พัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องใน 24 ชั่วโมงแรก ในหอผู้ป่วยพิเศษนำโชค
คำสำคัญ:
ตกเลือดหลังคลอด, แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องใน 24 ชั่วโมงแรก และศึกษาผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติ
วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยมารดาหลังผ่าตัดคลอด 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ที่หอผู้ป่วยพิเศษนำโชค ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2563 ถึง ตุลาคม 2563 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 32 คนและพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยพิเศษนำโชคจำนวน 10 คนเ เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องใน 24 ชั่วโมง แบบสอบถามความพึงพอใจของมารดาหลังคลอด และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล ทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ.88 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
ผลการศึกษา : พบว่าผลลัพธ์ของแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องใน 24 ชั่วโมงแรก ไม่พบการตกเลือดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ในกลุ่มควบคุมพบว่าความพึงพอใจของมารดาต่อแนวปฏิบัติแบบเดิม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.83(SD=0.26) ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มศึกษา ที่มีความพึงพอใจของมารดาต่อแนวปฏิบัติแบบใหม่ ค่าเฉลี่ย 4.43 (SD=0.32) อย่างมีนัยสำคัญ ความพึงพอใจของพยาบาลที่ให้การดูแลและปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องใน 24 ชั่วโมงแรก แบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าแนวปฏิบัติเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001
ข้อสรุป : การพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องใน 24 ชั่วโมงแรก จึงเป็นแนวทางสำคัญสำหรับพยาบาลซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดมารดาหลังคลอดมากที่สุด สามารถใช้เป็น แนวทางในการดูแลมารดาคลอดที่มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ไม่ให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด และ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ รวมถึงการให้การพยาบาลมีมาตรฐานและสามารถนำแนวปฏิบัติตินี้ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่น เพื่อการดูแลมารดาหลังคลอดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
กรกฎ ศิริมัย และวิทยา ถิฐาพันธ์. (2552)บทนำทางสูติศาสตร์. ใน: มานี ปิยะอนันต์, ชาญชัย วันทนาศิริ, ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพ. บริษัทพี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.
งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลนครพนม. (2562). สรุปสถิติผู้ป่วย พ.ศ. 2560-2562. นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม. (เอกสารอัดสำเนา).
งานสถิติหอผู้ป่วยพิเศษนำโชค.(2562).สรุปสถิติผู้ป่วย พ.ศ. 2560-2562. นครพนม: 2560-2562 โรงพยาบาลนครพนม. (เอกสารอัดสำเนา).
โฉมพิลาศ จงสมสมัย.(2552) ภาวะตกเลือดหลังลอด. ใน: เอกชัย โควาวิสารัช, ปัทมา พรหมสนธิ, บุญศรี จันทร์รัชชกูล, บรรณาธิการ. วิกฤตการณ์ทางสูติกรรมที่รุนแรง. กรุงเทพ. บริษัท ทรี-ดี สเเกนจำกัด.
นววรรณ มณีจันทร์ และอุบล แจ่มนาม.(2560).ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือด หลังคลอดในระยะแรก โรงพยาบาลราชบุรี.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11.มค.-มีค.31(1),145-153.
พรศักดิ์ สถาพรธีระ, ศักดา อาจองค์, อรพรรณ อัศวกุล.(2562).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะตกเลือดภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดของสตรีตั้งครรภ์เดี่ยว ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology .มกราคม.20 (1), 21-28.
สุชาดา อินทวิวัฒน์, สมศักดิ์ ไหลเวชพิทยา. (2552).การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. ใน: มานี ปิยะอนันต์ ชาญชัย วันทนาศิริ, ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพฯ. บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.
สุฑารัตน์ ชูรส.(2562) การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด : บทบาทพยาบาล.วารสารวิชาการแพทย์ เขต11. มค.-มีค.31(1),181-192.
ศิริวรรณ วิเลิศ,ทิพวรรณ เอี่ยมเจริญและดรุณี ยอดรัก.(2559).สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอดในมารดาคลอดทางช่องคลอด ในหอผู้ป่วยสูติกรรมสามัญ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย.ก.ค.-ธ.ค, 9(2), 173-190.
ACOG educational bulletin. Postpartum hemorrhage. American College of Obstetricians and Gynecologists. Int J Gynaecolobstet.Internet 2020 cited 2020 April 20 . Available from https://www. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9622181/
Mehrabadi A, Hutcheon JA, Lee L, ListonRM, Joseph KS. (2012).Trends in postpartum hemorrhage from 2000 to 2009: a population-based study. BMC Pregnancy Childbirth. 2012 11;12:108.
Naef RW III, Chauhan SP, Chevalier SP, Roberts WE, Meydrech EF, Morrison JC.(1994) Prediction of hemorrhage at cesarean delivery Obstetric Gynecol. 83(6): 923-6
World Health Organization. 2012. WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage. Italy: WHO Library Cataloguing-in-Publication Data.
World Health Organization, UNICEF. 2 0 1 4 . Trends in maternal mortality: 1990 to 2013: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA. The World Bank and the United Nations Population Division: Retrieved from http://apps.who.int/iris/bitstream/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ