จากการศึกษานำไปเป็นแนวทางในการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ในการทำงานของบุคลากรทั้งโรงพยาบาล
References
วีระพล วงษ์ประพันธ์. 2556.สถานการณ์โรคและสิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ปี 2556 สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2560. http://61.19.30.156/opppkorat/UserFiles/files/Health%20status%20of%20health%20worker2556(3).pdf.
สุภาพร วชิรเมธารัชต์. 2559.การจัดการความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลร้อยเอ็ด สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2560 http://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/195122/463d0ef7959434a4c72e28be02437577?Resolve_DOI=10.14458/RSU.res.2016.170.
สนิท พร้อมสกุล, 2554.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในสถานบริการสุขภาพภาครัฐเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 17 . สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2560 http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters.
สุวินันท์ ทวีพิริยะจินดา, 2558.ท่าทางการทำงานที่เป็นอันตรายและความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง อันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานในคนงาน โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์.KKU Res J (GS) 15 (2) :เม.ย. - มิ.ย. 2558
มานพ กาเลียง. 2558. แนวทางการบริหารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(2):72-83
ชยนุช ไชยรัตนะ. 2558. หลักการยศาสตร์และงานนวัตกรรมเพื่อสร้างสุขภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทำงานของพยาบาล.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 38(3).146-156
ฉัตรแก้ว ละครชัย. 2558. การประเมินการจัดการความปลอดภัยในโรงพยาบาลและความสัมพันธ์กับอัตราความชุกของการเกิดอุบัติเหตุของพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560 http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/5-02/article/view/243
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). 2557. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ; บริษัทหนังสือดีวันจำกัด.
สำนักการพยาบาล .2557. มาตรฐานการพยาบาลอาชีวอนามัย .กรุงเทพฯ ; สำนักการพยาบาล
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2559. คู่มือการตรวจประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
อภันตรี ประยูรวงษ์. 2556. ปัญหาสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 27(2): 54-61
สุวัฒน์ ดำนิล, 2557อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล= Occupational Health and Safety in Hospital. กรุงเทพฯ : งานอาชีวอนามัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560. http://110.170.192.92/ULIB/searching.php?MAUTHOR=%20%CA%D8%C7%D1%B2%B9%EC%20%20%B4%D3%B9%D4%C5,%20%BA%C3%C3%B3%D2%B8%D4%A1%D2%C3.
งานอาชีวเวชกรรม. 2559. แบบรายงานผลการประเมินภาวะสุขภาพประจำปีของบุคลากรโรงพยาบาลหนองคาย. มปท.
พนิดา ว่าพัฒนวงศ์ ชมพูนุช สุภาพวานิช และ อรรณพ สนธิไชย. 2556.พฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(1):74-85.
วิลาสินี โอภาสถิรกุล และคณะ. 2558. ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากกการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลสาร.42(2):49-60
รัชดากร ราชวงศ์ และวาสินี วิเศษฤทธิ์. 2559. ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยวิกฤตในการจัดการความปลอดภัยของบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560. https://www.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/viewFile/65195/53355.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ