ผลของการใช้โปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการไหลของน้ำนม และระยะการมาของน้ำนมเต็มเต้าในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง
คำสำคัญ:
โปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนม, มารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง, ระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม, ระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการไหลของน้ำนมและระยะการ มาของน้ำนมเต็มเต้า วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่างเป็น มารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตาม โปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนม จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนม 2) เครื่อง มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางสูติศาสตร์ แบบบันทึกระยะการเริ่มไหล ของน้ำนม และแบบบันทึกระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไค-สแควร์ และสถิติทดสอบ independent t-test ผลการศึกษา : กลุ่มทดลองมีระยะเวลาการไหลของน้ำนมและมีระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าเร็วกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =4.914, p = 0.000) และ (t =5.988, p = 0.000) ตามลำดับ ข้อสรุป : ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนมนี้มีประสิทธิภาพและควรนำมาใช้เพื่อส่งเสริม การหลั่งน้ำนมในระยะหลังคลอด
References
World Health Organization. World health statistics 2015 [Internet]. Geneva: WHO; 2016 [cited 2016 Feb 15]. Available from:http://www.who.int/gho/publications/world_health_statistics/2015/en/
United Nations Children’s Fund. The state of the world’s Children 2014 in numbers: every children counts [Internet]. 2014 [cited 2014 Oct 17]. Available from: http://www.unicef.org/gambia/SOWC_report_2014.pdf.
United Nations Children’s Fund. The State of the world’s children 2016: a fair chance for every child [Internet]. 2016 [cited 2016 Jul 18]. Available from:http://www.unicef.org/publications/files/UNICEF_SOWC_2016.pdf.
Kaewsarn P, Moyle W. Breastfeeding duration of Thai women. Aust Coll Midwives Inc J. 2000; 13(1):21-6.
นิพาพร วรมงคล, อิสรีย์ เจตน์ประยุกต์ และสมพงษ์ สกุลอิสริยาภรณ์, (2554). สถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประเทศไทย ปี 2552-2553. วารสารวิชาการสาธารณสุขม 20(5), 721-31.
Zanardo, V., Svegliado, G., Cavillin, F., Giustardi, A., Cosmi, E., Litta, P., & Trevisanuto, D.(2010). Elective cesarean delivery: Dose it have a negative effect on breast feeding?.Birth, 37(4), 275-79.
งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลนครพนม. สรุปสถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลนครพนม ปี 2559-2560. นครพนม : งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลนครพนม; 2560 (เอกสารอัดสำเนา)
รุ่งฤดี จีระทรัพย์, นวลจันทร์ ไพบูลย์บรรพต, สมพรพานิคม. วิธีการคลอดและการมาของน้ำนมเต็มเต้าในมารดาหลังคลอด.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2554;19(2), 270-78.
กนกวรรณ โคตรสังข์. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. การจัดท่าในการให้นมและการให้ลูกอมหัวนม. ใน: กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, นันทิยา วัฒายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียรและสุดาภรณ์ พยัคเรืองการ,บรรณาธิการ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ: ปรีชาพาณิชย์; 2554.หน้า 143-53.
World Health Organization [WHO]. Baby-friendly hospital initiative: Revised updatedand expanded for integrated care: Section 3 breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital a 20-hour course for maternity staff [Internet]. 2009 [cited 2014 Oct 17]. Retrieved from:http://www.who.int/nutrition/publications/… /index.htmal.
ชุติมาพร ไชยนภากุล, มณฑา ไชยะวัฒน์, วิวัฒน์ คณาวิฑูรย์, สุวรรณี นาคะ, วิมล มิตรนิโยดม, สุทธารัตน์ แป้นลาภ. ผลของการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอดที่ถูกนวดประคบเต้านมด้วยกระเป๋าน้ำร้อนและลูกประคบสมุนไพร. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2554;,3(3):76-91.
ศศิธร ภักดีโชติ, รจนา โมนาราช, เปล่งฉวี สกนรัตน์. ผลของการใช้โปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการหลั่งน้ำนมของมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2553; 19(2):279-87.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ