การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดแบบนัดผ่าตัด ( Elective surgery) ของแผนกศัลยกรรม กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองคาย
คำสำคัญ:
รูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยผ่าตัด, การผ่าตัดแบบนัดผ่าตัดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์การงดหรือเลื่อนผ่าตัด เพื่อพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย และศึกษาผลของการนำรูปแบบไปทดลองใช้ วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมการ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือวางแผน ปฏิบัติ สังเกตผล และสะท้อนผล ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลผู้ปฏิบัติ จำนวน 28 คน และผู้ป่วยที่ต้องได้รับ การผ่าตัดจำนวน 795 คน ดำเนินการเดือนกรกฎาคม 2558 ถึงเดือน มกราคม 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบรวบรวมข้อมูลการงดหรือเลื่อน ผ่าตัดในโปรแกรมความเสี่ยงของโรงพยาบาล แบบสอบถามความคิดเห็น และความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน ทำการ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษา : ด้านอุบัติการณ์การงดหรือเลื่อนผ่าตัด พบมีการงดหรือเลื่อนผ่าตัด จำนวน 62 ราย จากทั้งหมด 130 ราย คิดเป็นร้อยละ 47 ซึ่งเกิดจากปัญหาด้านผู้ป่วย ร้อยละ 33.87 ด้านแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดร้อยละ 33.87 ด้าน อื่นๆ เช่นการลงข้อมูลผิดวันที่และเวลา ผิดแพทย์ ร้อยละ 16.13 การศึกษานี้ได้นำมาสู่การจัดทำรูปแบบการเตรียม ความพร้อมและแบบตรวจสอบความพร้อมของผู้ป่วย (Check list) และจากการนำรูปแบบการเตรียมความพร้อมของ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดแบบนัดผ่าตัดไปใช้ พบว่า ผู้ป่วยที่ถูกงดหรือเลื่อนผ่าตัดลดลงจากร้อยละ 16.06 เป็นร้อยละ 4.78 ผลของการนำไปใช้ด้านความเป็นไปได้ร้อยละ 88.49 มีความพึงพอใจร้อยละ 85 ข้อสรุป : รูปแบบการเตรีมความพร้อมของผู้ป่วยช่วยลด การงดหรือยกเลิกการผ่าตัดได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้จาก การศึกษาใช้เป็นแนวทางในการวางระบบการดูแลผู้ป่วยทีมารับการผ่าตัดให้ได้ตามมาตรฐาน
References
สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพ. กรุงเทพฯ:สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2558.หน้า 168-169.
ประณีต ส่งวัฒนา. การพัฒนาและประเมินผลความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับปวดทางช่องเหนือเยื่อดูรา. วารสารสภาการพยาบาล 2554 ; 26:115-125.
ช่อลดา พันธุเสนา,เนตรนภา คู่พันธวี. ตำราการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่1(ทางศัลยศาสตร์).สงขลา: ภาควิชากาiพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลา;2554.
อังควิภา มูลสุวรรณ. ผลการเยี่ยมก่อนรับยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแบบไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2553; 4:158-165.
อารีย์ แก้วทวี และคณะ . สาเหตุและอัตราการงดผ่าตัดของผู้ป่วยไม่เร่งด่วนที่ได้รับการบรรจุรายชื่อในตารางผ่าตัดในเวลาราชการของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2557;32:327-337.
วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจและคณะ. การศึกษาอัตราและเหตุผลของการเลื่อนผ่าตัดผู้ป่วยของโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารศรีนครินทร์ 2543; 17: 153-169.
รัตนา พอพิน ,เรมวลนันท์ ศุภวัฒน์และอรอนงค์ วิชัยคำ.การพัฒนากระบวนการจัดการเตรียมผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่[อินเตอร์เน็ต]. 2552[เข้าถึงเมื่อ 12 ม.ค. 2558].เข้าถึงได้จาก: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/15967(on line)
อัญชนา แก้วคำ. การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยผ่าตัดกระดุกสันหลัง.[อินเตอร์เน็ต].2556 [เข้าถึงเมื่อ 12 ม.ค. 2558].เข้าถึงได้จาก:http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2555/nuadm30955uk_abs.pdf
โรงพยาบาลหนองคาย. สถิติงานห้องผ่าตัด. หนองคาย: โรงพยาบาลหนองคาย; 2556.(เอกสารอัดสำเนา)
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี 2558; 2: 31-48.
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร, การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับพยาบาลวิชาชีพ.ขอนแก่น ; โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ