ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์, ปัจจัยทำนายบทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การติดเชื้อเอชไอวีและป่วยด้วยโรคเอดส์นับเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ ชีวิตของผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตดังกล่าว ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านร่างกาย และปัจจัยด้านจิตสังคม วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ในจังหวัดอุดรธานี วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลเดือนมกราคม 2561 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง: ประชากรที่ศึกษา จำนวน 160 คน เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ขึ้นทะเบียนในคลินิกนภาของ โรงพยาบาล จำนวน 18 แห่ง ในจังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านร่างกาย ภาวะ ซึมเศร้า แรงสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลการวิจัย: ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.5 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 40 – 49 ปี ร้อยละ 40.0 โดยมีอายุเฉลี่ย 39.82 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 46.9 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 47.5 ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ ในช่วง 5,000-9,999 ร้อยละ 38.1 โดยมีรายได้ต่อเดือน เฉลี่ย 8,445.03 บาท รับยาต้านไวรัสที่ รพ.อุดรธานี ร้อยละ 48.4 รพ.หนองหาน ร้อยละ 6.9 รพ.กุมภวาปี และ รพ.บ้านดุง ร้อยละ 6.2 ตามลำดับ ระยะเวลาได้รับเชื้อเอชไอวี เฉลี่ย 7.90 อยู่ในช่วง 1-5 ปี ร้อยละ 38.1 ปริมาณเม็ดเลือดขาว CD4 เฉลี่ย 507.67 ที่ค่า 500 ขึ้นไป ร้อยละ 99.4 เซลล์ต่อลบ.มม. ระยะเวลาที่ได้รับ ยาต้านไวรัส เฉลี่ย 6.60 อยู่ในช่วง 1-5 ปี ร้อยละ 47.9 ภาวะสุขภาพโดยรวมแข็งแรงดี ร้อยละ 95.0, ค่า viral load เฉลี่ย 14.50 copy/ml ที่ค่า 20 – 39 copy/ml ร้อยละ 11.2 ต่ำกว่า 20 copy/ml และ มากกว่า 49 copy/ml ร้อยละ 3.1 ตาม ลำดับ ภาวะซึมเศร้าโดยรวมเฉลี่ย 3.31 (mean3.31±3.60SD) ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 90.0 และซึมเศร้าระดับน้อย มาก ร้อยละ 86.2 ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 80.0 (mean 77.01± 13.22SD) คุณภาพ ชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 84.4 (mean 77.18± 13.36SD) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และสามารถทำนายคุณภาพ ชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 เรียงจากมีอิทธิพลมากไปน้อย ได้แก่ ภาวะ ซึมเศร้า รายได้ viral load และอายุ ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ Adjusted R2 = 0.283 ปัจจัยที่ไม่มีความ สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ได้แก่ ระยะเวลาที่ได้รับเชื้อเอชไอวี ปริมาณเม็ดเลือดขาวซีดีโฟ ระยะเวลาที่ได้รับยาต้านไวรัส และแรง สนับสนุนทางสังคม สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า รายได้ viral load และอายุ
References
Buseh AG, Kelber ST, Stevens PE, Park CG. Relationship of symptoms, perceived healthand stigma with quality with life among urban HIV- infected African American men. Public Health Nursing 2008; 25(5): 409-419.
อัญชลี อวิสิงสานนท์. ปัญหา/อุปสรรค ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อในประเทศไทย. ในสรุปประเด็นสำคัญในการเสวนาเอดส์ ครั้งที่ 3, [ออนไลน์].2555 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.redcross.or.th.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2553: 49-79.
กุลระวี วิวัฒนชีวิน. ผลการสะท้อนคิดด้วยตนเองต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต], เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541.
สำนักระบาดวิทยา. สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ ปี 2552-2554 [ออนไลน์].2554 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/report.php?cat=68.
สรกิจ ภาคีชีพธรรม. ปัญหาด้านนโยบายและงบประมาณ. ใน สรุปประเด็นสำคัญในการเสวนาเอดส์ ครั้งที่ 3 วันที่ 23 มกราคม 2555 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. [ออนไลน์].2555 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.redcross.or.th/node/15421.
อุสา โถหินัง. ต้นทุนการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย. วารสารโรคเอดส์ 2555; 22(4): 213-223.
อัจฉรา ตันศรีรัตนวงศ์. การเยียวยาด้านจิตวิญญาณของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่นับถือพุทธศาสนา. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.
Subramanian T, Gupte MD, Dorairaj Periannan V, Mathai AK. Psycho-social impact and quality of life of people living with HIV /AIDS in south India. AIDS Care 2009; 21(4): 473-481.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, ปริทรรศ ศิลปกิจ และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. คุณภาพชีวิตของคนไทยในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ: เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF– THAI). โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่, 2541.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ข้อมูลผู้มารับบริการ HIV/AIDS รายจังหวัด [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://napdl.nhso.go.th/NAPPWebReport/.
ธรณินทร์ กองสุข, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, พู่ระหงษ์ ไชยพันโท และสิรีธร บุตรวงศ์. การประเมินโรคซึมเศร้า: การทบทวนหลักฐานทางวิชาการ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท, 2550.
เนตรนภา คู่พันธวี. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาวะสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อน ในเขตความรับผิดชอบของศูนย์โรคเรื้อนเขต 12. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534.
Bhatia MS, Munjal S. Prevalence of Depression in People living with HIV/AIDS Undergoing ART and Factors Associated with it. JCDR 2014; 8(10): 1-4.
Uthman OA, Magidson JF, Safren SA, Nachega JB. Depression and adherence to antiretroviral therapy in low-, middle- and high-income countries. Curr HIV/AIDS Rep. 2014; 11(3): 291–307.
เกษรวี ละม้ายสกุล. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดสมุทรสาคร. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.
เปรมจิต ตันบุญยืน. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556: 40-77.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ