อัตราการตายภายใน 30 วัน ของผู้ป่วยที่มีภาวะ Septic Shock ภายหลังการให้สารน้ำปริมาณไม่เกิน 1,500 มิลลิลิตร เปรียบเทียบกับการให้สารน้ำปริมาณมากกว่า 1,500 มิลลิลิตร

ผู้แต่ง

  • ศุภโชค เข็มลา กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

Septic Shock, IV Fluids, Mortality Rate, LOS, Costs

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : โรคติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อค (Septic shock) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูง เป็นอันดับ ต้นๆ ของจังหวัดนครพนม หนึ่งในรักษาพยาบาล ที่ได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์ ได้แก่การให้สารน้ำที่รวดเร็ว เหมาะสม และเพียงพอ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าแนวทางมาตรฐาน แนะนำให้เริ่มต้นให้สารน้ำภายใน 1 ชั่วโมง โดยการให้สาร น้ำ 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับ 1,500 มิลลิลิตร ต่อคนที่น้ำหนัก 50 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย แต่ยังไม่มีข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการตายใน 30 วัน ของผู้ป่วย Septic shock ที่ได้รับสารน้ำปริมาณไม่เกิน 1,500 มิลลิลิตร เปรียบเทียบกับได้รับสารน้ำปริมาณมากกว่า 1,500 มิลลิลิตร วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงประสิทธิผลการรักษา (Therapeutic research) รูปแบบ retrospective cohort design โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนกรกฎาคม 2560 ในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัย Septic shock ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพนม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ได้รับสารน้ำปริมาณไม่เกิน 1,500 มิลลิลิตร กลุ่มสองได้รับสารน้ำปริมาณมากกว่า 1,500 มิลลิลิตร วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปด้วย t-test และ exact probability test, วิเคราะห์อัตราการตาย ระยะเวลาการนอน โรงพยาบาล (LOS) และค่ารักษาพยาบาล (cost) ด้วยสถิติ multivariable Poisson regression นำเสนออัตราการตาย ภายใน 30 วัน ด้วย Survival curve from Cox’s model โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรม ในมนุษย์โรงพยาบาลนครพนมแล้ว ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วย Septic shock ทั้งหมดจำนวน 268 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำปริมาณ ไม่เกิน 1,500 มิลลิลิตร จำนวน 107 ราย และมากกว่า 1,500 มิลลิลิตร จำนวน 161 ราย โดยสองกลุ่มมีลักษณะเบื้องต้น (Characteristics) ที่เหมือนกันคือ เพศ โรคประจำตัว (Diabetes mellitus, Dyslipidemia, Gout, Liver disease, Heart disease, Lung disease, HIV infection, Malignancy) แหล่งติดเชื้อ(Sources) การใช้ยากระตุ้นความดัน(Inotropes/ Vasopressors) ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เฉลี่ย (Adjusted RW) และพบว่ามีความแตกต่างกันคือ อายุ โรคประจำตัว (Hypertension, Chronic kidney disease และ Hematological disease:Thalassemia) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ การ(ค่า Hematocrit, ค่า Blood urea nitrogen, ค่า Creatinine) ส่วนผลลัพธ์(Outcomes) พบว่าระยะเวลาในการ นอนโรงพยาบาล (LOS) และค่ารักษาพยาบาล (Costs) ไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่พบว่าอัตราการตาย (Mortality rate) ของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI, 0.30, 0.70, p < 0.001) และหลังจากปรับความ แตกต่างของข้อมูลดังกล่าวแล้ว พบว่าภายใน 30 วันผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำปริมาณมากกว่า 1,500 มิลลิลิตร มีอัตราการตาย ช้ากว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำปริมาณไม่เกิน 1,500 มิลลิลิตร ข้อสรุป : จากผลการศึกษาดังกล่าว จึงได้แนะนำว่าผู้ป่วยที่มีภาวะ Septic shock ทุกราย ไม่ว่าจะมีโรคประจำตัว (Underlying disease) หรือไม่ก็ตาม ควรได้รับการให้สารน้ำในปริมาณที่มากกว่า 1,500 มิลลิลิตร แต่ทั้งนี้ควรพิจารณา จากการประเมินผู้ป่วยแรกรับ, พยาธิสภาพของโรค, โรคประจำตัว และการประเมินผู้ป่วยระหว่างที่มีการให้สารน้ำ (Assessment) ประกอบการตัดสินใจด้วย

References

Rivers E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, et al. Early Goal – directed therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. N Engl J Me 2001;345:1368-77.

Dellinger RP, Carlet JM, Masur H, Gerlach H, Calandra T, Cohen J, et al. Surviving Sepsis Campaign guidelines for management of severe sepsis and septic shock. Crit Care Med 2004; 32: 858-73.

Dellinger RP, Levy MM, Carlet JM, Bion J, Parker MM, Jaeschke R, et al. Surviving Sepsis Campaign : international guidelines for management of severe sepsis and septic shock: 2008. Intensive Care Med 2008; 34: 17-60.

Nguyen HB, Corbett SW, Steele R, Banta J, Clark RT, Hayes SR, et al. Implementation of a bundle of quality indicators for the early management of severe sepsis and septic shock in associated with decreased mortality. Crit Care Med 2007; 35: 1105-12.

Vincent JL, Gerlach H. Fluid resuscitation in severe sepsis and septic shock: an evidencebased review. Crit Care Med 2004; 32 (11 Suppl) : S451-4.

Kelm DJ, Perrin JT, Cartin-Cebra R, Gajic O, Schenck L, kennedy CC(2015) Fluid overload in patients with severe sepsis and septic shock treated with Early-Goal Directed Therapy is associated with increased acute need for fluid-related medical interventions and hospital death. Shock 43: 68-73.

Boyd JH, Forbes J, Nakada T, Walley KR, Russell JA (2011). Fluid resuscitation in septic shock: a positive fluid balance and elevated central venous pressure increase mortality. Crit Care Med 39: 259-265.

Glassford NJ, Eastwood GM, Bellomo R (2014). Physiological changes after fluid bolus therapy in sepsis: a system review of contemporary data. Crit Care 18: 2557

Marik PE, Linde-Zwirble WT, Bittner EA, Sahatjian J, Hansell D (2017). Fluid administration in severe sepsis and septic shock, patterns and outcomes: an analysis of a large national database. Intensive Care Med (2017); 43: 625-632.

Permpikul C, Tongyoo S, Ratanavat R, Wilachone W, Poompichet A. Impact of Septic Shock Hemodynamic Resuscitation Guidelines on Rapid Early Volume Replacement and Reduce M. J Med Assoc Thai 2010; 93(Suppl.1): S102-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-30