การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองของประชาชนในจังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
ปัจจัยเสี่ยง, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ถึงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ของประชาชนในจังหวัดนครพนม โดยศึกษาในประชาชนจังหวัดนครพนม ที่มีคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดคือ ประชาชน ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีประวัติมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครพนมมากกว่า 1 ปี มีความสมัครใจ และยินดีเข้าร่วมการวิจัย ในครั้งนี้ จำนวน 500 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม (questionnaires) ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ประกอบ ด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน สิทธิการรักษา การป่วยเป็นโรค หลอดเลือดสมอง และประวิติโรคหลอดเลือดสมองของบุคคลในครอบครัว และแบบสอบถามปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค หลอดเลือดสมอง ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ .78 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม 2559 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยการวิเคราะห์ทีละปัจจัย (univariate analysis) พบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ปัจจัยทางโรคความดันโลหิตสูง OR = 101.165, 95% CI of OR = 45.410-225.373, p = 0.000, ปัจจัยทางไขมันในหลอดเลือดสูง OR = 4.267, 95% CI of OR = 1.927-9.480, p = 0.000 และปัจจัยทางโรคเบาหวาน OR = 2.198, 95% CI of OR = 1.084- 4.457, p = 0.026 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากการวิเคราะห์แบบถดถอยลอจิสติก (multiple logistic regression analysis) จากการศึกษาพบว่า โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, OR = 144.943, 95% CI of OR = 56.542- 380.778, p = 0.000 และ OR = 143.533, 95% CI of OR = 57.864-392.614, p = 0.000 ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองของประชาชนจังหวัดนครพนม ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งประชาชนควรระมัดระวังในปัจจัยดังกล่าว โดยเน้นการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงทางโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงเพื่อป้องกันการเกิด โรคหลอดเลือดสมองต่อไป
References
Hanley, D. F., & Hacke, W. Critical care and Emergency Medicine Neurology. Stroke. 2012; 3(35): 365-366.
สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติปีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง2555. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. กรุงเทพ; 2555; 12-19.
สถาบันประสาทวิทยากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. 2550; 22-27.
ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุลและ สมนึก สังฆานุภาพ. อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สร้างสื่อจำกัด. กรุงเทพ. 2550; 55-61.
นิพนธ์ พวงวรินทร์ . โรคหลอดเลือดสมอง. เรือนแก้วการพิมพ์. กรุงเทพฯ: 2554; 256-266.
Hacke, W., Kaste, M., Olsen, T. S., Orgogozo, J. M., & Bogousslavsky, J. European stroke initative recommendation for stroke management. European Journal of Neurology 7, 2003; 607-623.
Knalessi, A. Alexander., et al. Acute stroke intervention. JACC Cadiovascular Interventions, 2011. 2(4),261-269.
กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. ฐานข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. นครพนม; 2560.
กิ่งแก้ว ปาจรีย์. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง:ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง. งานตำราวารสารและสิ่งพิมพ์ สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทย์ศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร; 2547.
นิจศรี ชาญณรงค์. การดูแลรักษาภาวะสมองขาดเลือด. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์. กรุงเทพ; 2550.
น้อมจิตร นวลเนตร และเดือนเพ็ญ ศีรขา. ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้มีภาวะเสี่ยงในชุมชนสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 24(3), 2555; 318-326.
Rosamond, W., Flegal, K., Furie, K., Go, A., Greenlund, K., Haase, N., et al. Heart disease and stroke statistics 2008 update: A report from the American Heart Association Statistics Committee and Stroke Statistics Subcommittee. Circulation, 117, 2008; 25-146.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ