ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีในเด็กทารก
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกของโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีในเด็กทารก วัสดุและวิธีการ : ศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยอายุ 0 -1 ปี ที่รับไว้รักษาใน โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม ด้วยโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดย การวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีใช้นิยามขององค์การอนามัยโลก ผลการศึกษา : เด็กอายุ 0 -1 ปีที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีและได้รับไว้รักษาในโรงพยาบาลนครพนมในระยะที่ทำการศึกษา มีจำนวน 57 คน เพศชาย 31 คน เพศหญิง 26 คน เป็น Dengue fever (DF) 59.6%, Dengue Hemorrhagic fever (DHF) 31.5% และ Dengue Shock Syndrome (DSS) 8.7% อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 7.8 เดือน อายุน้อยที่สุด 16 วัน อาการที่พบ คือ ไข้ 100% ท้องเสีย 36.8 % อาการหวัด 35.0 % อาเจียน 29.8% ชัก 15.7% และเลือดออก 10.5% อาการแสดงที่พบ คือ ตับโต 60.3% ผื่นที่ผิวหนัง 45.6% tourniquet test positive 40.3% ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต สำหรับการตรวจ complete blood count (CBC) พบค่าเฉลี่ย maximum hematocrit 38.3 % ค่าเฉลี่ย minimum platelet count 50,324/mm3 ค่าเฉลี่ย minimum white blood cell count 6,170 /mm3 ค่าเฉลี่ย maximum atypical lymphocyte 7.7% และค่าเฉลี่ย maximum neutrophil 32.4% สรุป : เด็กอายุ 0-1 ปีในการศึกษานี้มีจำนวน 57 คน ส่วนใหญ่เป็น Dengue fever ทุกรายมีอาการไข้ อาการและอาการแสดง ที่พบ คือ อาการหวัด อาเจียน ชัก ท้องเสีย เลือดออก ผื่นที่ผิวหนัง ตับโต
References
กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงกองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข Available from: www.thaivbd.org/n/dengues/
กลุ่มระบาดวิทยาโรคติดต่อ.ไข้เลือดออก. Available from: http://www.boe.moph.go.th/fact/Den-gue_hemorrhagic_fever.htm
ประสงค์ วิทยถาวรศ์ การติดเชื้อเดงกีในเด็กเล็ก. ใน: ชิษณุ พันธุ์เจริญ, วันล่า กุลวิชิต, ธีรพงษ์ ตัณทวิเชียร, อุษา ทิศยากร, บรรณาธิการ.ไข้เลือดออก.กรุงเทพ:หจก.เพนตากอนแอดเวอร์ไทซิ่ง, 2546:86-101
WHO. Dengue haemorrhagic fever: diagnosis, treatment, prevention and control. 2nd edition. Geneva : World Health Organization.1997
Hemungkorn M, Thisyakorn U, Thisyakorn C. Dengue: A growing global health threat. BioScience trends 2007; 1: 90-6.
Halstead SB. Controversies in dengue pathogenesis. Paediatric Int Child Health 2012; 32: S5-S9.
Kalayanarooj S & Nimmannitya S (2003) Clinical presentations of dengue hemorrhagic fever in infants compared to children. J Med Assoc Thailand 86: S673–S680.
Witayathawornwong P (2005) DHF in infants, late infants and older children: a comparative study. Southeast Asian J TropMed Public Health 36: 896–900.
Pancharoen C, Thisyakorn U. Dengue virus infection during infancy. Trans Soc of TropMed and Hyg 2001; 95: 307-308.
อนงรัตน์ เตียวิไล โรคติดเชื้อไวรัสเดงกีในเด็กเล็ก. วารสารกุมารเวชศาสตร์ มค.- มีค.2556:56-60.
Kabilian L,Balasubramanian S. Dengue disease spectrum among infants in the 2001dengue epidemic in Chennai,Tamil Nadu, India. J Clin Micro boil 41:3919-3921.
Thisyakorn U, Thisyakorn C. Dengue infection with unusual manifestations. J Med Assoc Thai 1994; 77: 410-413.
จารุวรรณ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีในกลุ่มอายุต่างๆ. วารสารกุมารเวชศาสตร์ ตค.- ธค.59: 269-276.
Panpitpat C, Panpitpat A, Hemungkorn M, Thisyakorn U. Dengue patients in different age groups. Asian-Oceanian Journal of Pediatrics and Child Health 2007; 6: 1-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ