ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสมัครรับการประเมินรับรองคุณภาพ การจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม (EHA ; Environmental Health Accreditation) ของเทศบาล ในจังหวัดหนองบัวลำภู ปี 2564

ผู้แต่ง

  • รุ่งเรือง ลาดบัวขาว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, รับรองคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม, เทศบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจสมัครรับการประเมินรับรองคุณภาพ การจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม, เพื่อศึกษาความคาดหวังของเทศบาลต่อการประเมินรับรองคุณภาพ การจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม และเพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการประเมินรับรองคุณภาพการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมของเทศบาล ในเขตจังหวัดหนองบัวลำภู

วัสดุและวิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนายกเทศมนตรีหรือปลัดเทศบาล และผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ของเทศบาลทุกแห่ง เป็นการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) แห่งละ 2 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 48 คน ทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสมัครรับการประเมิน โดยใช้ค่าไคสแควร์ (Chi–Square)

ผลการศึกษา: ปัจจัยด้านประสบการณ์การสมัครมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสมัครเข้ารับการประเมินรับรอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 (P= 0.02)ปัจจัยด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสมัครเข้ารับการประเมินรับรอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 (P= 0.008)ปัจจัยด้านการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสมัครเข้ารับการประเมินรับรองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 (P= 0.01) ปัจจัยด้านทรัพยากรและการจัดการ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสมัครเข้ารับการประเมินรับรองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 (P= 0.001) ปัจจัยด้านแรงจูงใจหรือสิ่งที่ทำให้ภาคภูมิใจมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสมัครเข้ารับการประเมินรับรองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 (P= 0.001) ความคาดหวังของเทศบาล ต่อการประเมินรับรองคุณภาพการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม พบว่าคาดหวังด้านบริหารจัดการมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=21.81; SD=1.08) รองลงมาเป็นคาดหวังทางด้านการเมือง (gif.latex?\bar{x}=19.12; SD=1.91) ลำดับต่อมาเป็นคาดหวังด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (gif.latex?\bar{x} =18.56; SD=2.78) และลำดับต่อมาเป็นคาดหวังด้านสังคม (\bar{x}=18.08; SD= 2.31) ส่วนความคาดหวังน้อยที่สุดคือด้านเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{x}=10.35; SD=2.10)

ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาระบบการสมัคร ให้สามารถสมัครผ่านระบบแสกน QR CODE ได้ ควรจัดประชุมชี้แจง เพื่อทำความเข้าใจในเกณฑ์ รูปแบบวิธีการ และการเตรียมการต่างๆ ให้มีความพร้อมตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะเทศบาลที่มีขนาดเล็ก ที่ยังขาดความพร้อมด้านด้านต่างๆ รวมทั้งไม่เคยสมัครรับการประเมินมาก่อน ควรมีการสรุปผลงาน ถอดบทเรียน และศึกษาดูงาน ในเทศบาลที่การจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านต่างๆ ผ่านมาตรฐานแล้วเพื่อนำไปพัฒนางานในเทศบาลของตน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงาน โดยเฉพาะในงานที่ต้องได้ดำเนินการเหมือนๆ กัน เช่น การตรวจคุณภาพน้ำประปา ซึ่งหากรวมกันส่งตรวจในที่เดียวกัน จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการตรวจถูกลง และมีมาตรฐานการตรวจเดียวกัน

ข้อสรุป:จากผลการศึกษาที่พบ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจสมัครรับการประเมินรับรองคุณภาพ การจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมไปใช้ประโยชน์ เช่น แปลงเป็นนโยบายสนับสนุน กระตุ้นผลักดัน หรือจูงใจ ในปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจ รวมทั้งสิ่งที่เทศบาลคาดหวัง ช่วยแก้ไขปัญหา อุปสรรค และสนับสนุนในสิ่งที่เทศบาลเสนอไว้ ผู้วิจัยเชื่อว่า จะทำให้การพัฒนาคุณภาพบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคุณภาพมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ซึ่ง จะส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย. เอกสารสรุปผลการประเมินรับรองคุณภาพการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น;2562.

วัตถาภรณ์ จันทร์แก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการในการเข้าร่วมโครงการร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ในจังหวัดเชียงใหม่” [การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556.

งามฉวี จันเทพา. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผลิตสับปะรดตามการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในจังหวัดลาปาง [การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่:หาวิทยาลัยเชียงใหม่;2552.

พัชรนันท์ กลั่นแก้ว. เคล็ดลับการสร้างแรงกระตุ้นลูกน้องให้มีไฟในการทำงาน[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:

Quality Way August 2008 [เข้าถึงเมื่อ 24 กันยายน 2551]. เข้าถึงได้จาก:https://www.tpa.or.th/publisherpdfFileDownloadS/p129-134.pdf

ภาณุวัฒน์ ไชยมะโน. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดาริ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27