ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
ความรู้, พฤติกรรมการใช้ยา, เบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาระดับความรู้ ระดับพฤติกรรมการใช้ยาและความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะส่วนบุคคล และความรู้กับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลนาทม จังหวัดนครพนม จำนวน 298 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 74.16 อายุเฉลี่ย 60.97 ปี สถานภาพ สมรส ร้อยละ 80.54 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 94.63 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 66.10 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 3,000 บาท ร้อยละ 86.92 ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 95.30 ระยะเวลาที่ป่วยโดยเฉลี่ย 9.09 ปี มีภาวะแทรกซ้อน จากโรคเบาหวาน ร้อยละ 65.77 รักษาด้วยการกินยา ร้อยละ 67.79 ไม่มีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยเบาหวาน ร้อยละ 81.21 และไม่มีผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยาเบาหวาน ร้อยละ 83.89 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 98.60 พฤติกรรมการใช้ยาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.17 พฤติกรรมด้านความร่วมมือในการใช้ยาอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 96.98 ด้านการเก็บรักษาและด้านการจัดการปัจจัยที่ส่งผลให้ หยุดหรือปรับยาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 89.26 และ 86.58 ตามลำดับ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ระยะเวลาที่เจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r= 0.138, p =0.018) ส่วนความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การใช้ยาในภาพรวม เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าความรู้มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการใช้ยาด้านการเก็บรักษาอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r= -0.163, p = 0.005) และมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการใช้ยาด้านการจัดการ ปัจจัยที่ส่งผลให้หยุด/ปรับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.01 (r= -0.323, p = 0.005)
References
ยุพาพรรณ ช้างพลายงาม. การเปลี่ยนผ่านจากการใช้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทานเป็นยาฉีดอินซูลินของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่].นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดนครพนม 2559. [ออนไลน์]. นครพนม : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม; [เข้าถึงเมื่อ 19 พ.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.176.15/chronic/repdmptcontrolsugar.php
อิศรา จ่าพิชม. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองตาด ตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. [การศึกษาอิสระทางสาธารณสุข ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.
เนตรนภา ลาสังข์ และคณะ. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนโรคไต อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2560.; 10(36):46-52.
ศศิผกา สินธุเสน. ความรู้ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลกองบินบน. 23 แพทยสารทหารอากาศ. 2558;61(3):1-7.
คงฤทธิ์ วันจรูญ. ความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมและสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 ตำบลลำปาว อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6(3):130-139.
ประทุม สุภชัยพานิชย์. ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่รับประทานยาตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University. 2557; 1(1):1-12.
สริณญา พรพัฒนาจิรพันธิ. การศึกษาพฤติกรรมการใช้ยารักษาโรคเบาหวานและการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลหนองบัว. วารสารองค์การเภสัชกรรม 2557; 40(2): 3-12.
คลีพัตรา ไชยศรี และคณะ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์[ออนไลน์]. 2556. 31(3) 67-75. เข้าถึงได้จาก http://kanchanapisek.or.th /kp6/Ebook/BOOK35/pdf/ book35_8.pdf.
ธนกฤต มงคลชัยภักดิ์ และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือใน การใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานณ โรงพยาบาลตำรวจ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2558;7(1):47-59.
ฤทธิชัย พิมปา. พฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2557;30(3):14-25.
สิริมาส วงศ์ใหญ่. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ [ออนไลน์]. 2557. 30(2) 80-90. [เข้าถึงเมื่อ 23 พ.ค.2560]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/29285
มยุรีย์ ศรีสะอาด และคณะ. พฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ในคลินิกบริการของ รพสต.พื้นที่อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2558;23(1):39-48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ