แนวทางการจัดการเงินบำรุงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ คำภูเงิน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาหว้า

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการ, เงินบำรุง, รพ.สต., คปสอ.

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านการเงิน การคลัง และ เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการด้านการเงิน การ คลังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research: AR) ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย คณะกรรมการ บริหารการเงินการคลัง (CFO) CUP นาหว้า จำนวน 5 คน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 9 คน และ คณะกรรมการ คปสอ. จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แบบสำรวจการจัดการด้านการเงิน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 2. แนวคำถามในการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกกับแหล่งข้อมูล 3. แบบสังเกตกระบวนการประชุม คณะกรรมการ CFO และ คปสอ. มีขั้นตอนในการวิจัย ดังนี้ ขั้นเตรียมการวิจัย (Planning) การวางแผน ขั้นตอนเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ (Action) ขั้นตอนการสังเกตและประเมินผล การดำเนินงาน ขั้นตอนการคืนข้อมูล และพัฒนาแนวทาง(reflection) กระบวนการและผลของการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น และปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน (re - planning) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย : พบว่าสถานการณ์การเงินบำรุงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 9 แห่ง ในปีงบประมาณ 2558 และ 2559 มีเงินบำรุงคงเหลือรวมลดลง คือ 3,304,864.65 และ 2,775,055.12 บาท หรือเฉลี่ยต่อ รพ.สต.เท่ากับ 367,207.18 และ 308,339.46 บาท ตามลำดับ ด้านรายรับ (ไม่รวมเงิน อสม. เงินกองทุนตำบล) เป็นเงิน Fixcost ร้อยละ 50.47 เงินคุณภาพผลงานบริการปฐมภูมิ QOF ร้อยละ 23.95 ด้านรายจ่าย เป็นค่าจ้างลูกจ้าง ร้อยละ 56.09 ค่าตอบแทน ร้อยละ 33.57 ค่าวัสดุ ร้อยละ 5.88 สัดส่วนรายจ่ายต่อรายรับเฉลี่ย ร้อยละ 106.96 คือ มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ แนวทางการจัดการเงินบำรุงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในปี 2560 ด้านการจัดทำแผน รายงานและเฝ้าระวัง: วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานทุกเดือน ด้านการลดรายจ่าย: ไม่จ้างบุคลากรเพิ่ม ให้โรงพยาบาลแม่ข่ายจ้างลูกจ้างสายวิชาชีพให้ รพ.สต. และลดระยะเวลาการอยู่เวรรักษาพยาบาลในวันราชการจาก 4 ชั่วโมง เหลือ 2 ชั่วโมง ด้านการเพิ่มรายได้:ให้โรงพยาบาลแม่ข่ายเพิ่มเงิน Fixcost ให้รพ.สต.เร่งรัดผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด QOF และงานบริการแพทย์แผนไทย สมัครเข้าร่วมระบบจ่ายตรง อปท. และการเบิกจ่ายประกันสังคม ข้อสรุป : เงินบำรุง มีแนวโน้มลดลง รายจ่ายมากว่ารายรับ จึง เสนอให้โรงพยาบาลแม่ข่ายเพิ่มเงิน Fixcost และ จ้างลูกจ้างสายวิชาชีพให้ รพ.สต. มีการติดตามรายงานและเฝ้าระวังสถานการณ์ทุกเดือน ให้รพ.สต.เร่งรัดผลการดำเนิน งานตามตัวชี้วัด QOF และงานบริการแพทย์แผนไทย สมัครเข้าร่วมระบบจ่ายตรง อปท. และการเบิกจ่ายประกันสังคม

References

ชูชัย ศุภวงศ์และคณะ. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ที คิว พี จำกัด; 2552.

ไพจิตร์ วะราชิต. คู่มือบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.นนทบุรี:สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สำนักงานปลัดกระทรวง. กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

ไกรวุฒิ แก้วชาลุน. วิเคราะห์สถานการณ์เงินบำรุงรพ.สต. จังหวัดนครพนม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม; 2559.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. วิเคราะห์สถานการณ์เงินบำรุง รพ.สต.อำเภอนาหว้า; 2559.

ดนุวศิน เจริญ. Action Research สำหรับการวิจัยการเปลี่ยนแปลงองค์กร : คำตอบสำหรับความแตกต่างระหว่างภาควิชาการกับภาคปฏิบัติ. บริหารธุรกิจนิด้า เล่ม 3 [อินเตอร์เนต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2562 ]43-52. เข้าถึงได้จาก:http://mba.

nida.ac.th/en/books/read/f0eaf130-ffc3-11e6-a70f-a3ce38350f7b.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. ศึกษาผลการศึกษาการประเมินการบริหารจัดการการคลังเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP) และการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการการคลังสถานพยาบาลปฐมภูมิ [อินเตอร์เนต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 10มกราคม 2562 ]43-52. เข้าถึง

ได้จากhttp://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3341?locale-attribute=th.

ดำรงค์ สีระสูงเนิน และ ประเสริฐ เก็มประโคน. การศึกษาต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ปี 2555. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24: 296-303

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30