ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าร่วมการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ด้วยการส่องกล้อง ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองตามโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้เบื้องต้น ด้วย APCS Score ในประชากรอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • เจษฎา เวชวิทยานุกูล โรงพยาบาลศรีสงคราม

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่, การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่, APCS score, การเข้าร่วมการคัดกรอง, ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าร่วมการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ด้วย การส่องกล้องของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองตามโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้เบื้องต้นด้วย APCS Score โรง พยาบาลศรีสงคราม และเพื่อพัฒนาแนวทางการเตรียมผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองมะเร็งลำไส้เบื้องต้นด้วย APCS Score ให้ตัดสินใจเข้ารับการตรวจยืนยันโรคมะเร็งลำไส้ วัสดุและวิธีการศึกษา : ประชากรในช่วงอายุ 50-74 ปี ในเขตอำเภอศรีสงคราม ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง ลำไส้ ระหว่างเดือน ตั้งแต่เดือน มีนาคม พ.ศ. 2561 – พฤษภาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 14,840 คน ได้รับการสุ่ม อย่างเป็นระบบจำนวน 409 ราย ได้รับการคัดกรองเบื้องต้น โดยใช้ APCS score พร้อมทำการวิเคราะห์เพื่อจัด กลุ่มเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ออกเป็น 3 กลุ่ม ในกลุ่มที่เสี่ยงสูงจะได้พบแพทย์และพยาบาลเพื่อให้ข้อมูลความรู้ในโรคมะเร็ง ลำไส้และวิธีการดูแลตนเอง สัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม พร้อมกันนี้จะแนะนำให้เข้ารับการตรวจด้วยการส่องกล้อง ลำไส้ใหญ่ที่โรงพยาบาลศรีสงครามภายในเวลา 1 เดือน การเก็บข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์ ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ข้อมูล ทั่วไป ปัจจัยด้านความรู้ การรับรู้ และปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้โปรแกรม SPSS เพื่อคำนวณค่า Adjusted R square และ Linear regression ผลการศึกษา : ประชากรในอำเภอศรีสงครามในช่วงอายุ 50-74 ปี ทั้งหมด 14,840 คน ได้รับการสุ่มอย่างเป็น ระบบได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อสำรวจทั้งหมด 409 ราย ได้รับการคัดกรองด้วย APCS score ทั้งหมด 304 ราย (74.33%) พบว่ามีประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง 99 ราย (32.57%) ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงจากการประเมินด้วย APCS score ได้รับการ แนะนำให้รับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และยินยอมเข้ารับการตรวจ 15 ราย ประชากรในกลุ่มเสี่ยงสูงแต่ไม่ยินยอม เข้ารับการตรวจส่องกล้องได้รับการสัมภาษณ์ 13 ราย อัตราการเข้าร่วมการคัดกรองด้วยการส่องกล้องในกลุ่มเสี่ยงสูง 15.15% จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าปัจจัยที่กำหนดสามารถครอบคลุมปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามได้ 82.6% (Adjusted R square เท่ากับ 0.826) หลังจากการคำนวณหา Linear regression พบว่า ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการ ตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p value 0.02 (p < 0.05) เมื่อวิเคราะห์ในแต่ละปัจจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผล ในเชิงลบ ต่อการตัดสินใจ ได้แก่ ระยะทาง กับประวัติญาติในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ข้อสรุป : ปัจจัยที่มีผลในเชิงลบ ต่อการตัดสินใจ ได้แก่ ระยะทาง กับประวัติญาติในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง การจัดบริการที่เพิ่มโอกาสเข้าถึงการคัดกรองสำหรับประชากรที่มีข้อจำกัดเรื่องการเดินทางน่าจะช่วยให้เพิ่มอัตรา การเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น

References

Ferlay J, Soerjomataram I, Dikshit R, Eser S, Mathers C, Rebelo M, et al. Cancer incidence and mortality worldwide: sources, methods and major patterns in GLOBOCAN 2012. Int J Cancer. 2015 Mar 1;136(5):E359-86.

Quintero D, Martin AE, Gregg RD. Unifying the Gait Cycle in the Control of a Powered Prosthetic Leg. IEEE Int Conf Rehabil Robot. 2015 Aug;2015:289-94.

Zappa M, Castiglione G, Grazzini G, Falini P, Giorgi D, Paci E, et al. Effect of faecal occult blood testing on colorectal mortality: Results of a population-based case-control study in the district of Florence, Italy. Int J Cancer. 1997;73(2):208-10.

Bhat SK, East JE. Colorectal cancer: prevention and early diagnosis. Medicine (Baltimore). 2015;43(6):295-8.

Binefa G, Rodriguez-Moranta F, Teule A, Medina-Hayas M. Colorectal cancer: from prevention to personalized medicine. World J Gastroenterol. [Research Support, Non-U.S. Gov’t Review]. 2014 Jun 14;20(22):6786-808.

Zavoral M, Suchanek S, Zavada F, Dusek L, Muzik J, Seifert B, et al. Colorectal cancer screening in Europe. World J Gastroenterol. 2009;15(47):5907.

Rex DK, Boland CR, Dominitz JA, Giardiello FM, Johnson DA, Kaltenbach T, et al. Colorectal Cancer Screening: Recommendations for Physicians and Patients from the U.S. Multi-Society Task Force on Colorectal Cancer. Am J Gastroenterol. [Practice Guideline Review]. 2017 Jul;112(7):1016-30.

Navarro M, Nicolas A, Ferrandez A, Lanas A. Colorectal cancer population screening programs worldwide in 2016: An update. World J Gastroenterol. [Review]. 2017 May 28;23(20):3632-42.

Quintero E, Hassan C, Senore C, Saito Y. Progress and challenges in colorectal cancer screening. Gastroenterol Res Pract. 2012;2012:846985.

Sung JJY, Lau JYW, Young GP, Sano Y, Chiu HM, Byeon JS, et al. Asia Pacific consensus recommendations for colorectal cancer screening. Gut. 2008;57(8):1166-76.

Yeoh KG, Ho KY, Chiu HM, Zhu F, Ching JY, Wu DC, et al. The Asia-Pacific Colorectal Screening score: a validated tool that stratifies risk for colorectal advanced neoplasia in asymptomatic Asian subjects. Gut. [Multicenter

Study Research Support, Non-U.S. Gov’t Validation Studies]. 2011 Sep;60(9):1236-41.

Chiu HM, Ching JY, Wu KC, Rerknimitr R, Li J, Wu DC, et al. A Risk-Scoring System Combined With a Fecal Immunochemical Test Is Effective in Screening High-Risk Subjects for Early Colonoscopy to Detect Advanced Colorectal Neoplasms. Gastroenterology. [Multicenter Study]. 2016 Mar;150(3):617-25 e3.

Koo JH, Arasaratnam MM, Liu K, Redmond DM, Connor SJ, Sung JJ, et al. Knowledge, perception and practices of colorectal cancer screening in an ethnically diverse population. Cancer Epidemiol. 2010 Oct;34(5):604-10.

Sung JJ, Choi SY, Chan FK, Ching JY, Lau JT, Griffiths S. Obstacles to colorectal cancer screening in Chinese: a study based on the health belief model. Am J Gastroenterol. [Research Support, Non-U.S. Gov’t]. 2008 Apr;103(4):974-81.

Ely JW, Levy BT, Daly J, Xu Y. Patient Beliefs About Colon Cancer Screening. J Cancer Educ.[Randomized Controlled Trial Research Support, Non-U.S. Gov’t]. 2016 Mar;31(1):39-46.

Jones RM, Devers KJ, Kuzel AJ, Woolf SH. Patient-reported barriers to colorectal cancer screening: a mixed-methods analysis. Am J Prev Med. [Research Support, N.I.H., Extramural]. 2010 May;38(5):508-16.

Koo JH, You MY, Liu K, Athureliya MD, Tang CW, Redmond DM, et al. Colorectal cancer screening practise is influenced by ethnicity of medical practitioner and patient. J Gastroenterol Hepatol. 2012 Feb;27(2):390-6.

Yong SK, Ong WS, Koh GC-H, Yeo RMC, Ha TC. Colorectal cancer screening: Barriers to the faecal occult blood test (FOBT) and colonos copy in Singapore. Proceedings of Singapore Healthcare. 2016;25(4):207-14.

Martini A, Javanparast S, Ward PR, Baratiny G, Gill T, Cole S, et al. Colorectal cancer screening in rural and remote areas: analysis of the National Bowel Cancer Screening Program data for South Australia. Rural Remote

Health. 2011;11(2):1648.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28