ประสิทธิผลของการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี หอผู้ป่วยนำโชค โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
แนวทางปฏิบัติ, ภาวะท้องอืด, การดูแลหลังผ่าตัดบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องประสิทธิผลของการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี หอผู้ป่วยนำโชค โรงพยาบาลนครพนม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติการลดภาวะท้องอืด ในผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี และความพึงพอใจที่มีต่อการปฏิบัติตามแนวทางการลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดนิ่วใน ถุงน้ำดี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีที่เตรียมผ่าตัด ที่รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยนำโชค โรงพยาบาลนครพนม คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มที่ไม่ได้ใช้แนวปฏิบัติการลดภาวะท้องอืด จำนวน 15 ราย กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติ การลดภาวะท้องอืด จำนวน 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะ ท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการปฏิบัติตามแนวทางการลดภาวะท้องอืดใน ผู้ป่วยหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลในวันที่ 1 มีนาคม 2559 – 31 พฤษภาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมานได้แก่ Independent t-test ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ ระดับความรุนแรงของภาวะท้องอืดใน 48 ชั่วโมง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แนวปฏิบัติการลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วย หลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีมีความรุนแรงของภาวะท้องอืด น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้แนวปฏิบัติการลดภาวะท้องอืด อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ความพึงพอใจในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ผลการศึกษาพบว่า ระดับ ความพึงพอใจในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 94.81 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยได้แก่ อาจกล่าวสรุปได้ว่า แนวทางปฏิบัติสามารถลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ได้จริง ดังนั้นจึงควรขยายผล การใช้แนวปฏิบัติการลดภาวะท้องอืดในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในช่องท้องอื่นๆ
References
กษยา ตันติผลาชีวะ. “Postoperative ileus : Cause, Prevention and Treatment,” ใน ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 32. หน้า 87 – 88. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร, 2549.
กันยา ออประเสริฐ. “การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึก,” ใน การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. กรุงเทพฯ : เอ.พี.ลีฟวิ่ง จำกัด, 2546.
กมลรัตน์ สุปัญญาบุตร .(2553). ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดต่อภาวะภาวะลำไส้หยุดการทำงานชั่วคราวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดถุงน้ำดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. “ทฤษฎีการพยาบาล” ใน แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎี และกระบวนการ พยาบาล. หน้า 61. นนทบุรี : ธนาเพรส จำกัด; 2548.
จุมพล วิลาศรัศมี. “Surgical Complication” ใน ตำราศัลยศาสตร์ทั่วไป. หน้า 73. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร, 2548.
ชูศรี วรรณโกวัฒน์. “การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี” วารสารพยาบาล ศาสตร์. 17(3) : 24 - 32, 2542.
ไชยยุทธ ธนไพศาล. ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2542.
ทวีศักดิ์ บูรณวุฒิ และวารี พร้อมเพชรรัตน์. “สรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว,” ใน สาระสำคัญวิชาสรีรวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์, 2549.
ทิพวรรณ วัฒนเวช. “ท้องอืดหลังผ่าตัดช่องท้อง,” วารสารโรงพยาบาลระยอง 2. 2(1) : 1 - 6 ; ธรรมสารมกราคม- มิถุนายน, 2546.
เติมชัย ไชยนุวัติและไพโรจน์ เหลืองโรจนกุล. โรคตับและทางเดินน้ำดี. เรือนแก้วการพิมพ์:กรุงเทพฯ; 2542.
วัชรพุกก์. (บรรณาธิการ). ตำราศัลยศาสตร์. (หน้า 7-20). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนิต วัชรพุกก์. “Biliary Tract,” ใน ตำราศัลยศาสตร์ภาค2. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : ไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด; กุมภาพันธ์ 2558.
นันทา เล็กสวัสดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540
นันทาวดี ศิริจันทรา. การศึกษาอาการท้องอืด และการ จัดการอาการท้องอืด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. วิทยานิพนธ์ พย.ม. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี, 2551.
บรรลือ เฉลยกิตติ. ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2545.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย; 2550.
ประณีต ส่งวัฒนา. หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์สงขลา; 2542.
พเยาว์ เกษตรสมบูรณ์. (2525). ผลของการให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวและลุกเดินได้เร็วในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. มหาวิทยาลัยมหิดล.
พินิจ กุลละวณิชย์. “การตรวจทางระบบทางเดินอาหาร,” ใน การสัมภาษณ์ประวัติและตรวจร่างกาย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ยูนิตี้พับลิเคชั่น; 2545.
ไพศาล พงศ์ชัยพฤษ์. “Difficult Biliary Calculi : Pathophysiology,” ใน ศัลยศาสตร์ปริทัศน์. หน้า 321. กรุงเทพฯ : JSK การพิมพ์; 2543.
ภัทรพร บุรพกุศลศรี และอื่น ๆ. “การดูแลรักษานิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีไม่ผ่าตัด,” ในโรคทางเดินอาหารและ การรักษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
นันทา เล็กสวัสดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่5. เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.
นันทาวดี ศิริจันทรา. การศึกษาอาการท้องอืด และการจัดการอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. วิทยานิพนธ์ พย.ม.อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี; 2551.
เนาวรัตน์ สมศรี. (2552). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลภาวะท้องอืดสำหรับผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มาลี งามประเสริฐ. “การศึกษาเบื้องต้นของโปรแกรมการลดอาการท้องอืดในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดทางหน้าท้อง: ศึกษาระดับความรุนแรงของอาการท้องอืด,” สารศิริราช. 57(7) :302 - 307 ; กรกฎาคม, 2548.
สุนันทา ศรีวิวัฒน์. (2538). ผลของโปรแกรมการผ่อนคลายต่อความเจ็บปวด ภาวะท้องอืดและการพักฟื้นหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิยะดา รัตนสุวรรณ. (2535). ผลของการออกกำลังอย่างมีแบบแผนต่ออาการท้องอืดและอาการปวดท้องจากแก๊สในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริพรรณ ภมรพล พย.ม. “บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ภายหลังผ่าตัด.” วารสารสภากาชาดไทย. ปีที่ 6 ฉบับที่1มกราคม-มิถุนายน 2556
ศิริรัตน์ มั่นใจประเสริฐ. (2552). ภาวะท้องอืด การจัดการกับภาวะท้องอืด และความพึงพอใจต่อการจัดการกับภาวะท้องอืดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรทัย ชบาภิวัฒน์, พรรณี วิระบรรณ, อวยพร ภัทรภักดีกุล “ความสุขสบายในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดช่องท้อง” วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –ธันวาคม 2558.
Bartz, Albert E. 1999. Basic Statistical Concept. New Jersey : Prentice-Hall, Inc.
Loether, Herman J. and Mctavish, Donald G. 1993. Descriptive and inferential Statistics : An Introduction. USA : Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ