การประเมินผลการพัฒนาระบบยาสมุนไพรสำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ยาสมุนไพรไทย, หน่วยบริการสาธารณสุข, ประเมินผลการพัฒนาระบบบทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านบริการแพทย์แผนไทย ให้มีความรู้เกี่ยวกับระบบยาสมุนไพรให้ มากยิ่งขึ้น จะช่วยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการใช้ยาสมุนไพรสำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี ตามกรอบของ Context and Input Process Product (CIPP) model วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) ประเมินผลแบบ CIPP model แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ บริบทและสิ่งนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2560 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง: ประชากรที่ศึกษาเป็นหน่วยบริการสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ โรงพยาบาล 21 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 211 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โครงสร้างคำถามการสนทนากลุ่มและข้อมูลจากศูนย์ ข้อมูลสารสนเทศ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center: HDC) ใช้ข้อมูล ณ ปีงบประมาณ 2559-2560 สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ความถี่ ร้อยละ และสรุปข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย: บริบทและสิ่งนำเข้า มีการปรับโครงสร้างและสื่อสารนโยบายด้านการแพทย์แผนไทย โดยแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ กำกับดูแลพัฒนางาน และจัดตั้งกลุ่มงานการแพทย์แผนไทย ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี มีการพัฒนาบุคลากร แพทย์แผนไทย ในปีงบประมาณ 2559 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบยาสมุนไพร เสนอใช้นโยบายจัดกรอบบัญชียาสมุนไพร สำเร็จรูปในโรงพยาบาล (รพ.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีแพทย์แผนไทยจำนวน 73 รายการ ใน รพ.สต. ที่ไม่มีแพทย์แผนไทยจำนวน 55 รายการ มีบัญชียาปรุงเฉพาะราย จำนวน 19 ตำรับ, ด้านผลลัพธ์ (product) ระบบข้อมูลด้าน ยาสมุนไพร ระหว่างปี 2559-2560 พบว่า มีการเข้าถึงบริการผู้ป่วยนอกที่ได้รับบริการแพทย์แผนไทยร้อยละ 24.8 และ 25.3 (เพิ่มร้อยละ 0.5), จ่ายยาสมุนไพรจำนวน 457,479 และ 488,993 ครั้ง (เพิ่มร้อยละ 6.9), การจ่ายยาสมุนไพรผู้ป่วยนอกร้อย ละ 10.7 และ 11.79 ต่อครั้ง (เพิ่มร้อยละ 9.5) การเข้าถึงยาสมุนไพรของผู้ป่วยนอกรับบริการแพทย์แผนไทยร้อยละ 43.2 และ 47.73, มูลค่าจ่ายยาสมุนไพรผู้ป่วยนอกมีค่า5.8 และ 6.3 บาท/ครั้ง (เพิ่มร้อยละ 9.4) ตามลำดับ มูลค่าจ่ายยาสมุนไพรต่อครั้ง ผู้ป่วยนอกที่ได้รับบริการแพทย์แผนไทยมีค่า 23.2 และ 24.8 บาท/ครั้ง (เพิ่มร้อยละ 7.3) ตามลำดับ สรุป ผลการพัฒนาระบบ การใช้ยาสมุนไพรสำหรับหน่วยบริการสาธารณสุขนี้ สามารถเพิ่มศักยภาพบริการแพทย์แผนไทยอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามเกณฑ์
References
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). แผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไทสุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2555-2559). นนทบุรี: อุษาการพิมพ์. 2555.
คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. คู่มือการใช้ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2555. สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2555.
รัชนี จันทร์เกษ, มนนิภา สังข์ศักดา, ปรียา มิตรานนท์. สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์แผนไทย ปี 2552, 2554,2556. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [ออนไลน์]. 2559[เข้าถึงเมื่อ 30 ธ.ค.2560];10: 103-116.เข้าถึงได้จาก:
http://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4448/hsri_ journal_v10n2_p103.pdf?sequence=1&isAllowed=y
Stufflebeam DL, Madaus GF, Kellaghan T, (Eds). Evaluation models [online].c2000. [cited 2016 Apr 5] Available from: http://www.wiley.com.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ปารณัฐ สุขสุทธิ์, ยงศักดิ์ ตันติปิฏก, มณฑาวดี ครุธมีชัย, กุลพล คุปรัตน์. นโยบายการพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [ออนไลน์]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธ.ค.2560] เข้าถึงได้จาก: http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4212
มณฑกา ธีรชัยสกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการเขตบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;2559. หน้า 16-30.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานผลการพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทย เครือข่ายบริการที่ 8 (อีสานตอนบน)[ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธ.ค.2560] เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ