การวิเคราะห์สถานการณ์การส่งเสริมการกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมโดยเร็ว ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดผนังหน้าท้องหอผู้ป่วยศัลยกรรมและศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กัญณภัทร กิตติ์ธนาดล หอผู้ป่วยศัลยกรรมและศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลสิรินธร

คำสำคัญ:

ผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดผนังหน้าท้อง, ภาวะท้องอืด, วันนอนโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : โรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยทางศัลยกรรม การรักษาส่วนใหญ่โดยการผ่าตัดแบบเปิด ผนังหน้าท้อง ซึ่งขั้นตอนการผ่าตัดต้องใช้ยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วร่างกายก่อนทำการผ่าตัดผ่านผนังหน้าท้อง หลังการผ่าตัดจะอาจมีการอักเสบ บวม และมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง ทำให้หลังผ่าตัด ผู้ป่วยมักมีภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการอืดแน่นท้อง แผลผ่าตัดอักเสบติดเชื้อ เป็นต้น จากสถิติการผ่าตัดผู้ป่วยในของหอผู้ป่วยศัลยกรรมและ ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่งมีจำนวนมากพบเป็นอันดับที่ 1 โดยในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 31 มีนาคม 2560 มีจำนวน 166 ราย พบว่ามีวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.59 ± 1.96 วัน จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปี 2557 ผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งมีค่าเฉลี่ยวันนอน 3.06 วันต่อครั้ง ดังนั้น ผู้ศึกษาในฐานะพยาบาลที่ปฏิบัติงานการพยาบาลในหอผู้ป่วยศัลยกรรมจึงมีความสนใจศึกษา สถานการณ์การส่งเสริม Early Ambulationภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดผนังหน้าท้องว่าเป็น อย่างไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมการกระตุ้นให้ทำกิจกรรมโดยเร็วตามลักษณะด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ วัสดุและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้ป่วย 2 กลุ่ม คือ 1. ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดผนังหน้าท้อง ระหว่าง เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2560 จำนวน 30 คน และ 2. พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมและศัลยกรรม กระดูก จำนวน 10 คน โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบจำนวนวันนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยใช้สถิติ t-test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา : พบว่าด้านโครงสร้างยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนร้อยละ 50, ด้านกระบวนการ มีการส่งเสริมกิจกรรม ร้อยละ 70 และด้านผลลัพธ์ ภาวะแทรกซ้อนที่พบในกลุ่มตัวอย่างได้แก่อาการอืดแน่นท้อง จำนวน 5 ราย วันนอนโรง พยาบาลหลังการผ่าตัดอยู่ระหว่าง 2-6 วัน มีค่าเฉลี่ยวันนอนที่ 3.37 ± 0.99 วัน มีค่าไม่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยวันนอน ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปี 2557 (p-value = 0.104)

References

ตะวัน แสงสุวรรณ. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2551.

ทัศนีย์ ตั้งตรงจิต. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร ทางเดินน้ำดีและตับอ่อน. กรุงเทพ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

เนาวรัตน์ สมศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลภาวะท้องอืดสำหรับผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม[รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: บริษัทยูแอนด์โอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด; 2550.

พรรณทิพย์ เกียรติสิน. การฟื้นตัวหลังผ่าตัดช่องท้อง: การวิเคราะห์วรรณกรรม[สารนิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.

รักชนก ชูเขียน, สุดศิริ หิรัญชุณหะ, วิภา แซ่เซี้ย, และทรงพร จันทรพัฒน์. ผลของโยคะต่อการฟื้นสภาพหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง. วารสารสภาการพยาบาล 2552;24:42-55.

อัจฉรา สุจาจริง. กิจกรรมการพยาบาลก่อนและหลังการผ่าตัดกับการฟื้นสภาพภายหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

Abrashi P, Berisha S, Fazliu I, Bajrami R, Sharku A, Tahiri A, et al. Emergency abdominal surgery in elderly patient. Journal of Kosova 2009;3: 44-52.

Allvin R, Berg K, Idvall E, and Nilsson U. Postoperative recovery: A concept analysis. The Authors Journal Compilation2007; 57: 552-558.

Hall JC, Tarala RA, Tapper J and Hall JL. Prevention of respiratory complications after abdominal surgery: a randomised clinical trial l. British medical journal[Internet].1996 [cited 2010 Feb 2]; 312: 148–52. Available from https://www.bmj.com/content/312/7024/148

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-30