ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมและเครือข่ายการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพช่องปาก มีผลต่อดัชนีค่าเฉลี่ยโรคฟันผุ ถอน อุด ในนักเรียนประถมศึกษา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ พูลทอง โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, เครือข่าย, การดูแลสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปาก และเครือข่ายการมีส่วนร่วมดูแล สุขภาพช่องปากที่ส่งผลต่อโรคฟันผุในนักเรียนประถมศึกษา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (cross sectional descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 264 คน และ เครือข่าย จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บข้อมูลของกลุ่มนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ ช่องปากค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89, 0.94, 0.93 ตามลำดับและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของกลุ่มเครือข่าย คือ แบบสอบถามการมีส่วนร่วม ค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 แบบบันทึกสภาวะฟันผุ และคู่มือโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เก็บข้อมูลเดือนสิงหาคม 2561 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติเชิงอนุมานโดยวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกแบบหลายชั้น และ อธิบายด้วยค่า adjust Odds ratio และ 95%Confidence interval ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย : พบว่าในกลุ่มนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนความรู้ด้านพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ ช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (mean8.44±SD2.75) โดยรวมคะแนนทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 91.3 (mean48.95±SD1.18) โดยรวมคะแนนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ ในระดับสูง ร้อยละ 72.7 (mean7.93 ±SD4.05) และโดยรวมคะแนนความพึงพอใจต่อการบริการดูแลสุขภาพช่องปาก อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.0 (mean11.71±SD1.98) กลุ่มเครือข่ายพบว่าคะแนนการมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากนักเรียนอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 48.5 (mean 7.49±SD 1.91) และโดยรวมเครือข่ายมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ สูง ร้อยละ 69.7 (mean19.03±SD3.16) ปัจจัยทำนายที่มีผลต่อการเกิดสภาวะโรคฟันผุของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับความรู้ (adj.OR 0.57, 95%CI: 0.34-0.98), ระดับทัศนคติ (adj.OR 1.04, 95% CI: 0.37-0.87) ระดับพฤติกรรม (adj.OR 1.16, 95%CI: 0.50-0.77) และระดับความพึงพอใจ (adj.OR 1.51, 95% CI: 0.55-0.89) ค่าเฉลี่ยโรคฟันผุ DMF ของนักเรียนในปี 2560 พบโรคฟันผุในนักเรียนร้อยละ 27.2 ค่าเฉลี่ยโรคฟันผุ DMF เท่ากับ 1.1 ซี่ต่อคน ซึ่งต่ำกว่านักเรียนปี 2558 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลงานการดูแลสุขภาพ ช่องปากในนักเรียนประถมศึกษาของโรงพยาบาลเซกา ผ่านเกณฑ์ จำนวน 9 ใน 10 ตัวชี้วัด ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ โรงเรียน ประถมศึกษาไม่จำหน่ายน้ำอัดลมร้อยละ 77.8 (เกณฑ์ร้อยละ 85) ข้อสรุป : ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมและเครือข่ายการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพช่องปากมีผลต่อดัชนีค่าเฉลี่ยโรค ฟันผุ DMF ของนักเรียนประถมศึกษาปี่ที่ 6 นี้มีความเหมาะสมในการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพช่องปาก

References

Yaseen SM, Meer Z, Dheer AM, Togo RA, Al-Jalal AA, Al-Qahtani NS. Dental erosion among 12-15-year-old school boys in southern Saudi Arabia. Arch Orofac Sci 2013; 8(1): 1-6.

สำนักทันตสาธารณสุข. การประเมินผลผลิตภาพและประสิทธิภาพการจัดบริการสุขภาพช่องปากของโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคสังกัดกระทรวงสาธารณสุขปี 2556. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2558: 11-15.

เพ็ญแช ลาภยิ่ง. ระบบบริการสุขภาพช่องปากในกระแสการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย; 2554: 11-25.

โรงพยาบาลเซกา. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ, 2558.

Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. (6th Eds.). Singapore: John Wiley & Sons; 1995: 180.

WHO. Oral Health Survey Basic Method Manual, design, practice and management. Geneva: World Health Organization; 1986: 15 - 7.

กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

ณัฐกฤตา ผลอ้อ. การพัฒนาการส่งเสริมทันตสุขภาพในลักษณะเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ตำบลทรายมูล-หนองกุง โดยชุมชนมีส่วนร่วม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2560; 28: 114-31.

ชิงชัย บัวทอง, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, อัจริยา วัชราวิวัฒน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฝันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 3(2) : 294-306.

อาซีย๊ะ แวหะยี, อัมพาพรรณ ผลพานิชย์, อัญชลีพงศ์เกษตร, กมลวรรณ วณิชชานนท์ และ ทวี ดำมินทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 2: 200-13.

Charkazi A, Ozouni-Davaji RB, Bagheri D, Mansourian M, Qorbani M, Safari O, et al. Predicting Oral Health Behavior using the Health Promotion Model among School Students: a Cross-sectional Survey. Int J Pediatr 2016; 4: 2069-77.

ณัฐวุธ แก้วสุทธา. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากและสภาวะอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2558: 182-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28