ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • พนิตตา หงษาคำ กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารการเงินการคลัง, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน สภาพคล่องทางการเงิน ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ และปัจจัยทำนายความเสี่ยงทางการเงิน ของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยประเมินผลเชิงวิเคราะห์ (Evaluation analytical research) เปรียบเทียบระหว่าง ปี 2563 กับปี 2564 วิธีการศึกษาเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือบุคลากรของโรงพยาบาล รวม 75 คน ศึกษาเดือนกันยายน 2564 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและรายงานการเงิน โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ถดถอย Stepwise multiple linear regression

ผลการศึกษา : สถานการณ์การบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชน ในปี 2564 โดยรวมมีรายได้บริการ จำนวน 121.15 ล้านบาท ซึ่งได้รับมากกว่าปี 2563 (116.54 ล้านบาท) มีค่าใช้จ่าย จำนวน 121.41 ล้านบาท ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากกว่าปี 2563 (4.87 ล้านบาท) โดยรวมของโรงพยาบาลชุมชน มีหนี้สินหมุนเวียน ปี 2564 เฉลี่ย 37.00 ล้านบาท ซึ่งมากกว่า ปี 2563 (34.05 ล้านบาท) เงินสดคงเหลือ ปี 2564 เฉลี่ยติดลบ 9.24 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่า ปี 2563 (-13.41 ล้านบาท) มีสภาพคล่องทางการเงินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2 ใน 3 อัตราส่วน คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) ปี 2564 เฉลี่ย= 1.22 และอัตราส่วนหนี้สินหมุนเวียน (Cash ratio) เฉลี่ย= 0.80 ปี 2564 มีความเสี่ยงต่ำ (Risk score เฉลี่ย= 1.20) ซึ่งต่ำกว่า ปี 2563 (Risk score เฉลี่ย= 3.0) ที่ไม่มีความเสี่ยง ได้แก่ โรงพยาบาลโนนสัง และโรงพยาบาลสุวรรณคูหา มีความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ โรงพยาบาลนากลาง โรงพยาบาลศรีบุญเรือง และโรงพยาบาลนาวังฯ ตามลำดับ สถานการณ์และประสิทธิภาพทางการเงินโดยรวมทำนายอิทธิพลต่อระดับความเสี่ยงทางการเงิน ได้ร้อยละ 36 (R2adj.=0.36, p=0.024) 4 ปัจจัย ได้แก่ หนี้สินหมุนเวียน (R2adj.=0.32, p=0.008), Current ratio (R2adj.= 0.24, p-value =0.016), เงินสดคงเหลือ (R2adj.=0.08, p<0.001), เงินสดและรายการเทียบเท่า (R2adj.=0.02, p<0.001) ปัจจัยที่ไม่สามารถทำนายความเสี่ยงทางการเงิน ได้แก่ Quick Ratio, Cash ratio, ทุนสำรองสุทธิ และกำไรสุทธิ

ข้อสรุป : กระบวนการบริหารประสิทธิภาพการบริหารการเงินมีผลต่อความเสี่ยงทางการเงิน ของโรงพยาบาลชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

สัญญาณ "วิกฤติงบสุขภาพ" โรงพยาบาลขาดทุน; 2555. NKT NEWS. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562] จาก URL: http://www.bangkokbiznews.com.

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ. เกณฑ์ประเมินด้านการเงินการคลัง 5 ด้านสู่ความเป็น Smart Hospital. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ. การประเมินหน่วยบริการสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ประสบภาวะวิกฤติทางการเงิน. 2562. [เข้าถึงเมื่อ พฤษภาคม 2564] จาก : http://healthkpi.moph.go.th

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. ประสิทธิภาพและต้นทุนของสถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2 5 5 8. [เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2564] จาก: https://kb.hsri.or

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.). คู่มือการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2562. [เข้าถึงเมื่อ พฤษภาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.). คู่มือการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559. [เข้าถึงเมื่อ พฤษภาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th

จุติมาพร สาขากูล. การวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดด้านการเงิน. สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2549 : 1-20.

อุดมศรี วงศ์บุญยกุล. ประสิทธิภาพการบริหารการเงินโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตด้วย 8 ตัวชี้วัด ปี 2553 – 2557. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 2558;29(3): 411-417.

พลพรรธน์ อยู่สวัสดิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานขาดทุนของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(2) : 537-368.

นริศรา นีรคุปต์. ประสิทธิภาพการจัดการระดับความเสี่ยงทางการเงินในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้ องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2561;5(3): 1-14.

จงดี สระคูพันธุ์. การดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงินของโรงพยาบาลยโสธร. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 2557; 28(3): 691-700.

Dong GN. Performing well in financial management and quality of care: evidence from hospital process measures for treatment of cardiovascular disease. BMC Health Services Research 2015;15: 2-15.

ชฎาภรณ์ ชื่นตา, สำลี เวชกามา, เพ็ญแข สะอาดยิ่ง. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาล จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26(2): 371-381.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27