เปรียบเทียบการใช้ gauze, sponge และ swab ในการทำแผลแบบระบบสุญญากาศผู้ป่วยแผลเรื้อรัง Wound Center โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • อรรจจิมา ศรีชนม์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมเอื้ออารีย์ (Wound Center) กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม
  • ยุพิน เชื้อพันธุ์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมเอื้ออารีย์ (Wound Center) กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม
  • ชัญญานุช อินทร์ติยะ หอผู้ป่วยศัลยกรรมเอื้ออารีย์ (Wound Center) กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

Negative Pressure Wound Therapy, Gauze, Sponge, Swab, Wound, Granulation, Pain, Dressing

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุปกรณ์ที่มีอยู่ในบริบทของโรงพยาบาล ซึ่งมี 3 ชนิด คือ gauze, sponge และ swab ใช้ในการ apply negative pressure wound therapy เพื่อเปรียบเทียบการงอกขยายของเนื้อแผล, ระยะเวลาการ หายของแผล, ระดับความปวดขณะทำแผล และค่าใช้จ่ายในการรักษา โดยใช้ gauze, sponge และ swab ในการ ทำแผลแบบระบบสุญญากาศ ในผู้ป่วยแผลเรื้อรัง Wound Center โรงพยาบาลนครพนม วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษา therapeutic research รูปแบบ randomized ที่ Wound Center โรง พยาบาลนครพนม ในผู้ป่วยกลุ่ม chronic wound ที่ได้รับการ management wound ด้วย negative pressure wound therapy ระหว่างเดือน กันยายน 2560 ถึง มีนาคม 2561 จำนวน 63 ราย ศึกษาในผู้ป่วยกลุ่ม chronic wound เปรียบเทียบการใช้ gauze (จำนวน 21 ราย), sponge (จำนวน 21 ราย) และ swab (จำนวน 21 ราย) วิเคราะห์ ลักษณะทั่วไปด้วย one-way ANOVA และ exact probability test วิเคราะห์การงอกขยายของเนื้อแผล, ระยะเวลา การหายของแผล, ระดับความปวดขณะทำแผล และค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วย multivariable regression เพื่อปรับ ความแตกต่างด้าน ชนิดของแผล และ โรคประจำตัว ผลการศึกษา : ภายหลังปรับ type of wound ที่แตกต่างกัน และโรคประจำตัวที่มีแนวโน้มต่างกัน การใช้ gauze apply negative pressure wound therapy ทำให้ผู้ป่วยมีความปวดขณะทำแผล และค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยที่สุด (p < 0.001) ระยะเวลาการหายของแผลเฉลี่ย 13 วัน ข้อสรุป : การใช้ gauze ทำแผลแบบระบบสุญญากาศ ทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดขณะทำแผล และค่าใช้จ่าย ในการรักษาน้อยที่สุด ในขณะที่ การใช้ sponge ใช้ระยะเวลาการหายของแผลน้อยที่สุด แต่มีความปวดขณะทำแผล มากที่สุด การเลือกใช้อุปกรณ์ทำแผล จึงควรขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล ควรรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

References

Wysocki AB, Staiano-Coico L, Grinnell F. Wound fluid from chronic leg ulcers contains elevated levels of metalloproteinases MMP-2 and MMP-9. J Invest Dermatol 1993; 101:64.

งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลนครพนม. สถิติจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการค่าใช้จ่ายในการักษา: รายและจำนวนวันนอนโรงพยาบาล:รายที่เข้ารับการรักษา ใน Wound center โรงพยาบาลนครพนม. นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม; 2560.

Argenta LC, Morykwas MJ. Vacuum-assisted closure : a new method for wound control and treatment : clinical experience. Ann Plast Surg 1997; 38(6): 563-77.

Argenta LC, Morykwas MJ, Marks MW, et al. Vacuum-assisted closure: state of clinic art. Plast Reconstr Surg 2006;117:27S-42S.

Malmsjo M1, Ingemansson R. Effects of green foam, black foam and gauze on contraction, blood flow and pressure delivery to the wound bed in negative pressure wound therapy. J Plast Reconstr Aesthet Surg 2011; 64(12):e289-96.

Marks MV, Argenta LC, Defranzo A5. Principles and applications of Vacuum-assisted closure (VAC).in: Wefnzweig J, editor. Plastic Surgery Secrets Plus. 2nd ed. Philadephia: Mosby Elsevier; 2010: p. 38 – 44.

กมลวรรณ เจนวิถีสุข. Negative Pressure Wound Therapy (NPWT) :Srinagarind Med J, 2013; 28 : 32 – 35.

วันเฉลิม จงสิริวัฒนา. Collective review Negative Pressure Wound Therapy (NPWT). สงขลา: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ สงขลานครินทร์; 2559.

อาทิ เครือวิทย์. Wound management. ใน: เอกสารการสอนสำหรับนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 4 WOUND MANAGEMENT. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบารามาธิบดี; 2554. หน้า.3 – 4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28