การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์เชื้อดื้อยา ในโรงพยาบาลบึงกาฬ ปี 2558-2560
คำสำคัญ:
สถานการณ์เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลบึงกาฬบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลบึงกาฬและมีระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาเพื่อลดการ ใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วย วัสดุและวิธีการศึกษา : ศึกษาข้อมูลอัตราการติดเชื้อผู้ป่วยในโรงพยาบาลบึงกาฬและเก็บตัวอย่างผู้ป่วยที่มีการ ส่งตรวจด้านชีววิทยา ตั้งแต่ ตุลาคม 2557 – กันยายน 2560 เพื่อทำการเพาะเลี้ยงเชื้อและทดสอบความไวของยา ประมวลผลโดยการใช้ program M Lab (CLSI) ผลการศึกษา : จากการศึกษา อัตราการติดเชื้อผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบึงกาฬ ในปี 2558-2560 พบว่า 2.293ครั้ง /1000วันนอน, 1.66 ครั้ง/1000 วันนอน และ 0.462 ครั้ง/1000 วันนอนตามลำดับ และจากการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา ต้านจุลชีพในโรงพยาบาลบึงกาฬ ในช่วงเลาเดียวกัน S. aureus ดื้อต่อยากลุ่ม Methicillin 4.2%, 3.8%, 4.8% A. buamannii ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenem 54.1%, 68.9%, 68.7% P. aeruginosa ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenem 38.7%, 34.7%, 25.7% E.coli ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenem 0%, 0.3%, 2.4% K. pneumoniae ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenem 5.3%, 12.8%, 31.1% K. pneumoniae ดื้อต่อยากลุ่ม Cephalosporin gen3 27.3% , 35.7%, 50.2% E.coli ดื้อต่อยากลุ่ม Cephalosporin gen3 42.1%, 36.8%, 37.6% และ P. aeruginosa ที่ดื้อต่อยากลุ่ม Piperacillin/Tazobactam 13.5%, 18.2%, 18.4% ตามลำดับ ข้อสรุป : อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลบึงกาฬจะลดลง แต่ปัญหาเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้น เชื้อดื้อยาที่ เฝ้าระวังในโรงพยาบาลบึงกาฬที่สำคัญได้แก่ เชื้อ Acinetobacter buamannii, E.coli, K. pnuemoniae, P. aeruginosa ที่ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenem ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาลซึ่งการติดเชื้อนี้มี อัตราการเสียชีวิตสูงเนื่องจากยา Colistin เป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูง
References
วัชรินทร์ รังสีภานุรัตน์, อิสยา จันทร์วิทยานุชิต, พรทิพย์ พึ่งม่วง, สมหญิง งามอุรุเลิศ, สุมลรัตน์ ชูวงษ์วัฒนะ. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล.ใน: การวินิจฉัยโรคติดเชื้อแบคทีเรียทางการแพทย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553. 253-91.
สุนัย จันทรฉาย. สถานการณ์และการจัดการเชื้อดื้อยาจุลชีพในประเทศไทย. วารสารแพทย์เขต 4-5 2560;36(3):105-7.
ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล.สถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ. ใน: สรุปรายงาน การเฝ้าระวังประจำปี 2559. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560. หน้า21-24.
ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. Antimi crobial Resistance 2000-2016.นนทบุรี:สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2016.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ