ผลของการใช้ Sepsis Clinical Pathway in Surgery NKP hospital (SCPS) ในผู้ป่วยสูงอายุด้านศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยสูงอายุ, Severe Sepsis, Sepsis, Sepsis Clinical Pathway in Surgery NKP Hospital (SCPS)บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเกิด severe sepsis และระยะเวลาการเกิดsevere sepsis ก่อน และหลังการนำ Sepsis Clinical Pathway in Surgery NKP Hospital (SCPS) มาใช้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุศัลยกรรมที่มี ภาวะ Sepsis วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงประสิทธิภาพ รูปแบบ historical controlled intervention ในผู้ป่วย สูงอายุที่มีภาวะ Sepsis โดยกลุ่มแรกไม่ใช้ SCPS ในการดูแล เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 ถึงเมษายน 2559 จำนวน 54 ราย กลุ่มสอง ใช้ SCPS ในการดูแล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือน ตุลาคม 2559 ถึงเมษายน 2560 จำนวน 60 ราย ในผู้ป่วยที่เข้ารักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง ศัลยกรรมชาย ศัลยกรรม 3 หอผู้ป่วยพิเศษ 3 และหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโรงพยาบาลนครพนม เปรียบเทียบข้อมูลก่อน และหลังการใช้ SCPS ด้วยสถิติ t-test, exact probability test วิเคราะห์การ turn ไปเป็น severe sepsis ด้วยสถิติ multivariable risk ratio regression และวิเคราะห์ระยะเวลาก่อนเกิด severe sepsis ด้วย multivariable Gaussian regression เพื่อปรับลักษณะที่แตกต่างกันในผู้ป่วยสองกลุ่ม ผลการศึกษา : ผู้ป่วยสูงอายุที่มี ภาวะ Sepsis จำนวน 114 ราย ไม่ได้รับการดูแลตาม SCPS จำนวน 54 ราย ได้รับการดูแลตาม SCPS จำนวน 60 ราย เพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 60-69 ปี มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไตวาย ตำแหน่งการติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ รองลงมา คือ แผลติดเชื้อ พบว่ากลุ่มได้รับการดูแลตาม SCPS เกิด severe sepsis ลดลงเหลือ 0.49 เท่าอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ และร่นระยะเวลาการตรวจพบ severe sepsis ได้เร็วขึ้น 2.1 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อสรุป : จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงแนะนำให้ควรพิจารณานำ SCPS มาดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนมทุกราย เพื่อช่วยลดอัตราการเกิด severe sepsis และระยะเวลาการเกิด severe sepsis นำไป สู่การลดอัตราตายและทุพพลภาพ
References
Wright BE, West MA. Sepsis and Multiple Organ Dysfunction: A multidisciplinary approach. London: Elsevier science limited; 2002.
Esteban A, Frutos-Vivar F., Ferguson ND, Pe flueias O, Lorente JA, Gordo F, et al. Sepsis incident and outcome: Contrasting the intensive care unit with the hospital ward. Crit Care Med 2007; 35(5): 1284-1290.
รัฐภูมิ ชามพูนท, ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, บุญส่ง พัจนสุนทร. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ.2558 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2559].
เข้าถึงได้จาก: http://www.med.nu.ac.th/fom/th/nuhoffice/file_document/224_Full%20Report%20Thailand%20sepsis%20guideline%202558%20draft%20new.pdf
งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลนครพนม. สถิติจำนวนผู้ป่วยกลุ่มภาวะ sepsis ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนม.นครพนม. โรงพยาบาลนครพนม; 2559.
งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลนครพนม. สถิติอัตราการตายของผู้ป่วยจากภาวะsevere sepsis ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนม.นครพนม. โรงพยาบาลนครพนม; 2559.
Kumar A, Roberts O, Wood K, Light B, Parrillo J, Snarma S, et al. Duration of hypotension before initiation of effective antimicrobial therapy is the determinant of survival in human septic shock. Crit Care Med 2006; 34(6): 1589-1596.
Picard KM, O’ Donoghue SC, Young-Kershaw DA, Russell KJ. Development and implementation of a Multidisciplinary Sepsis Protocol. Critical Care Nurse 2006; 26(3): 43- 56.
อรอุมา ท้วมกลัด, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. ความรู้ในการประเมินและการจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. รามาธิบดีสาร 2557; 20(2): 206-220.
Tromp, M., Hulscher, M., Bleeker-Rovers, C.P., Peters, L., van den Berg, D.T., Borm, G.F., et al. The role of nurses in the recognition and treatment of patients with sepsis in the emergency department: A prospective before
and after intervention study. International Journal of Nursing Studies 2010; 47: 1464-1473.
วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ, จิราพร น้อมกุศล, รัตนา ทองแจ่ม, ธนชัย พนาพุฒิ. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32(2): 25-36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ