ลักษณะอาการและการเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบ ST-Segment Elevation โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม : กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย
คำสำคัญ:
NSTEMI, STEMI, Mortality, Sign, Symptom, Myocardial Infarctionบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอาการ อาการแสดง กระบวนการรักษา การเปลี่ยนแปลงทางคลินิกของผู้ป่วยที่มีภาวะ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด Non ST-Segment Elevated myocardial infarction (NSTEMI) ที่เสียชีวิตที่โรง พยาบาลโพนสวรรค์ วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยกรณีศึกษา(case study research) โดยทำการรวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยที่มีภาวะ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบ ST segment elevation ที่เสียชีวิตและนำมาวิเคราะห์โดยอายุรแพทย์โรคหัวใจ และหลอดเลือดจากโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร ผลการศึกษา : ในช่วงเวลาที่ศึกษา 1 มกราคม 2558- 31 ธันวาคม 2560 มีผู้ป่วย NSTEMI ที่เสียชีวิต 2 ราย ทั้งสองราย มีอาการ อาการแสดงไม่เป็นปกติ ทำให้การตรวจวินิจฉัยและการรักษาทำได้ยากลำบาก ดังนั้นการดูแลโดย โรงพยาบาลชุมชน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชั้นทุติยภูมิ อาจไม่มีศักยภาพที่เพียงพอ จนอาจเกิดความล่าช้าในการดูแล การตรวจวินิจฉัยและนำไปสู่การเสียชีวิต ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ : การดูแลผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็น NSTEMI ที่มีอาการไม่ตรงไปตรงมาหรือมีภาวะแทรกซ้อน อื่นร่วมด้วย ควรได้รับการดูแลและตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด เช่น ค่า Troponin-T ขึ้นมากกว่า 30%, on going chest pain, vital sign unstable, need ventilator support, infarction related, arrhythmia (VT: ventricular tachycardia, VF: Ventricular Fibrillation) ควรได้รับการปรึกษากับอายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอด เลือดของโรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อวางแผนการดูแลหรือพิจารณานำส่งไปอยู่ในความดูแลของอายุรแพทย์โรคหัวใจและ หลอดเลือดโดยตรง และผู้ป่วย NSTEMI ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลและส่ง CAG ทุกรายตามความเร่งด่วน
References
ศกลวรรณ แก้วกลิ่นและนิตยา พันธุเวทย์. สถานการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือด (เอกสารอัดสำเนา) สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค,2554.
อภิชาต สุคนธสรรพ์. coronary atery disease: The new frontiers. เชียงใหม่:ทริค ธิงค์, 2553.
world Health Organization. Global atlas on cardiovascular disease prevention and control. Geneva, 2011.
เกรียงไกร เฮงมีรัศมี. สถานการณ์ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือตายชนิดที่มี Elevation ในประเทศไทย. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันสถาบันทรวงอก, 2555. สืบค้นจาก
http://www.cdi.thaigov.net/cdi/folder_a/folder_f/1aa.pddf
อเนก กนกศิลป์. สรุปผลการบริหารจัดการข้อมูล Thai ACS Registry ปี 2560.สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพฯ, 2560.
Holmes, D,R., Kip, K.E., Kelsey, S.F., Detre, K.M. and Rosen, A.D.. Cause of death analysis in the NHLBI PTCA Registry: results and considerations for evaluating long-term survival after coronary interventions. Journal of the
American College of Cardiology. 1997. 30(4); 881- 887.
Serruys PW,Morice M, Kappetein PA, et al. Percutaneous coronary intervention versus coronary-artery bypass grafting for severe coronary artery disease. N Engl J Med. 2009; 360(10): 961-72.
Mixon, A. T., & Dehmer, J. G. Pateint Care before and after percutaneous coronary artery interventions. The American Journal of medicine. 2003; 115, 642-651.
จิราภรณ์ นาสูงชน. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน และขดลวดโครงตาข่าย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.
งานสารสนเทศ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม, 26 มกราคม 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ