การพัฒนาระบบการบริหารจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยที่ Warfarin clinic โรงพยาบาลอุดรธานีและโรงพยาบาลเครือข่าย

ผู้แต่ง

  • วิสิษฐ์ วิจิตรโกสุม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

Warfarin clinic, การพัฒนาระบบ, การบริหารจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการบริหารจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยที่ Warfarin clinic โรงพยาบาล อุดรธานีและโรงพยาบาลเครือข่าย วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2561 โดยวิเคราะห์ SWOT Matrix, 6 Building Blocks และสร้างแนวปฏิบัติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย จำนวน 282 คน และบุคลากรใน Warfarin clinic จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามบุคลากร แบบประเมินลักษณะผู้ป่วยและแบบบันทึกผลงานบริการ ระหว่าง ปีงบประมาณ 2558-2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปวิเคราะห์แบบสามเส้า และสรุปข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย : การมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพที่ warfarin Clinic ระหว่างปี 2558-2559 โดยการช่วยเหลือ ของโรงพยาบาลอุดรธานี ร้อยละ 96.7 ประชุมจัดทำแผน ร้อยละ 93.3 และมีส่วนร่วมในกระบวนการ ร้อยละ 90.0 ตามลำดับ สาเหตุการป่วยส่วนใหญ่เป็นโรค ACS (Acute coronary syndrome) ร้อยละ 88.7, IHD (ischemic heart disease) ร้อยละ 9.2 และ CAD (Coronary artery disease) ร้อยละ 2.1 ตามลำดับ เพศหญิง ร้อยละ 81.2, อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 52.8 (mean59.52, 11.07SD), BMI ค่าดีร้อยละ 100 ความดันโลหิต ≥ 140/90 ร้อยละ 66.7, HbA1c ≥ 7% ร้อยละ 71.3 โคเลสเตอรอล < 200 mg/dl ร้อยละ 54.6, LDL ≥ 100 mg/dl ร้อยละ 58.5, HDL < 40 mg/dl ร้อยละ 51.1, INR (2-3.5) อยู่ในช่วงเป้าหมาย ร้อยละ 57.4, INR < 2.0 ร้อยละ 29.1 และ INR (ค่า > 3.5) ร้อยละ 13.5 ตามลำดับ โดยรวมมีความเสี่ยงต่ำต่อ Thromboembolism ร้อยละ 51.1, ผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 51.1, อายุ 65-74 ปี ร้อยละ 20.6 และความดันโลหิตสูง ร้อยละ 12.8 ตามลำดับ เสี่ยงการเกิดภาวะเลือดออกในระดับปานกลาง ร้อยละ 79.4, เสี่ยงเลือดออกจาก Labile INR ร้อยละ 45.0, Stroke ร้อยละ 19.9, อายุ > 65 ปี ร้อยละ 11.7 ตามลำดับ ผล งานบริการผ่านเกณฑ์ ได้แก่ ความครอบคลุมผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin ร้อยละ 85.26 และ 94.32 (เพิ่มร้อยละ 9.06), ความครอบคลุมผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์รับบริการ (Cardio medicine) ร้อยละ 99.0 และ 99.0, ผู้ป่วยมีความรู้ในการใช้ยา ร้อยละ 80.36 และ 82.75 (เพิ่มร้อยละ 2.39), good compliance ร้อยละ 81.93 และ 92.48 (เพิ่มร้อยละ 10.55), major bleeding ร้อยละ 0.41 และ 0.32 (ลดร้อยละ 0.09), minor bleeding ร้อยละ 4.41 และ 3.62 (ลดร้อยละ 0.79) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้แก่ ความครอบคลุมผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์รับบริการและผู้ป่วยที่มีค่า INR ที่อยู่ในช่วงเป้าหมาย สรุป : การพัฒนาระบบการจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยที่ Warfarin clinic โรงพยาบาลอุดรธานีและโรงพยาบาลเครือ ข่ายครั้งนี้ ทำให้ผู้ป่วยมีค่า INR อยู่ในช่วงเป้าหมายเพิ่มขึ้น

References

รติกร เมธาวีกุล และ คมสิงห์ เมธาวีกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการควบคุมระดับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่รับยา Aspirin และ Clopidogrel ร่วมกับ Warfarin. วารสารกรมการแพทย์ 2560;42:59-65.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาโรคหัวใจ สถานการณ์ไทยอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2558

โรงพยาบาลอุดรธานี. เวชระเบียนผู้ป่วย Warfarin clinic และระบบข้อมูลอิเลคโทรนิค. โรงพยาบาลอุดรธานี, 2560.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร, สตางค์ ศุภผล, ทัศนีย์ ญาณะ, รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์, อรอนงค์ ดิเรกบุษราคม, ผการัตน์ ฤทธิ์ศรีบุญ. การจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังกรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง, 2553.

สุรีรัตน์ สุวัชรังกูร. Roles of New Oral Anticoagulants in Stroke Patients with Nonvalvular Atrial Fibrillation. โรงพยาบาลรามาธิบดี. J Thai Stroke Soc. 2016; 15 (2): 105-112.

ธารารัตน์ ส่งสิทธิกุล และ อรวรรณ อนามัย. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันที่รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560: 142-153.

วันทนีย์ มามูล, วรรณนิภา ลีเลิศ, สนิทพงษ์ ฟองจันทร์สม, กมลรัตน์ วิจารณไพบูลย์, ดรุณี มานุจา, ลัดดารัตน์ พวงสด และคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรงพยาบาลปราสาท. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์, 2556: 151-155.

เฟื่องรักษ์ ร่วมเจริญ. ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในโรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2557; 3: 5-18.

รติกร เมธาวีกุล และ คมสิงห์ เมธาวีกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการควบคุมระดับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่รับยา Aspirin และ Clopidogrel ร่วมกับ Warfarin. วารสารกรมการแพทย์ 2560; 42: 59-65.

Nelson WW, Desai S, Damaraju CV, Lu L, Fields LE, Wildgoose P and Schein JR. International Normalized Ratio Stability in Warfarin Experienced Patients with Nonvalvular Atrial Fibrillation. Am J Cardiovasc Drugs 2015; 15: 205–211.

An JJ, Niu F, Zheng C, Rashid N, Mendes R, Dills D, et al. Warfarin Management and Outcomes in Patients with Nonvalvular Atrial Fibrillation Within an Integrated Healthcare System. Chest. 2015; 148: 64-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-30