ผลการใช้แนวทางปฏิบัติการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
แนวทางปฏิบัติ, การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชน, โรงพยาบาลนครพนมบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ ต่ออัตราความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ และความพึงพอใจ ของแพทย์ต่อแนวทางปฏิบัติการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็นโรคปอดอักเสบชุมชนที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือนเมษายน – กรกฎาคม 2559 จำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มก่อนใช้แนวทางปฏิบัติการวินิจฉัยโรคปอดอุดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ (กลุ่ม ควบคุม) จำนวน 40 คน และกลุ่มหลังการใช้แนวทางปฏิบัติการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ (กลุ่มทดลอง) จำนวน 40 คน 2) แพทย์เพิ่มพูนทักษะ และอายุรแพทย์ จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แนวทางปฏิบัติการวินิจฉัยโรคปอด อักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและแพทย์ แบบบันทึกข้อมูลการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนใน ผู้ใหญ่ และแบบสอบถามความพึงพอใจของแพทย์ต่อการใช้แนวทางปฏิบัติการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคว์-สแคว์ (Chi-square) และสถิติ ทดสอบฟิชเชอร์ (Fisher’s exact) ผลการศึกษาพบว่า อัตราความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 12.0 p = .001) โดยหลังการใช้แนวทาง ปฏิบัติพบอัตราความถูกต้องของการวินิจฉัยร้อยละ 82.5 ก่อนการใช้แนวทางปฏิบัติพบอัตราความถูกต้องของการวินิจฉัย ร้อยละ 42.5 และแพทย์ผู้ปฏิบัติมีความพึงพอใจต่อแนวทางปฏิบัติการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่อยู่ในระดับมาก ที่สุด (=4.58 S.D = .49) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้แนวทางปฏิบัติการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ ทำให้อัตราการวินิจฉัย โรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่มีถูกต้องมากขึ้น และแพทย์มีความพึงพอใจต่อแนวทางการปฏิบัติ ดังนั้นจึงควรนำแนวทาง การปฏิบัติมาใช้ปฏิบัติในโรงพยาบาลนครพนม และขยายผลไปใช้ในโรงพยาบาลชุมชนต่อไป X2
References
American thoracic Society. Guidelines for the management of adults with community-acquired pneumonia. Am J Respir Crit Care Med (2001); 163, 1730-54.
ดวงรัตน์ ร่วมพุ่ม. โรคปอดอักเสบ. (ออนไลน์) 2555. (อ้างเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559) จาก http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2012/main/AESR55_Part1/file5/2855_Pneumonia.pdf
งานระบาดวิทยา. สรุปรายงานสถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา โรคปอดอักเสบ(รง.506) ปี พ.ศ 2556- 2558. (เอกสารอัดสำเนา). นครพนม : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม; 2559.
งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลนครพนม. รายงานเวชสถิติประจำปี พ.ศ. 2556-2558. (เอกสารอัดสำเนา). นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม; 2559.
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชนในประเทศไทย (สำหรับผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ : เอสดีการพิมพ์; 2544.
Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral science (2nd edition) Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
Best, John. Research in education. Englewood Cilifts, New Jersy: Printice-Hall; 1970.
Arno Peng, et al. The proportionof correct diagnoses is low in emergency patients with nonspecific complaints presenting to the emergency department. Swiss Med Wkly 2015; 145: w14121.
Priya Daniel, et al. Adults miscoded and misdiagnosed as having pneumonia: results from the British Thoracic Society pneumonia audit (online) 2017. (อ้างเมื่อ 1 มีนาคม 2560) จาก http://thorax.bmj.com/content/early/2017/01/20/thoraxjnl-2016-209405
SanrajK. Basi, et al. Patients admitted to hospital with suspected pneumonia and normal chest radiographs: epidemiology, microbiology, and outcomes. Am J Med 2004; 117(5): 305-11.
Zohair Al aseri. Accuracy of chest radiograph interpretation byemergency physicians. Am Soc Emergency Radiol 2008; 16(2): 111-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ